Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10722
Title: | การวิเคราห์ปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ผลิตในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของประเทศไทย |
Other Titles: | Conjectural variations analysis in Thailand's cement industry |
Authors: | กัญญ์ นิจโภค |
Advisors: | พงศา พรชัยวิเศษกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ -- ไทย โครงสร้างตลาด การแข่งขันทางการค้า |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขันโดยรวม วิเคราะห์ลักษณะการกระจุกตัว และวิเคราะห์ปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ผลิต ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของประเทศไทย ในการวิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขันโดยรวม ผู้เขียนได้วิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีตลาดผู้ขายน้อยราย และในการวิเคราะห์ลักษณะการกระจุกตัวได้ใช้ดัชนีวัดการกระจุกตัว การวิเคราะห์ 2 ส่วนนี้วิเคราะห์ในช่วงปี พ.ศ. 2537-2543 ส่วนการวิเคราะห์ปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ผลิตของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ได้วิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติ โดยใช้ข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2541-2543 การวิเคราะห์ปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ผลิตในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์นี้ ได้วิเคราะห์ในรูปปูนเม็ด และได้แบ่งบริษัทปูนซีเมนต์ออกเป็น 2 กลุ่มตามปริมาณการจำหน่ายปูนเม็ดของแต่ละบริษัท ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่และกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก จากนั้นวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลรวมทั้งที่เป็นอนุกรมเวลาและภาคตัดขวาง ผลการศึกษาสรุปได้ว่าอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีโครงสร้างตลาดแบบผู้ขายน้อยราย ทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน แต่ทว่าภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนการกระจุกตัว ของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมนี้มีแนวโน้มที่จะมีการแข่งขันกันมากขึ้น ส่วนการวิเคราะห์ปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ผลิตในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ชี้ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นอุตสาหกรรมที่มีปฏิกิริยาโต้ตอบ ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณการจำหน่ายปูนเม็ดจากบริษัทคู่แข่งขัน ทั้งที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันและคนละกลุ่ม โดยลักษณะของความขึ้นแก่กันมีทั้งแบบที่ไม่มีการโต้ตอบกันอย่างรุนแรง (เมื่อบริษัทขนาดเล็กได้เพิ่มปริมาณการจำหน่ายปูนเม็ด กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่จะยอมให้สัดส่วนปริมาณการจำหน่ายปูนเม็ดของตนลดลง) และแบบที่มีการโต้ตอบกันอย่างรุนแรง (เมื่อบริษัทขนาดใหญ่ได้เพิ่มปริมาณการจำหน่ายปูนเม็ด ทั้งกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่และกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก จะไม่ยอมให้สัดส่วนปริมาณการจำหน่ายปูนเม็ดของตนลดลง) นอกจากนี้ลักษณะของปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ผลิตที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงอำนาจทางการตลาดที่มีสูงมากของผู้ผลิตรายใหญ่ |
Other Abstract: | To determine market structure and competitive nature of cement industry, to measure concentration, and to analyze conjectural variations of cement industry. Author applied theory of oligopoly in order to determine market structure of cement industry, while concentration indices are employed to describe the concentration of market. Both analyses are capitalized on data gathered from the year 1995 through 2000. In addition, an econometric model is formulated to examine conjectural variations. By categorizing cement producers into two groups (size classes) according to their clinker sales volume and using pooled time series and cross-section data over the 1998-2000 period, the model is then estimated. The result from the study indicated that market structure of cement industry is oligopolistic prior to the change of Thailand's exchange rate regime and the structure remained after the regime change. After the incident, cement market's concentration declined significantly. This implied an increasing trend of the competition within industry. Conjectural variations analysis illustrated that reactions in response to the change in clinker sales volume come from both within size class and across size class. Patterns of interdependence were found to have both "lenient" counteraction (when a small firm increases its sales volume, firms within a large group take no action and let their share dropped subsequently) and "strong" counteraction (when a large firm increases its sales volume, the rest of competitors try to protect or even increase their shares). Moreover, conjectural variations also exhibited a very high market power of large producers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10722 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.528 |
ISBN: | 9740311644 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.528 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.