Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9884
Title: | กลยุทธ์การใช้อารมณ์ขันในการโฆษณาทางโทรทัศน์ |
Other Titles: | Strategic use of humors in TV. commercial |
Authors: | พรรณทิพา อุปลวรรณา |
Advisors: | กาญจนา แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | อารมณ์ขัน โฆษณาทางโทรทัศน์ |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประมวลภาพรวมของการใช้กลยุทธ์การสื่อสารด้วยอารมณ์ขันในภาพยนตร์โฆษณาโทรทัศน์ ประเมินประสิทธิผลของการสื่อสารที่ใช้กลยุทธ์อารมณ์ขัน ในงานโฆษณาทางโทรทัศน์จากทัศนะของผู้รับสาร และ วิเคราะห์ว่าการนำอารมณ์ขันมาใช้ในงานโฆษณาโทรทัศน์ ประสบผลสำเร็จในด้านการสื่อสารหรือไม่ วิธีการที่ใช้ในการวิจัยคือการวิเคราะห์เนื้อหา โดยผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การใช้อารมณ์ขันที่ถูกนำมาใช้ในภาพยนตร์โฆษณาโทรทัศน์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดได้แก่ ตลกจากตัวละคร ตลกจากกลไกของโครงเรื่อง และตลกล้อเลียนเสียดสี กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มกลยุทธ์ที่ถูกนำมาใช้ในระดับปานกลาง ได้แก่ ตลกจากภาษา ตลกหักมุม และตลกไหวพริบ ส่วนกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มกลยุทธ์ที่ถูกนำมาใช้น้อยที่สุดได้แก่ ตลกรักกระจุ๋มกระจิ๋ม และตลกโครมคราม ส่วนตลกลามกอนาจารพบว่า ไม่มีการนำมาใช้ในภาพยนตร์โฆษณาของไทยเลย การประเมินประสิทธิผลในเรื่องความเข้าใจของผู้รับสารนั้น ได้วัดในสามมิติคือ 1 ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของภาพยนตร์โฆษณา พบว่าผู้รับสารส่วนใหญ่มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์โฆษณา เพราะองค์ประกอบในเรื่องของเนื้อหาและโครงสร้าง รวมถึงตัวละครที่สามารถสื่อถึงวัตถุประสงค์แก่ผู้รับสารได้โดยตรง และการที่ผู้รับสารมีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์โฆษณาซ้ำหลายครั้ง มิติที่สองคือความสามารถในการจดจำ พบว่าผู้รับสารสามารถที่จะจดจำ ตัวละครในโฆษณาได้มากที่สุด รองลงมาคือ เนื้อหา เค้าโครงเรื่อง ตัวสินค้า ชื่อยี่ห้อสินค้าหรือบริการ และองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สโลแกนหรือคำพูด ตามลำดับ มิติที่สามคือ การประเมินประสิทธิผลในเรื่องความชอบ/ไม่ชอบ พบว่าผู้รับสารส่วนใหญ่มีความชื่นชอบในภาพยนตร์โฆษณาที่ใช้อารมณ์ขัน นอกจากนั้นผลการวิจัยพบว่า การนำเอาอารมณ์ขันมาใช้ในงานโฆษณาโทรทัศน์ มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ข้อดีคือ อารมณ์ขันสามารถสร้างความสนุกสนานบันเทิง ดึงดูดใจผู้ชม สร้างความแปลกใหม่ในการนำเสนอ สามารถทำให้คนดูนำไปพูดต่อ และสามารถเข้าถึงผู้ชมได้ง่ายทุกระดับ ในส่วนของข้อเสียพบว่า อารมณ์ขันจะดึงดูดความสนใจของผู้ชมไปจากสินค้าและวัตถุประสงค์ ทำให้สินค้าขาดความน่าเชื่อถือ ภาพลักษณ์ดูมีระดับที่ต่ำลง และการนำเสนอโฆษณาที่มีอารมณ์ขันบ่อยครั้งเกินไป ทำให้ผู้รับสารไม่รู้สึกตลก นอกจากนี้อารมณ์ขันยังมีข้อจำกัดในเรื่องของวัฒนธรรม กล่าวคือผู้รับสารไม่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นมาก่อน ก็จะไม่เข้าใจถึงมุขตลก กล่าวโดยสรุปการนำเอารูปแบบอารมณ์ขันมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการโฆษณาจึงมีประสิทธิผลเพราะผูรับสารมีความชื่นชอบและเข้าใจได้ แต่ในการนำมาใช้นั้นผู้ส่งสารต้องคำนึงถึงการลดหรือขจัดข้อเสียของกลยุทธ์นี้โดยคำนึงให้เหมาะสมกับลักษณะของตัวสินค้าและผูรับสาร เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพดีที่สุด |
Other Abstract: | There are 3 prospective in researching the strategic use of humor in TV. Commercial. Firstly, to review and summarize all the strategies used. Secondly, to evaluate the effectiveness and the efficiency of those strategies from the audience's perspective, and lastly, to analysize the consequences of success/failure from such commercial. Methodology used in this study is the contents analyses, of which it shows that all strategies used can be classified into 3 groups. 1. Frequently use, such as strategic use of humor from comedians (actor), plot and mock or satire. 2. Moderately use, those are humor by verbal wit, reverse and intellectual comedy. 3. Slightly use, such as strategies from sentimental comedy and slapstick. Regarding to the obscenity comedy, it has never been appeared in the TV commercial samplings. The evaluation from the audience's perception shows that most of them can easily capture and visualize the objective of such TV commercial. Those clue to the audience's conception through the contents story structure and together with the actor itself. Furthermore, the audience can repetitively watch this TV commercial. Referring to the evaluation from the audience's visual memory, they can recognize the actor most and follow by contents, story structure, product/services and slogan or some wordings respectively. Consequently, most of the audience enjoy humor in TV Commercial, the research shows that there are more pros than cons in the strategic use of humors in TV commercial. Those pros are humor can generate the pleasure, amusement and attraction to the audience. Hence, it will be easily understood. Also, audience will be the one who will create chained-conversation. On the other hand, humor might draw all the attention from product itself. Thus, will reduce audience's belief and impression in quality of product/services. Repetitively on air will be reduce audience's attention too. Nevertheless, there's limitation in using humor due to audience's cultural background. To conclude, humor can be brought into use in TV. commercial. However, to achieve the most efficient use of this strategies the producers should be aware of the audience's perception and product/services itself. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9884 |
ISBN: | 9746383671 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phunthlpha_Up_front.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phunthlpha_Up_ch1.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phunthlpha_Up_ch2.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phunthlpha_Up_ch3.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phunthlpha_Up_ch4.pdf | 3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phunthlpha_Up_ch5.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phunthlpha_Up_ch6.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phunthlpha_Up_back.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.