Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11012
Title: | การบริจาคโลหิตและปัจจัยที่ส่งเสริมการบริจาคโลหิต ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2546 |
Other Titles: | Blood donation and supporting factors among secondary school and vocational school students in Bangkok metropolitan area, academic year 2003 |
Authors: | อรอุมา ช่วยเรือง |
Advisors: | องอาจ วิพุธศิริ สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล [email protected], [email protected] |
Subjects: | การบริจาคโลหิต ผู้บริจาค โลหิตวิทยา วัยรุ่น นักเรียน |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาอัตราการบริจาคโลหิตและปัจจัยที่ส่งเสริมการบริจาคโลหิต ในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาครัฐบาล ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2546 รูปแบบการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง ประชากรตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับอาชีวศึกษาจำนวน 1,605 คน จาก 9 โรงเรียน โดยวิธีการสุ่มจากโรงเรียนทั้งหมด 136 โรงเรียน (จำนวน 130,726 คน) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดตอบเอง ซึ่งผ่านการทดสอบแล้ว การรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีผู้ตอบกลับ 1,469 คน จากทั้งหมด 1,605 คน (91.53%) สถิติที่ใช้ Chi square test ผลการศึกษา นักเรียนส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 17 ปี ขึ้นไป 58.9% สัดส่วน ชาย:หญิง เท่ากับ 1.2:1 มีน้ำหนักตัว 45 กก.ขึ้นไป 86.8% ไม่มีโรคประจำตัว 86.7% จากข้อมูลข้างต้นพบว่ามีนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่บริจาคโลหิตได้ 42.6% อัตราการบริจาคโลหิตของนักเรียนโดยรวม 9.2% แต่พบว่าอัตราการบริจาคโลหิตของนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน ที่ปัจจุบันยังเข้าร่วมโครงการฯ เคยเข้าร่วมแต่หยุดและกลุ่มที่ไม่เคย มีอัตราแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน (17.7%, 5.5%, 4.0% ตามลำดับ) เหตุผลในการบริจาคโลหิตครั้งแรกคือเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ (85.2%) แรงผลักดันในการบริจาค 3 อันดับแรก คือเพื่อน ครู และคนในครอบครัว (25.9%, 20.0%, 17.0% ตามลำดับ) เวลาบริจาคจะไปกับเพื่อนถึง 74.8% เหตุผลสำคัญที่ไม่เคยบริจาคโลหิตเพราะ กลัวเข็ม/กลัวเจ็บ 46.2% แต่ในอนาคตนักเรียนกลุ่มนี้ตั้งใจจะบริจาคโลหิต 54.8% นักเรียนราวครึ่งหนึ่งยังมีความรู้เรื่องของโลหิตน้อย ทั้งเรื่องทั่วไป เกณฑ์ผู้บริจาคโลหิต และสถานที่รับบริจาคโลหิต (42.9%, 64.1%, 48.9% ตามลำดับ) นักเรียนในกลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการบริจาคโลหิตในปัจจุบัน มีความรู้สูงกว่ากลุ่มที่เคยแต่หยุดเข้าร่วมและไม่เคยเข้าร่วมโครงการ ในด้านทัศนคติของนักเรียนที่เคย ส่วนใหญ่ให้คะแนนระดับสูงในกิจกรรมส่งเสริมการบริจาคโลหิต 3 อันดับแรก ได้แก่ มีหน่วยรับบริจาคเคลื่อนที่ ครูเป็นแบบอย่างและผู้บริหารสนับสนุนกิจกรรม (73%, 65%, 61.8% ตามลำดับ) จากการศึกษายังพบว่าพฤติกรรมเคยบริจาคโลหิตหรือไม่เคย มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากปัจจัยต่อไปนี้ สังกัดโรงเรียน โรงเรียนเข้าร่วมโครงการฯ ครู เพื่อนสนิท คนในครอบครัวเคยบริจาค ความรู้และการประชาสัมพันธ์ สรุป ปัจจัยที่ส่งเสริมการบริจาคโลหิตที่สำคัญทั้งส่วนบุคคลคือ ครู เพื่อนสนิท คนในครอบครัวเคยบริจาค ความรูและการประชาสัมพันธ์ และการสนับสนุนให้โรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จะพัฒนาให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการบริจาคโลหิต รู้จักเสียสละ กล้าหาญ ดูแลสุขภาพให้เหมาะสมกับการบริจาคโลหิตที่ปลอดภัย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนเองและผู้อื่นซึ่งควรจะมีการส่งเสริมในทุกโรงเรียน |
Other Abstract: | To study the blood donation rate and supporting factors of blood donation among secondary and vocational school students in Bangkok Metropolitan Area in academic year 2003. Research Design: CrossSectional Descriptive Study. Participants: 1,605 students from 9 randomly schools of the secondary and vocational school in Bangkok Metropolitan Area (total 136 schools with 130,726 students). The return rate was 91.53% (1,469 students). Data Collection: The Self-administered survey was conducted during February 2004. Statistical Method: Chi-square test. Result: the majority of student respondents were 17 years and older 58.9%, with male and female ratio 1.2:1, weight 45.0 Kg. up 86.8%, and 86.7% self-reported without any disease. There were 42.6% of students fulfill the national criteria for being blood donors. The result showed overall blood donation rate of the student respondents was 9.2% with specific student donation rates as 17.7%, 5.5%, 4.0% in currently participating schools, ever participated schools, and never participated schools, respectively. The main reason of donating blood was life saving 85.2%. The top-3 influencers for first time donation were close friends, teachers and family members (25.9%, 20.0%, 17.0% respectively), and usually go donating with friends 74.8%. For those non-donor students stated because of fear of needle/pain 46.2%, but 54.8% might donate in the future. Around half of the students were inadequate of general knowledge regarding blood and blood donation, qualifications of blood donor, and place for donation (42.9%, 64.1%, 48.9% respectively). The student donors in currently participating schools had knowledge higher than ever-participated and never participated groups. In terms of attitudes on important of listed blood donation activities in school, top-3 ranking by the donor students were having mobile service, teachers as role model, and the director of school support the program (73.0%, 65.0%, 61.8% respectively). Further analysis in comparison between donor and non-donor students revealed statistically significant differences (p<0.05) with the factors as follows: participation of schools in blood donation program, teachers, friends, family members, blood knowledge, and public relation. Conclusion: The findings of this study regarding influence and reinforcement factors in promoting student blood donation program in schools. Pre-donation education and strategic schools involvement are crucial steps to recruit more regular student blood donors. More blood knowledge, more student donors might gain more leaders and better quality of life of students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11012 |
ISBN: | 9741749724 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.