Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10187
Title: แพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณป่าชายเลนอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยเน้นกุ้งและปูวัยอ่อน
Other Titles: Zooplankton in mangrove forest at Sikao District, Trang Province with emphasis on shrimp and crab larvae
Authors: ศิริลักษณ์ ช่วยพนัง
Advisors: อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์
สุรพล สุดารา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
[email protected], [email protected]
Subjects: ป่าชายเลน
แพลงค์ตอนสัตว์
สิเกา (ตรัง)
ปู
กุ้ง
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษากลุ่มประชากรแพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณป่าชายเลนอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยเน้นศึกษากลุ่มกุ้งและปูวัยอ่อนละเอียดลงไปกว่าแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มอื่น โดยเก็บตัวอย่างทุกๆ 2 เดือน เป็นเวลา 1 ปี ในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2539 ถึง เดือนพฤษภาคม 2540 ใช้ถุงลากแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดตา 103 ไมครอน ลากตามแนวระดับในขณะน้ำกำลังขึ้นและขณะน้ำขึ้นสูงสุด พบแพลงก์ตอนสัตว์ทั้งหมด 42 กลุ่ม จาก 15 ไฟลัม มีความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ในช่วง (1.02x(10x10x10x10x10x10))-(3.95x(10x10x10x10x10x10)) ตัวต่อน้ำ 100 ลบ.ม. โดยมี copepod เป็นแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเด่น มีความหนาแน่นคิดเป็นร้อยละ 55.87-87.55 ของปริมาณแพลงก์ตอนสัตว์ทั้งหมดที่พบในแต่ละเดือน แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเด่นที่พบรองลงมาและมีความสำคัญในระบบนิเวศป่าชายเลน เช่น ตัวอ่อนระยะ nauplius ของ crustacean, ตัวอ่อนหอยฝาเดียว, ตัวอ่อนหอยสองฝา, larvacea และ sergestidae ซึ่งมีปริมาณในแต่ละกลุ่มน้อยกว่าร้อยละ 20 ของปริมาณแพลงก์ตอนสัตว์ทั้งหมดที่พบในแต่ละเดือน แพลงก์ตอนสัตว์ที่พบในบริเวณนี้มีบทบาทที่หลากหลาย พบทั้งที่เป็นพวกกินพืช เช่น copepod และ Lucifer, พวกกินสัตว์ เช่น chaetognath และพวกที่กินทั้งพืชและสัตว์ เช่น larvacea ทำให้มีรูปแบบของการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในห่วงโซ่อาหารหลายแบบ แต่แพลงก์ตอนสัตว์ส่วนใหญ่มีบทบาทหลัก คือ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับสัตว์น้ำชนิดอื่น และมีบทบาทในการ recruitment ของสัตว์ผิวน้ำและสัตว์ทะเลหน้าดิน กุ้งวัยอ่อนที่พบจากการศึกษาในครั้งนี้มีทั้งหมด 16 ชนิด จาก 5 ครอบครัว มีความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 42-2,401 ตัวต่อน้ำ 100 ลบ.ม. โดยมีครอบครัวเด่น คือ ครอบครัว Alpheidae (กุ้งดีดขัน) รองลงมาได้แก่ ครอบครัว Hippolytidae และครอบครัว Palaemonidae มีความหนาแน่นในแต่ละครอบครัวอยู่ในช่วงร้อยละ 29-37 ของปริมาณกุ้งวัยอ่อนทั้งหมด ส่วนครอบครัว Penaeidae ซึ่งเป็นครอบครัวของกุ้งทะเล และครอบครัว Processidae พบในปริมาณน้อยมาก สำหรับปูวัยอ่อนพบทั้งสิ้น 41 ชนิด จาก 12 ครอบครัว มีความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 543-27,906 ตัวต่อน้ำ 100 ลบ.ม. โดยมีครอบครัวเด่น ได้แก่ ครอบครัว Grapsidae (ปูแสม) รองลงไป คือ ครอบครัว Ocypodidae (ปูก้ามดาบ) และครอบครัว Xanthidae (ปูใบ้) มีความหนาแน่นในแต่ละครอบครัวอยู่ในช่วงร้อยละ 25-35 ของปริมาณปูวัยอ่อนทั้งหมด การพบกุ้งและปูวัยอ่อนเหล่านี้โดยเฉพาะครอบครัวกุ้งดีดขัน ปูแสม และปูก้ามดาบ นอกจากจะเป็นอาหารที่สำคัญของปลาและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ แล้วยังแสดงให้เห็นถึง recruitment ของกลุ่มสัตว์ทะเลหน้าดินในบริเวณนี้ด้วย การกระจายของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่ม copepod มีแนวโน้มหนาแน่นในบริเวณป่าชายเลนตอนในมากกว่าในบริเวณป่าชายเลนตอนนอก ในขณะที่การกระจายของแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มรองลงมากลุ่มอื่นๆ เช่น ตัวอ่อนหอย, larvacea, foraminifera, ตัวอ่อนเพรียง และ aergestidae พบว่ามีแนวโน้มในทางตรงกันข้าม โดยความเค็มของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวจำกัดความหนาแน่นและการกระจายของแพลงก์ตอนสัตว์ในป่าชายเลนบริเวณนี้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลรองลงมา ได้แก่ ปริมาณแพลงก์ตอนพืช ผลจากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าป่าชายเลนอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติสูงบริเวณหนึ่ง
