Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10571
Title: | การทดลองใช้จุลินทรีย์สำเร็จรูปในเชิงพาณิชย์เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิด |
Other Titles: | Experimental use of commercial microbial products for controlling water qualities in the black tiger shrimp closed system ponds |
Authors: | ธนิกา จินตนะพันธ์ |
Advisors: | เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected], [email protected] [email protected], [email protected] |
Subjects: | จุลินทรีย์ กุ้งกุลาดำ -- การเลี้ยง คุณภาพน้ำ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ได้ทำการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์สำเร็จรูปในเชิงพาณิชย์ชนิดหนึ่งควบคุมคุณภาพน้ำ ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระยะโพสลาวี 20 (PL20) ในบ่อดินขนาด 1 ไร่ (1 ไร่ เท่ากับ 1,600 ตารางเมตร) 4 บ่อ โดยปล่อยกุ้งอัตราความหนาแน่น 50,000 ตัวต่อไร่ เติมจุลินทรีย์สำเร็จรูปในน้ำเลี้ยงกุ้งกุลาดำทุกสัปดาห์ใน 2 บ่อแรก เปรียบเทียบกับบ่อควบคุมที่ไม่ใส่จุลินทรีย์ 2 บ่อ ตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ อัตราการเติบโต ขนาดกุ้งที่จับได้ ปริมาณผลผลิตรวม อัตราการรอด ปริมาณตะกอนพื้นบ่อ และผลกำไรจากการเลี้ยงเป็นระยะเวลา 120 วัน พบว่า คุณภาพน้ำโดยรวมอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ปริมาณแอมโมเนียทั้งหมด และไนไตรท์ตลอดการทดลองไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) ส่วนปริมาณ ไนเตรท และฟอสเฟต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยในบ่อทดลองมีปริมาณมากกว่าบ่อควบคุมส่วนปริมาณออกซิเจนละลาย พีเอช และความเค็ม ตลอดการทดลองไม่แตกต่างกัน (p>0.05) บ่อที่เติมจุลินทรีย์มีประมาณตะกอนพื้นบ่อน้อยกว่าบ่อควบคุม ในส่วนของอัตราการเติบโต พบว่ามีอัตราการเติบโตไม่แตกต่างกัน แต่บ่อเติมจุลินทรีย์ มีอัตรารอด ปริมาณผลผลิตรวม และมีขนาดกุ้งที่ตลาดต้องการมากกว่าจึงทำให้มีผลกำไรจากการจำหน่ายกุ้งมากกว่า |
Other Abstract: | A study was conducted to compare the efficacy of different microbial products in controlling the water quality in shrimp culture ponds. Four 1-rai grow-out ponds were stocked with 50,000 twenty days postlarvae. Closed circulating system was designed for this experiment. Commercial mixture bacteria was added to two treatment ponds every week. The other two ponds were used as the control. Water quality and biological parameters were monitored throughout the 120 days grow-out period. These included ammonium-N, nitrite-N, nitrate-N, orthophosphate, sediment accumulation, growth rate, size of shrimp, shrimp production, survival and the profit after harvest. Ammonium-N and nitrite-N of the treatment and control were not significantly different (p>0.05) with in the culture period. Nitrate-N and orthophosphate of the treatment ponds were significantly higher than the control (p<0.05) in the third and the fourth month. Dissolved oxygen, pH and water salinity were not significantly different (p>0.05) between the treatment and control. The sediment accumulation in the treatment ponds were less than in the control. Growth rate of shrimp of the treatment and control were not significantly different (p>0.05), but the treatment group had better marketable size shrimp. Survival and total yield of the treatment group was also higher than the control, leading to the higher profit from the treatment ponds. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10571 |
ISBN: | 9741733658 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanika.pdf | 984.2 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.