Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1053
Title: | บทบาทในกระบวนการประชาสังคมของสื่อหนังสือพิมพ์ ตามทัศนะของกลุ่มพัฒนาเอกชน |
Other Titles: | Assessment on newspapers' civic role by non-governmental groups |
Authors: | ภัทราพร จงแจ่ม, 2520- |
Advisors: | พีระ จิรโสภณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Subjects: | ประชาสังคม หนังสือพิมพ์ การสื่อสาร องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาถึงทัศนะของกลุ่มพัฒนาเอกชนต่างๆ ที่มีต่อการแสดงบทบาทในกระบวนการประชาสังคมของสื่อหนังสือพิมพ์ ต่อรูปแบบของการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมของสื่อหนังสือพิมพ์ และต่อการนิยามความเป็นข่าว โดยแบ่งวิธีการศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ (1) การสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของกลุ่มพัฒนาเอกชน จำนวน 115 คน และ (2) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำกลุ่มพัฒนาเอกชน จำนวน 4 คน ผลการวิจัยจากการสำรวจและสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างพบว่า 1.หนังสือพิมพ์ยังแสดงบทบาทในกระบวนการประชาสังคมได้ไม่มากเท่าที่ควร โดยการแสดงบทบาทส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางไปจนถึงระดับน้อย 2. รูปแบบของการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับสื่อหนังสือพิมพ์ ที่คาดว่าน่าจะมีความเป็นไปได้มากที่สุดคือ รูปแบบในการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โดยการสัมภาษณ์ในฐานะแหล่งข่าว หรือให้ประชาชนได้เขียนจดหมายเข้ามาแสดงความคิดเห็น 3.สิ่งที่ควรเป็นข่าวตามทัศนะของกลุ่มพัฒนาเอกชนคือ ประเด็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชน และเรื่องราวที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนการนิยามเกี่ยวกับข่าว กลุ่มพัฒนาเอกชนมีทัศนะว่าข่าวคือ สิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนอ่าน ไม่ว่ากลุ่มใหญ่หรือกลุ่มน้อย และข่าวคือ กระจกสะท้อนสังคม ไม่ใช่ชี้นำสังคม จากผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างที่สังกัดกลุ่มพัฒนาเอกชนต่างประเภทกันมีความคิดเห็นต่อบทบาท ในกระบวนการประชาสังคมของสื่อหนังสือพิมพ์แตกต่างกันเป็นส่วนใหญ่ โดยกลุ่มองค์กรประชาชนมีทัศนะไปในเชิงบวกมากกว่ากลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน 2. จากประเด็นเหตุการณ์และปัญหาต่างๆ ในสังคม ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ที่นำมาให้พิจารณา จำนวน 15 ประเด็น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นข่าวหรือไม่เป็นข่าวในประเด็นเหล่านี้ สอดคล้องกับสิ่งที่นักวิชาชีพสื่อปฏิบัติจริงๆ ในการเลือกข่าวนำเสนอ จำนวน 4 ประเด็น และไม่สอดคล้องกัน 11 ประเด็น ซึ่งแสดงว่าความเห็นหรือการนิยามความเป็นข่าวไม่สอดคล้องกัน โดยกลุ่มพัฒนาเอกชนมักเห็นว่า เรื่องเกี่ยวกับผู้ด้อยโอกาสและสาระประโยชน์ น่าเป็นข่าวมากกว่าเรื่องดึงดูดความสนใจทางอารมณ์ |
Other Abstract: | To study non-governmental groups' attitudes towards newspapers' civic roles and ways of providing opportunities for public participation, and also their definitions of news. The methodology used in this research includes 1) the opinion survey of 115 of non-governmental groups' permanent employees and active participants, and 2) the in-depth interview of 4 non-governmental groups' leaders. The findings from survey and interview study reveal that 1. Newspapers do not play sufficient civic roles, data illustrate only moderate to low level. 2. The most possible way to provide opportunities for the public participation is to allow the public to voice their opinions by interviewing them as a news source or publishing their opinion letters. 3. The non-governmental groups think that what deserves to be the news is an issue or a problem affecting the public, or a matter being useful to them. For the news definition, the non-governmental groups define news as information that is useful to audience regardless of audience group's size. They also view news as a mirror reflecting a society, not guiding it. Hypothesis testing. 1. Different sample groups under different types of non-governmental groups show various opinions for most of newspapers' civic roles. That is, the sample groups under people organizations show more positive attitudes than those under non-governmental organizations. 2. From among 15 social events and problems being studied, in which some have been presented as newspapers' news and some have not, the sample groups' opinions about whether these issues should be reported as news or not are consistent with what journalists actually do only for 4 issues and inconsistent for another 11 issues. This indicates that there is little agreement between the sample groups and journalists about their definitions of news. Non-governmental groups tend to think that issues concerning the underprivileged or being useful to the public deserve to be the news more than those attracting human interests. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1053 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.964 |
ISBN: | 9741753187 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.964 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pattaraporn.pdf | 929.85 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.