Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1062
Title: | การรวมกลุ่มและการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มผู้เรียน E-learning ในบริบทการสื่อสารแบบเวลาเดียวกันและต่างเวลา |
Other Titles: | Group formation and identity of E-learning in synchronous and asynchronous communication context |
Authors: | กรรณิการ์ วรรณธนปรีดา, 2523- |
Advisors: | กิตติ กันภัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | อินเตอร์เน็ตในการศึกษา กลุ่มสังคม การสื่อสารในกลุ่มขนาดเล็ก |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาลักษณะการรวมกลุ่มและการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มผู้เรียน E-learning ความพึงพอใจของผู้เรียนในบริบทแบบเวลาเดียวกันและต่างเวลา ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคมที่มีต่อผลการเรียนรู้ในระบบ E-learning เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การจัดกลุ่มสนทนา แบบสอบถาม การสังเกตการณ์ภาคสนามและการวิเคราะห์ตัวบท ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะกลุ่มผู้เรียน E-learning มีขนาดกลางประมาณ 60 คน ถึงขนาดใหญ่ กว่า 1000 คน การรวมกลุ่มของผู้เรียน E-learning มี 2 ลักษณะคือ ในโลกเสมือนที่ห้องสนทนาของเว็บไซต์ E-learning และการรวมกลุ่มของผู้เรียน E-learning ในโลกความจริง ซึ่งเกิดจากการจัดรวมกลุ่มโดยหน่วยงานเว็บไซต์ E-learning และการนัดพบปะระหว่างกลุ่มผู้เรียนเอง จะเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์สนิทสนมในระดับหนึ่ง หรือกลุ่มผู้เรียนเป็นบุคคลจากสถาบัน/องค์กรเดียวกัน กลุ่มผู้เรียน E-learning มีการสื่อสารในลักษณะแบบกระจายอำนาจที่เรียกว่าเครือข่ายการสื่อสารแบบทุกช่องทาง ซึ่งสมาชิกทุกคนสามารถติดต่อกันได้โดยตรง ในการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มผู้เรียน E-learning จะสะท้อนผ่านกระดานข่าวและห้องสนทนา อัตลักษณ์ที่ปรากฏในทุกกลุ่มผู้เรียน คือการแสดงตัวตนจริงของกลุ่มผู้เรียน สำหรับความพึงพอใจของกลุ่มผู้เรียน E-learning พบว่า มีความพึงพอใจในการสื่อสารแบบต่างเวลามากกว่าแบบเวลาเดียวกัน และทัศนคติเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลในการเรียนรู้ของผู้เรียน E-learning คือ ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม ได้แก่ อัตลักษณ์ของผู้เรียน ความไว้วางใจ มนุษยสัมพันธ์ การมีอยู่ในสังคม มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในทางบวกของผู้เรียน E-learning ในขณะเดียวกัน ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม ได้แก่ ความไม่ไว้วางใจ มนุษยสัมพันธ์ที่ไม่ดี การไร้ตัวตนในสังคม และอคติของผู้เรียน มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในทางลบของผู้เรียน E-learning |
Other Abstract: | To study the formation and identity of e-learning groups, their gratification in synchronous and asynchronous contexts, and the socio-psychological factors affecting learning in the e-learning system. Research tools include focus group discussions, questionnaires, field observations, and textual analysis. The research has revealed that e-learning groups can be of medium size, with about 60 people in the group up to extra large size, with over 1,000 people in the group. E-learning group formation takes two approaches. One is the group formation in the virtual chat room of the e-learning website. The other is the group formation in the real world, which is arranged either by the e-learning website organization or by the group members themselves. In the latter case, this usually happens when the learners have been interacting for some time and have become quite close or when the learners belong to the same institute or organization. Regarding communication, e-learning group members communicate in a decentralized manner, through the so-called all channel network, where all members can contact each other directly. The identity that appears in each group of e-learner is the expression of one's true self. As for gratification, it is found that the gratification of asynchronous communication is greater than that of synchronous type. Finally, socio-psychological factors that have positive effects on learning in the e-learning system are the learners' identity, trust, their human relations skills and the social presence. On the other hand, the factors that have adverse effects are the learners' lack of trust, their poor human relations skills, the social absence and the learners' bias. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1062 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1313 |
ISBN: | 9741761414 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.1313 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kannikar.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.