Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9842
Title: | การรับรู้และการออกเสียงหนักเบาในคำภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยรังสิต |
Other Titles: | Perception and production of English word stress of first year students at Rangsit University |
Authors: | ปรัศนียา จารุสันต์ |
Advisors: | สุดาพร ลักษณียนาวิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ภาษาอังกฤษ -- การออกเสียง ภาษาศาสตร์ การรับรู้ ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้และการเปล่งเสียงหนักเบา ในคำภาษาอังกฤษสามพยางค์ของนักศึกษาไทย โดยคัดเลือกคำภาษาอังกฤษที่มีโครงสร้างพยางค์แบบภาษาไทย จำนวน 30 โครงสร้างๆ ละ 2 คำ รวม 60 คำ นำไปทดสอบกับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยรังสิต รวม 80 คน ที่ผ่านการคัดเลือกด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์ภาษาอังกฤษ และการทดสอบความสามารถในการฟัง โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้คือ 1. กลุ่มที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษมาก 20 คน 2. กลุ่มที่มีประสบการณ์ ภาษาอังกฤษน้อย 20 คน 3. กลุ่มที่มีความสามารถในการฟังดี 20 คน และ 4. กลุ่มที่มีความสามารถในการฟังไม่ดี 20 คน กลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่มนี้ ได้ทดสอบการรับรู้และการเปล่งเสียงหนักเบารวม 4 ขั้นตอน ตามลำดับ ดังนี้คือ ก. การเปล่งเสียงหนักเบาครั้งที่ 1 ข. การรับรู้การเปล่งเสียงหนักเบา ที่เปล่งโดยเจ้าของภาษา ค. การรับรู้การเปล่งเสียงหนักเบาของตนเอง ง. การเปล่งเสียงหนักเบาครั้งที่ 2 ผลการทดสอบพบว่า ผลคะแนนของการทดสอบการรับรู้เสียงหนักเบา มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน กับผลคะแนนของการทดสอบการเปล่งเสียงหนักเบาเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น ในกลุ่มที่มีความสามารถในการฟังไม่ดี ซึ่งมีผลคะแนนของการรับรู้ต่ำที่สุด และผลคะแนนการเปล่งเสียงหนักเบาครั้งที่ 2 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนในกลุ่มอื่นๆ พบว่า กลุ่มที่มีผลการทดสอบทั้ง 4 ขั้นตอนสูงสุด คือ กลุ่มที่มีความสามารถในการฟังดี และรองลงมาคือ กลุ่มที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษมาก และกลุ่มที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษน้อย ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า การเปล่งเสียงหนักเบา มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการรับรู้การเปล่งเสียงหนักเบา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.32 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษมาก เป็นกลุ่มที่มีผลของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (rxy) ระหว่างการเปล่งเสียงหนักเบาครั้งที่ 1 กับการเปล่งเสียงหนักเบาครั้งที่ 2 (rxy = 0.70) และการรับรู้การเปล่งเสียงหนักเบาที่เปล่งโดยเจ้าของภาษา กับการรับรู้การเปล่งเสียงหนักเบาของตนเอง (rxy = 0.88) สูงที่สุดมากกว่ากลุ่มอื่นๆ รองลงมา คือ กลุ่มที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษน้อย กลุ่มที่มีความสามารถในการฟังที่ดี และกลุ่มที่มีความสามารถในการฟังไม่ดี ตามลำดับ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการรับรู้และการเปล่งเสียงหนักเบาในภาษา คือ ประสบการณ์ทางภาษาของผู้เรียน ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการสั่งสมเวลาในการใช้ภาษา หรือการสัมผัสกับภาษานั้น ตัวแปรนี้ มีส่วนช่วยทำให้การเรียนรู้ภาษาเป็นไปด้วยดีและมีพัฒนาการอย่างสม่ำเสมอ ส่วนความสามารถในการฟังนั้น เป็นความสามารถเฉพาะตัวที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนมีความสามารถที่จะนำไปสู่การพัฒนาความสามารถทางภาษาของผู้เรียนให้เกิดขึ้นอย่างถาวร |
Other Abstract: | To look at the relationship between the perception and the production of English word stress by native speakers of Thai. The subjects (N = 80) were students at Rangsit University who had been selected by using the questionnaire asking for information about their English experience and using the listening ability test. They were of 4 groups as follows; 1. High English Experience subjects (HEES = 20) 2. Low English Experience Subjects (LEES = 20) 3. Good Listening Ability Subjects (GLAS = 20) 4. Bad Listening Ability Subjects (BLAS = 20) Subjects were given a four part "English word stress test" focusing on (a) Self English Production 1 - SEPd 1 (b) Perception of Native Pronunciation - PcNP (c) Perception of Self Production - PcSP and (d) Self English Production 2 - SEPd 2. The results between the stress production and the stress perception experiments showed that there was a positive relationship between these two experiments in most groups-except the BLAS whose scores in the perception experiments were the lowest. In the production experiments, the BLAS also had no improvement in SEPd 2. The experiments demonstrated that the best group was the GlAS followed by the HEES and the LEES respectively. In term of the correlation between the perception and the production of English word stress using Pearson's Product Moment Coefficient Correlation (rxy), the result showed a medium positive correlation between the stress perception and the stress production (rxy = 0.32) at the significant level of 0.01. There was the highest positive correlation found in the HEES group, i.e., between SEPd 1 and sEPd 2 (rxy = 0.70) and PcNP and PcSP (rxy = 0.88). This research reveals that the learner's English experience played an important role in the perception and the production of English word stress. The language experience which increases with the time the learners are exposed to the language, helps the learners to learn and have a constant of their language ability. However, the listening ability is individualistic. It needs constant practice and continuous exposure to the language which will help the language learners develop their language ability in a long term aspect. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9842 |
ISBN: | 9746391666 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pratsaneeya_Ja_front.pdf | 815.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pratsaneeya_Ja_ch1.pdf | 739.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pratsaneeya_Ja_ch2.pdf | 952.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pratsaneeya_Ja_ch3.pdf | 919.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pratsaneeya_Ja_ch4.pdf | 740.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pratsaneeya_Ja_ch5.pdf | 748.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pratsaneeya_Ja_ch6.pdf | 837.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pratsaneeya_Ja_ch7.pdf | 761.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pratsaneeya_Ja_back.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.