Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10696
Title: ผลของการสอนการวาดภาพระบายสีโดยใช้เทคนิคหมวกความคิดหกใบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effects of teaching drawing and painting by using the six thinking hats technique on art education learning achievement of prathom suksa five students
Authors: ปรียาภรณ์ โพธิบัณฑิต
Advisors: อำไพ ตีรณสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ศิลปกรรมของเด็ก
ศิลปะกับเด็ก
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการสอนการวาดภาพระบายสีโดยใช้เทคนิคหมวกความคิดหกใบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในด้านพุทธิพิสัย ทักษะการทำงาน และผลงานการวาดภาพระบายสีของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544 ที่เรียนวิชาศิลปศึกษาจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการสอนการวาดภาพระบายสีโดยใช้เทคนิคหมวกความคิดหกใบ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนในขณะปฏิบัติกิจกรรม 4) แบบประเมินผลงานวาดภาพระบายสีของนักเรียน 5) แบบรายงานตนเอง และ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับ การจัดการเรียนการสอนการวาดภาพระบายสีโดยใช้เทคนิคหมวกความคิดหกใบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และการทดสอบค่าที (t- test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัยสูงขึ้น หลังจากที่เรียนการวาดภาพระบายสีโดยใช้เทคนิคหมวกความคิดหกใบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนทั้งหมดแสดงทักษะการทำงานในแต่ละพฤติกรรม ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 70% 3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลงานการวาดภาพระบายสีของนักเรียนสูงขึ้น หลังจากที่เรียนการวาดภาพระบายสีโดยใช้เทคนิคหมวกความคิดหกใบ นอกจากนี้ จากการประเมินตนเองและการแสดงความคิดเห็นของนักเรียน พบว่าการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคหมวกความคิดหกใบ ส่งเสริมความสามารถในการคิดของนักเรียน ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาชัดเจนและง่ายขึ้น ตลอดจนนักเรียนเห็นประโยชน์ที่ได้จากการเรียน ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน มีความเพลินเพลิดในการเรียน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมีความเชื่อมั่นในตนเอง
Other Abstract: To study the effects of teaching drawing and painting by using the six thinking hats technique on prathom suksa five students art education learning achievement which included three aspects : cognitive, psychomotor skill and drawing and painting productions. The sample group were 40 prathom suksa five students at Khonkaen Elementary Demonstration School Khonkaen University in the second semester of academic year 2001. The research instruments were 1) drawing and painting by using the six thinking hats technique lesson plans, 2) achievement tests, 3) students behavior observation form, 4) drawing and painting production evaluation form, 5) student self report and 6) a set of questionnaires concerning students opinions upon teaching drawing and painting by using the six thinking hats technique. The obtained data were analyzed by using means, standard deviations, percentages, frequencies and t-test. The research results were revealed 1) The cognitive learning achievement of students after learning drawing and painting by using the six thinking hats technique were higher at the .05 level of significance. 2) The psychomotor skill of students met the behavior determined standard at 70%. 3) The means scores of drawing and painting production of students after learning drawing and painting by using the six thinking hats technique were higher. Furthermore, from self report and opinions towards teaching and learning art by using the six thinking hats technique, the results were as follows : the teaching and learning art by using the six thinking hats technique enhanced thinking ability, yielded clarity and ease of content learning. In addition, the students revealed that it was useful and could be applied to everyday life, it made the lessons enjoyable and it helped the students to accept other people's opinions and to gain their self-esteem.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10696
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.614
ISBN: 9741705964
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.614
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preeyaporn.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.