Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/105
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมรกต เปี่ยมใจ-
dc.contributor.authorอริยา ทวีรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-05-27T08:35:12Z-
dc.date.available2006-05-27T08:35:12Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741709072-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/105-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติต้านการรั่วซึมระดับไมโครเมตรและนาโนเมตรของเรซินซีเมนต์ 3 ชนิด บริเวณรอยต่อเคลือบฟันกับเนื้อฟัน เคลือบฟัน และเนื้อฟัน ทดสอบโดยใช้ฟันกรามแท้ของมนุษย์ตัดขวางบริเวณส่วนกลาง 1/3 ของตัวฟันเพื่อเตรียมเป็นชิ้นตัวอย่างและชิ้นควบคุมขนาด 2x4x1 ม.ม. กลุ่มละ 48 ชิ้น แต่ละชิ้นประกอบด้วยเคลือบฟันและเนื้อฟันซึ่งห่างจากรอยต่อเคลือบฟันกับเนื้อฟันข้างละ 1 ม.ม. สุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 8 ชิ้น ยึดชิ้นตัวอย่างกับแผ่นเรซินคอมโพสิตด้วยซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีซีเมนต์ (กลุ่มที่ 1 และ 4) พานาเวียเอฟซีเมนต์ (กลุ่มที่ 2 และ 5) และเวลิโอลิงค์ทูซีเมนต์ (กลุ่ม 3 และ 6) แช่ชิ้นตัวอย่างและชิ้นควบคุมทั้งหมดในน้ำกลั่น อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เคลือบผิวด้วยสีทาเล็บยกเว้นด้านหน้า แช่กลุ่ม 1-3 ในสารละลายเบสิกฟุชซินร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ดูและวัดการรั่วซึมระดับไมโครเมตรของชิ้นตัวอย่างภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอและด้วยเครื่องไมโครมิเตอร์ แช่กลุ่ม 4-6 ในสารละลายซิลเวอร์ไนเทรตร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ดูและวัดการรั่วซึมระดับนาโนเมตรภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดสัญญาณอิเล็กตรอนกระเจิงกลับและใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดร่วมกับเครื่องวิเคราะห์ธาตุเพื่อศึกษาการกระจายของธาตุเงิน เตรียมชิ้นควบคุม 3 ชิ้น และชิ้นตัวอย่างกลุ่มละ 7 ชิ้น เพื่อศึกษาลักษณะรอยต่อเคลือบฟันกับเนื้อฟันและชั้นไฮบริดเมื่อยึดด้วยเรซินซีเมนต์แต่ละชนิด ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางและการทดสอบแทมเฮนทีทู ในกลุ่มควบคุมพบว่าเนื้อฟันมีการรั่วซึมของสีย้อมมากกว่ารอยต่อเคลือบฟันกับเนื้อฟันและเคลือบฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ไม่พบการรั่วซึมของสีย้อมบริเวณเคลือบฟัน เนื้อฟันมีการรั่วซึมของสารละลายซิลเวอร์ไนเทรตไม่แตกต่างกับรอยต่อเคลือบฟันกับเนื้อฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในเนื้อฟันและรอยต่อเคลือบฟันกับเนื้อฟันมีการรั่วซึมของสารละลายซิลเวอร์ไนเทรตมากกว่าเคลือบฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบความแตกต่างของการรั่วซึมระดับไมโครเมตรและนาโนเมตรบริเวณรอยต่อระหว่างซีเมนต์กับชั้นฟัน กลุ่มเวลิโอลิงค์ทูซีเมนต์มีการรั่วซึมของสีย้อมและสารละลายซิลเวอร์ไนเตรตบริเวณรอยต่อระหว่างซีเมนต์กับเนื้อฟันและและซีเมนต์กับรอยต่อเคลือบฟันกับเนื้อฟันมากกว่ากลุ่มซุปเปอร์บอนด์ซีแนด์ซีเมนต์และพานาเวียเอฟซีเมนต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มพานาเวียเอฟซีเมนต์มีการรั่วซึมของสารละลายซิลเวอร์ไนเทรตบริเวณรอยต่อระหว่างซีเมนต์กับเนื้อฟัน และซีเมนต์กับรอยต่อเคลือบฟันกับเนื้อฟันมากกว่ากลุ่มซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีซีเมนต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบการรั่วซึมของสีย้อมและสารละลายซิลเวอร์ไนเทรตบริเวณรอยต่อเคลือบฟันกับเรซินซีเมนต์ทั้ง 3 ชนิด หลังจากแช่ในสารละลายกรดไฮโดรคลิกริกและสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์ กลุ่มซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีซีเมนต์มีความหนาของชั้นไฮบริดของเคลือบฟัน เนื้อฟัน และรอยต่อเคลือบฟันกับเนื้อฟันคงที่ กลุ่มพานาเวียเอฟซีเมนต์และเวลิโอลิงค์ทูซีเมนต์มีขนาดชั้นไฮบริดของเนื้อฟันบางลง โครงสร้างและส่วนประกอบของชั้นฟันมีผลต่อการยอมให้สารผ่านตามธรรมชาติ การยึดของเรซินซีเมนต์ทั้ง 3 ชนิดบริเวณเคลือบฟันสามารถต้านทานการรั่วซึมระดับนาโนเมตรตามธรรมชาติได้ การเกิดชั้นไฮบริดที่สมบูรณ์ของซูเปอร์ซีแอนด์บีซีเมนต์โดยการเตรียมผิวฟันแบบแห้งสามารถป้องกันการรั่วซึมระดับนาโนเมตรได้ การยึดของพานาเวียเอฟซีเมนต์กับเนื้อฟันและรอยต่อเคลือบฟันโดยการเตรียมผิวฟันแบบใช้สารปรับสภาพร่วมกับไพเมอร์โดยไม่ต้องล้างออกสามารถต้านทานการรั่วซึมระดับไมโครเมตรแต่ไม่สามารถต้านทานการรั่วซึมระดับนาโนเมตรได้ และการยึดของเวโอลิงค์ทูซีเมนต์โดยการเตรียมผิวฟันแบบขึ้นไม่สามารถต้านทานการรั่วซึมระดับไมโครเมตรได้en
