Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10313
Title: การบำบัดน้ำชะมูลฝอยด้วยระบบเอสบีอาร์ ที่มีการเติมถ่านกัมมันต์ชนิดผง
Other Titles: Landfill leachate treatment by BPAC-SBR system
Authors: จตุพร วงษ์จาด
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ขยะ
การกำจัดขยะ
น้ำชะขยะ -- การบำบัด
น้ำเสีย -- การบำบัด
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการลดซีโอดีและสีในน้ำชะมูลฝอย ด้วยระบบเอสบีอาร์ที่มีการเติมผงถ่านกัมมันต์ (BPAC-SBR) โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี และสี เมื่อมีการแปรค่าความเข้มข้นผงถ่านกัมมันต์ ค่าอายุสลัดจ์ ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ และการประยุกต์หลักโคเมตาโบลิซึม มาใช้ร่วมกับระบบ BPAC-SBR น้ำเสียที่นำมาใช้ดำเนินงานวิจัยนี้ เป็นน้ำเสียจากกองฝังกลบมูลฝอยที่นำมาเจือจาง ให้มีความเข้มข้นซีโอดีเข้าระบบเท่ากับ 1,000 มก./ล. คิดเป็นภาระบรรทุกซีโอดี 0.571 กก./ลบ.ม.-วัน และความเข้มสีเท่ากับ 170.7 Su. พบว่าระบบที่มีความเข้มข้นผงถ่านกัมมันต์ชนิด PL-75 เท่ากับ 20,000 มก./ล. อายุสลัดจ์ 20 วัน สามารถกำจัดซีโอดี และสีได้ 75.6 และ 75.4% ตามลำดับ โดยมีความเข้มข้นซีโอดี และความเข้มสีในน้ำออกเท่ากับ 246 มก./ล. และ 42.1 Su. เมื่อแปรค่าอายุสลัดจ์เป็น 30 วัน ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี และสีลดลงเหลือ 67.9 และ 59.1% ตามลำดับ เนื่องจากค่าอายุสลัดจ์ที่สูงกว่า จะมีการเติมผงถ่านกัมมันต์กลับเข้าสู่ระบบที่ต่ำกว่า ที่ความเข้มข้นผงถ่านในระบบเท่ากัน สำหรับกลไกการทำงานของระบบส่วนใหญ่เกิดจาก การดูดติดผิวร่วมกับปฏิกิริยาชีวเคมี การเพิ่มขึ้นของช่วงเวลาแอนแอโรบิก และลดระยะเวลาในช่วงแอโรบิกของระบบ BPAC-SBR ไม่ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี และสีเปลี่ยนแปลงไป ในการเพิ่มภาระบรรทุกซีโอดีเป็น 1.143 และ 2.286 กก./ลบ.ม-วัน ระบบมีประสิทธิภาพกำจัดซีโอดีเท่ากับ 62.6 และ 49.0% และมีประสิทธิภาพการกำจัดสีเท่ากับ 51.2 แบะ 34.9% ตามลำดับ การลดลงของประสิทธิภาพนี้ สาเหตุหนึ่งเป็นผลมาจาก ปริมาณสารอินทรย์และสารอนินทรย์ที่อาจเป็นพิษเข้าสู่ระบบสูงขึ้น ทำให้มีผลในการยังยั้งกลไกการทำงานของแบคทีเรียในระบบ รวมทั้งไปลดประสิทธิภาพในการดูดติดสารอินทรย์ของผงถ่าน ที่เป็นกลไกหลักของระบบอีกด้วย ผลของประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีและสี เพ่ิมสูงขึ้นเมื่อประยุกต์หลักการโคเมตาโบลิซึมมาใช้ร่วมกับระบบ BPAC-SBR โดยการเติมน้ำตาลทรายลงในน้ำชะมูลฝอย มีความเข้มข้นซีโอดีรวม 2,000 มก./ล. ที่อัตราส่วนซีโอดีจากน้ำตาลทรายต่อน้ำชะมูลฝอยเท่ากับ 1:1 และมีความเข้มสี 188.3 Su. ระบบสามารถกำจัดซีโอดีและสีได้เท่ากับ 89.1 และ 86.3% ตามลำดับ ซึ่งซีโอดีและสีในน้ำออกมีค่าต่ำกว่าระบบ BPAC-SBR ปกติ
Other Abstract: To investigate COD and color removal from landfill leachate by using BPAC-SBR system. The comparison of efficiencies in COD and color removal was done with varying powder activated carbon (PAC) concentration, sludge retention time (SRT), organic loading and application of co-metabolism to BPAC-SBR. In the experiment with a diluted landfill leachate, having COD 1,000 mg./l. (COD loading 0.571 kg/m3-d) and color 170.7 Su., the system with PAC (PL-75) concentration 20,000 mg/l, SRT 20 days had efficiencies in COD and color removal 75.6 and 75.4 %, respectively. Effluent COD and color were 246 mg/l and 42.1 Su.. Varying SRT to 30 days, efficiencies of COD and color removal decreased to 67.9 and 59.1%m repectively. The reason might be due to the longer SRT, the less amount of PAC addition to system. The main treatment mechanism was mainly due to the combination of adsorption by PAC and biochemical reaction. The variation of anaerobic-aerobic duration did not significant affect the COD and color reduction efficiencies. Increasing COD to 1.143 and 2.286 kg/m3-d, efficiencies of COD removal were 62.6 and 49.0% and efficiencies of color removal were 51.2 and 34.9%, respectively. The decreases in efficiencies may be caused by more amount of toxic organic and inorganic matters in the influent. This could be obstacle of bacteria mechanism and organic adsorption capacity by PAC. COD and color removal efficiencies were higher when co-metabolism concept was applies to BPAC-SBR by adding sugar to the landfill leachate. This influent had total COD of 2,000 mg/l, at the COD from sucrose : landfill leachate COD ratio of 1:1, and 188.3 Su. of color. This BPAC-SBR system could remove COD and color at 89.1 and 86.3%, respectively, the effluent concentrations in terms of COD and color were lower than those obtained in the case of normal BPAC-SBR.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10313
ISBN: 9743346767
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jatuporn_Wo_front.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Jatuporn_Wo_ch1.pdf786.77 kBAdobe PDFView/Open
Jatuporn_Wo_ch2.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Jatuporn_Wo_ch3.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Jatuporn_Wo_ch4.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open
Jatuporn_Wo_ch5.pdf741.21 kBAdobe PDFView/Open
Jatuporn_Wo_back.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.