Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10256
Title: ปริมาณสังกะสีและทองแดงในอาหารสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.
Other Titles: Zinc and copper level in patients' diet in Bhumibol Adulyadej Hospital
Authors: สุภาวดี หุ่นสวัสดิ์
Advisors: อรอนงค์ กังสดาลอำไพ
ธิติรัตน์ ปานม่วง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: อาหารสำหรับผู้ป่วย
สังกะสี
ทองแดง
โรงพยาบาล -- การบริการอาหาร
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สังกะสีและทองแดงเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย ร่างกายจะได้รับแร่ธาตุนี้จากอาหารที่รับประทาน การวิจัยนี้วิเคราะห์หาปริมาณสังกะสีและทองแดงในวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการปรุงอาหาร อาหารปรุงสำเร็จ และอาหารที่ให้ทางสายให้อาหารที่บริการให้แก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. โดยทำการเก็บตัวอย่างติดต่อกันทุกวันในระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน 2538 ถึงวันที่ 4 กรกฎาคม 2538 แล้วนำมาวิเคราะห์หาปริมาณสังกะสีและทองแดงด้วยเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์วัดการดูดกลืนแสงโดยอะตอม พบว่าวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการปรุงอาหารที่ได้จากสัตว์ มีปริมาณสังกะสีและทองแดงสูงกว่าวัตถุดิบทีได้จากพืช ปริมาณสังกะสีและทองแดงในวัตถุดิบที่ได้จากส่วนเมล็ดสูงกว่าส่วนที่อื่นของพืช อาหารคาวปรุงสำเร็จสำหรับบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาล จำนวน 63 รายการ มีปริมาณสังกะสีเท่ากับ 1.92 +_ 1.27 มิลลิกรัมต่อจาน ทองแดง 0.26 +_ 0.14 มิลลิกรัมต่อจาน และอาหารหวานปรุงสำเร็จสำหรับบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาล จำนวน 20 รายการ มีปริมาณสังกะสีเท่ากับ 0.30 +_ 0.26 มิลลิกรัมต่อจาน ทองแดง 0.10 +_ 0.06 มิลลิกรัมต่อจาน ปริมาณเฉลี่ยของสังกะสีและทองแดงที่ผู้ป่วยได้รับจากอาหารต่อวันเป็น 18.17 และ 2.39 มิลลิกรัม ตามลำดับ ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ปริมาณสังกะสีและทองแดงในอาหารปรุงสำเร็จที่ได้จากการวิเคราะห์กับปริมาณสังกะสีและทองแดงที่ได้จากการคำนวณจากปริมาณสังกะสีและทองแดงในวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการปรุงอาหารพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และอาหารที่ให้ทางสายให้อาหารส่วนใหญ่มีปริมาณสังกะสีทองแดงต่ำกว่าความต้องการของร่างกาย
Other Abstract: Zinc and copper are essential trace elements. This study determined Zinc and copper contents in some foodstuffs, general diet and enteral formulae served in Bhumibol Adulyadej Hospital. The samples were collected for 14 consecutive days (between June, 21 to July, 4 1995) and were analysed by Atomic Absorption Spectrophotometry. It was found that zinc and copper contents of animals origin (except pork liver) were higher than zinc and copper contents of plants origin and those derived from seeds contained zinc and copper contents higher than other part of the plants. Analysed zinc and copper contents of 63 main dishes were 1.92 +_ 1.27 mg/dish and 0.26 _+ 0.14 mg/dish and of desserts were 0.30 +_ 0.26 mg/dish and 0.10 +_ 0.06 mg/dish, respectively. The average daily intake of zinc and copper from general diet served in Bhumibol Adulyadej Hospital were 18.17 and 2.39 mg, respectively, which were adequate for the patient's requirement. There were no statistically different between analysed and calculated zinc and copper contents of general diet. Zinc and copper contents of some enteral formulae were lower than the requirement of patient.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาหารเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10256
ISBN: 9746337777
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supavadee_Hu_front.pdf803.07 kBAdobe PDFView/Open
Supavadee_Hu_ch1.pdf718.02 kBAdobe PDFView/Open
Supavadee_Hu_ch2.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Supavadee_Hu_ch3.pdf848.52 kBAdobe PDFView/Open
Supavadee_Hu_ch4.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Supavadee_Hu_ch5.pdf789.85 kBAdobe PDFView/Open
Supavadee_Hu_ch6.pdf716.54 kBAdobe PDFView/Open
Supavadee_Hu_back.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.