dc.description.abstractalternativeCompares the microleakage and nanoleakage at the interface of dentinoenamel junction (DEJ), enamel and dentin bonded with either Superbond C&B (SB), Panavia F (PN) or Valiolink II (VL) cements. Extracted human permanent molars were cross-sectioned at the middle third of coronal part to prepare 2x4x1 mm specimens with DEJ aligning in the middle, 1 mm of enamel and dentin on each side. Ninety-six specimens were divided into control and sample groups of 48 specimens. Each group was subdivided into 6 groups of 8 specimens. Samples were cemented to composite resin veneers using different resin cements: Groups 1, 4; 2, 5; 3, 6 with SB; PN; VL, respectively. All specimens were stored in distilled water at 37 oC for 24 h. All surfaces of specimens were coated with two layers of nail vanish except a cross-sectional surface for dye penetrating. Groups 1-3 were immersed in 0.5% basic fuchsin dye for 24 h prior to determine and measure the dye penetration using stereoscopy and digital micrometer. Groups 4-6 were immersed in 50% silver nitrate for 24 h and silver penetration was measured by digital micrometer and examined by stereoscopy, backscattered electron image and scanning electron microscopy attached energy dispersive X-ray spectrometer. Three control and seven sample specimens for each group were prepared to investigate DEJ and the quality of hybrid layer respectively using SEM. ANOVA and Tamhane's statistical analyses were performed. For control groups, the distance of dye penetration in dentin was significantly higher than in DEJ and enamel (p<0.01). No dye penetration in enamel was found. The distance of silver penetration in DEJ was not significantly different when compared with that in dentin but significantly higher than in enamel. Significant differences were disclosed among sample groups in microleakage and nanoleakage at the tooth-resin interface. No leakage was found at all enamel-resin interfaces. No leakage at the tooth-cement interface was observed in groups 1SB, 2PN and 4SB. Groups 3VL and 6VL had highest leakage at the resin interfaces of dentin and DEJ. After chemical modification using HCl and NaOCl solution, the thickness of hybrid layer in enamel, dentin and DEJ of SB was consistent whereas hybridized dentin were thinner in PN and VL. The results of this study suggested that the differences in components and structures influence tooth permeability. Hybridized enamel with resin could resist natural nano-permeability. Complete hybridization via dry bonding using SB could prevent leakage at resin interfaces of enamel, DEJ and dentin. Self etching and priming using PN could resist microleakage but not nanoleakage at resin interfaces of dentin and DEJ. The highest leakage indicated that wet bonding using VL could not provide reliable bonding to DEJ and dentin.en
dc.format.extent2003922 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.602-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเรซินทางทันตกรรมen
dc.subjectการยึดติดทางทันตกรรมen
dc.subjectเคลือบฟันen
dc.subjectเนื้อฟันen
dc.titleการรั่วซึมของเรซินซีเมนต์บริเวณรอยต่อเคลือบฟันกับเนื้อฟันen
dc.title.alternativeLeakage of resin cements at dentinoenamel junctionen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineทันตกรรมประดิษฐ์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.602-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ariya.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.