Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10159
Title: แบบแผนการผลิตงานหัตถกรรมทอผ้าพื้นเมือง : กรณีศึกษาหมู่บ้านไทลื้อในจังหวัดน่าน
Other Titles: Local textile weaving and effects on village employment and income : a case study of Tailue villages in Nan Province
Authors: ธวัชชัย วงศ์ธนาสุนทร
Advisors: ผาสุก พงษ์ไพจิตร
วรวิทย์ เจริญเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: เศรษฐกิจนอกระบบ
การทอผ้า -- แง่เศรษฐกิจ
วัฒนธรรมชุมชน
ลื้อ
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแบบแผนการผลิตและความสัมพันธ์ ในการผลิตงานหัตถกรรมทอผ้าพื้นเมือง วิเคราะห์ผลกระทบของงานทอผ้าพื้นเมืองต่อรายได้ และการจ้างงานในหมู่บ้านที่ศึกษา และนำเสนอการจ้างงานที่อาศัยการส่งเสริมระบบการผลิต และเทคนิคพื้นบ้านซึ่งดำรงอยู่ภายในชุมชน และสามารถขยายตัวได้เมื่อมีแรงกระตุ้นจากอุปสงค์ภายนอก โดยมีแนวคิดว่าการผลิตที่มีพื้นฐานของทักษะฝีมือ และความชำนาญดั้งเดิมภายในท้องถิ่น สามารถเป็นทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาชนบทสำหรับหมู่บ้านที่มีศักยภาพได้ ในการศึกษาเฉพาะกรณี ได้เลือกหมู่บ้านตีนตกและหมู่บ้านหัวน้ำ ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นการเลือกพื้นที่แบบเจาะจง เนื่องจากเป็นหมู่บ้านชาวไทลื้อที่มีความชำนาญ ด้านการทอผ้าฝ้ายที่งดงาม เพื่อประโยชน์ใช้สอยในชุมชนเป็นเวลามาช้านาน ลวดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์และรู้จักกันดีคือ "ลายน้ำไหล" และ "ลายไทลื้อ" ในปัจจุบันสตรีแม่บ้านได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มทอผ้าของหมู่บ้าน โดยใช้หลักการสหกรณ์ เพื่อผลิตผ้าทอพื้นเมืองตามความต้องการของตลาดภายนอก การศึกษาครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูล โดยใช้การสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก และการสังเกตการณ์ภาคสนาม ผู้ศึกษาได้สัมภาษณ์สตรีทอผ้า 2 หมู่บ้านจำนวน 44 รายจากสมาชิกลุ่มทั้งสิ้น 56 ราย แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ คือ กรอบแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนผสมผสานกับทฤษฎีสาขาเศรษฐกิจนอกระบบ กรอบแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนมองว่า การทอผ้าพื้นเมืองเป็นส่วนหนึ่งของทักษะความชำนาญดั้งเดิม และระบบการผลิตซึ่งดำรงอยู่ก่อนที่แบบแผนการผลิตของหมู่บ้าน จะถูกเปลี่ยนแปลงโดยกระแสทุนนิยมจากภายนอก ในขณะที่ทฤษฎีสาขาเศรษฐกิจนอกระบบมองว่า การผลิตของหมู่บ้านเป็นส่วนหนึ่งของสาขาเศรษฐกิจนอกระบบ ที่สามารถยกระดับให้เป็นแนวทางการพัฒนาชนบทได้ โดยการเชื่อมโยงการผลิตของหมู่บ้าน กับแรงกระตุ้นจากอุปสงค์ภายนอก ยุทธศาสตร์ของแนวคิดนี้มีแนวโน้มว่าจะเน้นงานรับเหมา ช่วงการผลิตจากระบบโรงงานสมัยใหม่ให้กับชาวบ้าน อาทิ การเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป หรือการประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องอาศัยทักษะฝีมือและการฝึกอบรมมากนัก อาจกล่าวได้ว่า งานรับเหมาช่วงการผลิตสามารถสร้างการจ้างงานและรายได้ แต่ไม่ได้เพิ่มพูนทักษะฝีมือหรือความชำนาญใหม่ให้กับชาวบ้าน ในขณะที่แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนเสนอว่า ควรพัฒนาทักษะฝีมือและเทคนิคที่มีอยู่ในหมู่บ้านให้เป็นหนึ่งของการสร้างงานในชนบท โดยเน้น ไปที่ความชำนาญดั้งเดิมของท้องถิ่น เพื่อเป็นการรักษาและพัฒนาทักษะฝีมือและศักยภาพของเศรษฐกิจหมู่บ้านต่อไป ผลการศึกษาที่สำคัญ พบว่า การรวมกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองในลักษณะสหกรณ์ เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชาวบ้านและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ต้องการส่งเสริมความชำนาญพื้นบ้าน การส่งเสริมการผ้าพื้นเมืองซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวบ้านทำมานานเป็นสิ่งที่นสอดคล้องกับวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น ความสัมพันธ์แบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความชำนาญภายในชุมชน ส่งผลให้ผู้ผลิตเกิดอำนาจการต่อรอง ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เพิ่มการจ้างงานและรายได้ ลดการว่างงานและลดการอพยพแรงงานออกจากหมู่บ้านได้ระดับหนึ่ง สมาชิกกลุ่มทอผ้ามีรายได้จากการทอผ้าเฉลี่ย 10,211 บาทต่อปี คิดเป็นประมาณร้อยละ 27 ของรายได้ทั้งหมดของครัวเรือน ปัญหาที่กลุ่มทอผ้าประสบอยู่ คือ วัตถุดิบฝ้ายมีราคาสูงขึ้น ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ และตลาดที่มีการแข่งขันกันสูง ข้อสรุปสำคัญของการศึกษาครั้งนี้ คือ งานรับมาทำที่บ้านซึ่งมีพื้นฐานของวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นมีฐานะที่เหนือกว่าการรับเหมาช่วงการผลิตจากโรงงาน กล่าวคือ งานประเภทแรกส่งเสริมทักษะฝีมือดั้งเดิมของชุมชนให้เข้มแข็งกว่า ทำให้ชาวบ้านมีอำนาจการต่อรองมากกว่า และมีศักยภาพสูงกว่า สามารถเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่มั่นคงในอนาคตได้
