Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1045
Title: กระบวนการสังคมกรณ์ของผู้บริโภคและพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเด็กในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Consumer socialization and purchasing behavior of children in Bangkok
Authors: ทรรศยา เทียมเมธ, 2520-
Advisors: รัตยา โตควณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: พฤติกรรมผู้บริโภค
จิตวิทยาเด็ก
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง 1) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็ก 2) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็ก 3) รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อนกับเด็กกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็ก 4) การเปิดรับโฆษณาทางโทรทัศน์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็ก โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอายุ 9-12 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 แบบ ได้แก่ ความสัมพันธ์แบบเสมอภาค ความสัมพันธ์แบบเปิดโอกาส ความสัมพันธ์แบบปกป้องคุ้มครอง ความสัมพันธ์แบบละเลย ความสัมพันธ์แบบเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์แบบเผด็จการ ความสัมพันธ์แบบห่วงใย และความสัมพันธ์แบบทอดทิ้ง รูปแบบความสัมพันธ์ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รูปแบบความสัมพันธ์แบบเสมอภาค และ รูปแบบความสัมพันธ์แบบปกป้องคุ้มครอง 2. รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบ ได้แก่ รูปแบบความสัมพันธ์แบบสนิทสนม รูปแบบความสัมพันธ์แบบร่วมมือซึ่งกันและกัน รูปแบบความสัมพันธ์แบบเชื่อฟัง รูปแบบความสัมพันธ์แบบไม่กล้า และรูปแบบความสัมพันธ์แบบอคติ รูปแบบความสัมพันธ์ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รูปแบบความสัมพันธ์แบบสนิทสนมและรูปแบบความสัมพันธ์แบบร่วมมือซึ่งกันและกัน 3. รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อนกับเด็ก สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ ได้แก่ กลุ่มเด็กเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กลุ่มเด็กเห็นอกเห็นใจผู้อื่น กลุ่มเด็กสันโดษ และกลุ่มเด็กขาดความมั่นใจ โดยกลุ่มเด็กเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ กลุ่มเด็กเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. การเปิดรับโฆษณาทางโทรทัศน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The objectives of this research were to study the relationships of : (1) Parent-child relationships and children purchasing behavior, (2) Teacher-student relationships and children's purchasing behavior (3) Friendships and children's purchasing behavior, and (4) TV commercial exposure and children purchasing behavior. Questionnaires were used to collect data from 400 students aged 9-12 years old in Bangkok. The results were as follows: 1) Parent-child relationships were divided into 8 groups: Fair, Democratic, Over-protect, Neglecting, Comparison, Authoritarian, Take care and Uninvolved. Fair and Democratic groups had positive relation with children's purchasing behavior at a significant level. 2) Teacher-student relationships were divided into 5 groups: Intimate, Helpful, Obedient, Reluctant and Bias. Intimate and Helpful groups had positive relation with children's purchasing behavior at a significant level. 3) Friendships were divided into 4 groups. Generous, Sympathy, Isolate and No-confident. Generousand Sympathy groups had positive relation with children's purchasing behavior at a significant level. 4) Finally, there was positive relation between TV commercial exposure and children's purchasing behavior at a significant level.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1045
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.14
ISBN: 9741734603
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.14
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tassaya.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.