Other Abstract: Study on zooplankton community in managrove forest at Sikao District, Trang Province with emphasis on shrimp and crab larvae, was carried out bimonthly from May 1996 to May 1997. Zooplankton samples were taken from 6 stations along the canal by horizontal net towing (103 mu) during the in-coming high tide and highest stagnant period. The zooplankton found in this mangrove consisted of 42 groups from 15 phyla. Average density of zooplankton found was (1.02x(10x10x10x10x10x10))-(3.95x(10x10x10x10x10x10)) ind.100 m-3. Copepod was the dominant group with the relative abundance of 57.87-87.55% of total zooplankton density in each sampling period. Nauplius larvae, pelecypod larvae, gastropod larvae, larvacea and sergestidae were important group collected frequently in the mangrove but the relative abundance of each group was usually less than 20% of total density. The result also showed the diverse trophic groups of zooplankton i.e. the herbivorous copepod and Lucifer, the carnivorous chaegtonath and the mucous net feeding larvacea. This indicates the diversity of food chain and enegy cycling in this ecosystem. Besides, the diversity and abundance of planktonic larvae also suggests the ecological important role of zooplankton in recruitment of aquatic animals. Shrimp and crab larvae were the minor zooplankton group in Sikao mangrove forest. Shrimp larvae were composed of 16 species from 5 families. Average density of shrimp larvae was 42-2,401 ind.100 m-3. The most abundant shrimp larvae was in family Alpheidae followed by family Hippolytidae and family Palaemonidae, respectively. Other shrimp larvae found were in family Penaeidae and family Processidae. On the other hand, 41 species from 12 families of crab larvae were recorded from this area. The range of average density found was 543-27,906 ind.100 m-3. The first three families found in abundance were Grapsidae, Ocypodidae and Xanthidae. Besides the role as important food sources for fish and other aquatic organisms, shrimp and crab larvae found especially alpheid shrimp, grapsid and fiddle crab also supported the recruitment of benthic animals in the mangrove. The distribution pattern of zooplankton particularly, the copepod showed the tendency of high density in the inner part of the mangrove forest, while the reverse trend was noticed from the other zooplankton groups, such as pelecypod larvae, gastropod larvae, foraminifera, cerripedia larvae and sergestidae. There was a significant relationship between the density of zooplankton and the salinity of seawater, beside zooplankton density also exhibited a positive relationship with the abundance of phytoplankton in this area. The results from this study indicates that the Sikao mangrove forest is one of the pristine and productive nature mangrove in Thai water.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10187
ISBN: 9743323538
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirilak_Ch_front.pdf800.7 kBAdobe PDFView/Open
Sirilak_Ch_ch1.pdf893.53 kBAdobe PDFView/Open
Sirilak_Ch_ch2.pdf841.77 kBAdobe PDFView/Open
Sirilak_Ch_ch3.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open
Sirilak_Ch_ch4.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Sirilak_Ch_ch5.pdf836.69 kBAdobe PDFView/Open
Sirilak_Ch_back.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.