Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10480
Title: ชนิดและความชุกชุมของซีสต์ของไดโนแฟลกเจลเลตในผิวตะกอนดินบริเวณอ่างศิลา ศรีราชาและแหลมฉบัง
Other Titles: Species and abundance of dinoflagellate cysts in the surface sediment of Ang Sila, Si Racha, and Laem Chabang areas
Authors: ดุสิต ศรีวิไล
Advisors: ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ไดโนแฟลกเจลเลต
ตะกอน (ธรณีวิทยา)
ศรีราชา (ชลบุรี)
แหลมฉบัง (ชลบุรี)
อ่างศิลา (ชลบุรี)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาชนิดและความชุกชุมของไดโนแฟลกเจลเลตบริเวณอ่างศิลา ศรีราชาและ แหลมฉบัง โดยเก็บตัวอย่างผิวตะกอนดิน จำนวน 14 สถานี ทำการเก็บ 2 ครั้ง โดยเรือ จุฬาวิจัย ระหว่างวันที่ 3 ถึง 5 เดือนกุมภาพันธ์ 2545 เพื่อศึกษาความชุกชุมซีสต์ในฤดูแล้ง และ วันที่ 7 ถึง 9 กันยายน 2545 เพื่อศึกษาความชุกชุมซีสต์ในฤดูฝน ผลการตรวจวิเคราะห์พบซีสต์ทั้งสิ้น 30 ชนิด โดยสามารถจำแนกชนิดได้ 28 ชนิดในกลุ่ม Gymnodiniales, Gonyaulacales, Peridiniales และไม่สามารถจำแนกชนิดได้ 2 ชนิด ซีสต์ชนิดเด่นที่พบได้แก่ Pheopolykrikos hartmannii และ Pyrophacus steinii ชนิดของซีสต์ของไดโนแฟลกเจลเลตที่พบบ่อยในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ Pheopolykrikos hartmannii, Gonyaulax spinifera ( Spiniferites mirabilis ), Lingulodinium polyedrum, Pyrophacus steinii, Protoperidinium pentagonum และ P. leonis โดยจัดทำรูปและคำบรรยายลักษณะต่างๆ ของซีสต์ของไดโนแฟลกเจลเลตที่พบพร้อมทั้งจัดทำเป็นกุญแจสำหรับการจำแนกชนิดซีสต์ที่พบในบริเวณนี้ ซีสต์ของไดโนแฟลกเจลเลตมีการกระจายกว้างพบได้เกือบทุกสถานี โดยมีความชุกชุมแตกต่างกันไปตามฤดูกาลและสถานีศึกษา ซีสต์ของไดโนแฟลกเจลเลตที่พบในฤดูแล้งมีความชุกชุมมากกว่าฤดูฝนทั้งในแง่ชนิดและจำนวนซีสต์ บริเวณที่พบความชุกชุมซีสต์ของไดโนแฟลกเจลเลตสูงทั้งสองฤดูกาลได้แก่ สถานีที่มีระดับความลึกมากกว่า 10 เมตรในบริเวณ อ่างศิลาและบางพระ ในขณะที่บริเวณที่พบการสะสมของซีสต์ของไดโนแฟลกเจลเลตต่ำทั้งสองฤดูกาลได้แก่ สถานีส่วนใหญ่ในบริเวณแหลมฉบัง
Other Abstract: Study on species and abundance of dinoflagellate cysts in the surface sediment has been conducted by Chulavijai research vessel at 14 stations around Ang Sila, Si Racha, and Laem Chabang areas. Two cruises were operated for this study. The first cruise was conducted during the period of February 3-5, 2002 that represented the dry season samples. The second cruises was conducted during the period of September 7-9, 2002 that represented the rainy season samples. Thirty types of cysts were found of which 28 cysts belonged to order Gonyaulacales, Gymnodiniales and Peridiniales and two unknown cyst types. The dominant species were cysts of Pheopolykrikos hartmannii and Pyrophacus steinii and the most common species were Pheopolykrikos hartmannii, Gonyaulax spinifera (Spiniferites mirabilis), Lingulodinium polyedrum, Pyrophacus steinii, Protoperidinium pentagonum, and P. leonis. The illustration, description and the key for cyst identification in this area have also been prepared. Dinoflagellate cysts were widely found in almost stations of the study area. Total numbers of dinoflagellate cysts in dry season was higher than rainy season. The abundance of dinoflagellate cysts in both two seasons was high at the stations with deeper than 10 meter around Ang Sila and Bang Pra Areas and low abundance at the station near Laem Chabang areas.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10480
ISBN: 9741729561
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dusit.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.