Other Abstract: Firstly, to study the production pattern and production relations of local textile weaving. Secondly to analyse the effects of the local weaving industry on income and employment in the studied villages. Thirdly, to examine whether employment can be generated based on the promotion of a local production system and techniques which already exist within the village community, and can be expanded on the impetus of demand from outside. The study also examined whether local production based on indigenous skills and expertise can be an alternative rural development strategy for some potential villages. Two villages, namely, Ban Tintok and Ban Huanam located at Tambon Silalaeng in Amphur Poa, Nan Province were purposively chosen for case studies. The local inhabitants are Tai Lue who have had the expertise of weaving cotton yarn into beautiful textiles mainly for local use for a long time. The distinctive weaving pattern is known as 'lai nam lai' and 'lai tai lue'. In recent years female weavers have formed together into weaving groups along the line of co-operatives in order to produce textiles to satisfy the demand from outside. The methods for collecting information were: interviews using structured questionnaires; in-depth interview of key informants; and field observations. Out of a total of 56 female weavers in the two villages, 44 were interviewed. The theoretical underpinning of the study combines aspects of the community culture approach to development, with elements from informal sector theory. The community culture approach sees local textile weaving as being part of the indigenous skills and production system which exist before the village's production pattern was penetrated by the forces of capitalism from outside. On the other hand, the informal sector approach sees village production as a part of informal sector work which can be promoted for rural development by linking it to the impetus of demand from outside. The strategy of informal sector promotion has tended to focus on subcontracting work from modern factories to village workers-for instance, sewing of cut garments, or assembling of parts for electronic products. These kinds of work do not require much skill and training. They provide employment and income, but do not enhance skills or meaningful new expertise to villagers. Whereas the community culture approach suggests that skills and techniques which already exist in the village should also be developed as part of employment promotion. By focussing on local expertise, the skills and potential of the village economy can be presserved and developed further. The major findings of the study are as follows. The co-operative groupings among the weavers resulted from the process of learning-by-doing between villagers and some NGOs which wanted to promote local expertise of these villages. The promotion of local weaving as a means of furthering the livelihood of villagers is in harmony with the local community culture. The co-operative relations and the local expertise enhance the bargaining power of the producers. The most important economic effects have been an increase in employment and income, and a reduction in unemployment and emigration to work elsewhere. Members of the weaving group earned on average 10,211 bath per year, which accounted for about 27% of their household income. The problems they faced were the high prices of cotton input, lack of current capital and fierce competition in the market. The major conclusion of the study is that home-based work draws on the heritage of the local community culture is superior to factory subcontracting in several ways. It strengthens the existing skill base of the community, provides the villagers with more bargaining power, and has greater potential for delivering a stable source of income into the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10159
ISBN: 9746390813
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thawatchai_Wo_front.pdf787.6 kBAdobe PDFView/Open
Thawatchai_Wo_ch1.pdf923.7 kBAdobe PDFView/Open
Thawatchai_Wo_ch2.pdf959.42 kBAdobe PDFView/Open
Thawatchai_Wo_ch3.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Thawatchai_Wo_ch4.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Thawatchai_Wo_ch5.pdf767.5 kBAdobe PDFView/Open
Thawatchai_Wo_back.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.