Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11028
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์-
dc.contributor.advisorอิศรา ศานติศาสน์-
dc.contributor.advisorชื่นชนก โควินท์-
dc.contributor.authorสุริยะ เจียมประชานรากร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2009-09-09T08:57:05Z-
dc.date.available2009-09-09T08:57:05Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741746563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11028-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractวิเคราะห์ความเสมอภาคทางการศึกษา ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-8 (พ.ศ. 2530-2544) วิเคราะห์การกระจายรายได้ของครัวเรือน ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-8 (พ.ศ. 2530-2544) วิเคราะห์ผลของนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา ที่มีต่อการกระจายรายได้ในประเทศไทย ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-8 (พ.ศ. 2530-2544) และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาเพื่อลดช่องว่างในการกระจายรายได้ การวิจัยใช้ทฤษฎีทุนมนุษย์ (Human Capital Theory) เป็นฐานความคิดและใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2535 2539 และ 2543 ซึ่งเป็นช่วงปีสุดท้ายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 7 และ 8 ตามลำดับ ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อศึกษาการกระจายรายได้ของครัวเรือน ใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์จินี (Gini coefficient) ในการศึกษาความเสมอภาคทางการศึกษา ใช้จำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษา (year of schooling) ของหัวหน้าครัวเรือนและของสมาชิกทุกคนในครัวเรือน ส่วนการวิเคราะห์ผลของนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา ที่มีต่อการกระจายรายได้ใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise regression analysis) และโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการจัดการศึกษาเพื่อลดช่องว่างในการกระจายรายได้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเสมอภาคทางการศึกษาในภาพรวมมีมากขึ้น ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-8 โดยจำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนเป็น 5.18 ปี 5.19 ปี และ 5.71 ปี และของสมาชิกทุกคนในครัวเรือนเป็น 5.35 ปี 5.82 ปี และ 6.46 ปี ตามลำดับ แต่ยังมีความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคเล็กน้อย โดยกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีความเสมอภาคทางการศึกษามากที่สุด รองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ และมีความเหลื่อมล้ำมากในระหว่างกลุ่มชั้นรายได้ โดยหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกทุกคนในครัวเรือนของกลุ่มครัวเรือนชั้นรายได้สูงสุด 20% มีจำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษาสูงกว่าของกลุ่มครัวเรือนชั้นรายได้ต่ำสุด 20% เท่ากับ 2-2.5 เท่า 2. การกระจายรายได้มีแนวโน้มเหลื่อมล้ำกันมากขึ้น ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6-8 โดย Gini coefficient เท่ากับ 0.5882 0.5816 และ 0.6910 ตามลำดับ ภาคกลางมีการกระจายรายได้ดีที่สุด รองลงมาคือกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคใต้ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. ความเสนมอภาคทางการศึกษามีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงของรายได้ของครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทุนมนุษย์และสมมติฐานการวิจัย โดยในช่วงของแผนพัฒนาฯฉบับที่6 7 และ 8 ความสเมอภาคทางการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน จะทำให้ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ลดลงร้อยละ 23.02 15.17 และ 36.50 ตามลำดับ และความเสมอภาคทางการศึกษาของสมาชิกทุกคนในครัวเรือนจะทำให้ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ลดลงร้อยละ 81.53 78.41 และ 69.75 ตามลำดับ 4.รัฐบาลควรจะใช้นโยบายจัดการศึกษาเพื่อขยายโอกาสให้คนในครัวเรือนกลุ่มชั้นรายได้ต่ำสุด 20% ได้ศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนและประกันการมีงานทำ และยกระดับรายได้ของคนกลุ่มนี้ให้สูงขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้en
dc.description.abstractalternativeTo (1) analyze the educational equality during the period of the 6th-8th National Economic and Social Development Plans (B.E. 2530-2544), (2) analyze household income distribution during these Plans, (3) analyze the effects of the educational equality policy on income distribution in Thailand during these Plans, and (4) provide recommendations on the education management policy that will lead to the reduction in the income distribution gap. The research was based on the human capital theory. The data used in the study were taken from surveys of household economic and social status by the National Statistical Office in 1992, 1996 and 2000 which fell during the last period of each of the respective Plans. For the quantitative analysis, the Gini coefficient was used to investigate household income distribution, and the average number of years of schooling of both household heads and all members of the households were used in the study of education equality. For the analysis of the effects of the educational equality policy on income distribution, stepwise regression analysis was utilized. And by interviewing experts for their opinions about the relationship between education and income, and their recommendations on the education management policy that will lead to the reduction in the income distribution gap. The results of the study were 1. Educational equality increased over the period of the 6th-8th National Economic and Social Development Plans. The average number of years of schooling of household heads was 5.18, 5.19, and 5.71 respectively, and for all household members was 5.35, 5.82, and 6.46 respectively. However, there was a little inequality between regions. Bangkok and its neighboring provinces were better in educational equality than the central, southern, northern and northeastern regions respectively. There was significant inequality between different income groups. The average number of years of schooling of heads and all members of the households was found to be 2 to 2.5 times higher in the top 20% income bracket than in the lowest 20%. 2. The distribution of income tended to be more unequal during the 6th-8th National Economic and Social Development Plans. The Gini coefficient was 0.5882, 0.5816 and 0.6910 respectively. The central region was better in income distribution than Bangkok and its neighboring provinces, followed by the southern, northern and northeastern regions respectively. 3. Educational equality factors influenced a change of household income with statistical significance at the level of .01. It agreed with the human capital theory and hypothesis. During the period of the Plans, the education equality of household heads will reduce inequality of income distribution in 23.02%, 15.17% and 36.50% of the respective cases. The education equality of all household members will reduce inequality of income distribution in 81.53%, 78.41% and 69.75% of the respective cases. 4. The government and the Ministry of Education should adopt a policy to provide more opportunity for the households of the lowest 20% income group to have free, good quality upper secondary, vocational, and higher education, and also job security in order to raise their levels of income and to reduce the inequality of income distribution.en
dc.format.extent6190668 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1328-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความเสมอภาคทางการศึกษา -- ไทยen
dc.subjectการกระจายรายได้ -- ไทยen
dc.subjectแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติen
dc.titleการวิเคราะห์ผลของนโยบายความเสมอภาคทางการศึกษา ที่มีต่อการกระจายรายได้ในประเทศไทย ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ถึง 8 (พ.ศ. 2530-2544)en
dc.title.alternativeAn analysis of effects of the educational equality policy on income distribution in Thailand during the Sixth to the Eighth National Economic and Social Development Plans (B.E. 2530-2544)en
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.1328-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suriya.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.