Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11244
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งของผู้ถือหุ้นทุนและผู้ถือหุ้นกู้กับความระมัดระวังทางการบัญชี
Other Titles: The relationship between bondholder-shareholder conflicts and accounting conservatism
Authors: ประภารัตน์ ตั้งปัญญาธร
Advisors: พิมพ์พนา ปีตธวัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
Subjects: การบัญชี
ผู้ถือหุ้นกู้
ผู้ถือหุ้นทุน
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งของผู้ถือหุ้นทุนและ ผู้ถือหุ้นกู้กับระดับของความระมัดระวังทางการบัญชี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับของ ความระมัดระวังทางการบัญชีกับต้นทุนของหนี้สินเมื่อมีความขัดแย้งของผู้ถือหุ้นทุนและผู้ถือหุ้นกู้ โดยศึกษาจากข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีโครงสร้างการจัดหา เงินทั้งจากการออกหุ้นทุนและหุ้นกู้อย่างต่อเนื่องในระหว่างปี 2546-2548 เพื่อให้ทราบว่างบการเงิน ของบริษัทในประเทศไทยมีคุณสมบัติของความระมัดระวังทางการบัญชีที่จะช่วยลดความขัดแย้งของ ผู้ถือหุ้นทุนและผู้ถือหุ้นกู้ และส่งผลให้ลดต้นทุนหนี้สิ้นของบริษัทหรือไม่ การศึกษาจะวัดระดับของ ความระมัดระวังทางการบัญชีจาก 2 วิธี คือ วัดด้วยตัวแบบของ Beaver and Ryan (2000) และวัดด้วย ตัวแบบของ Givoly and Hayn (2000) จากการศึกษาพบว่า บริษัทที่มีความขัดแย้งของผู้ถือหุ้นทุนและ ผู้ถือหุ้นกู้สูงจะมีระดับของความระมัดระวังทางการบัญชีสูง ทั้งนี้เพื่อให้ความระมัดระวังทางการบัญชี ในการลดความขัดแย้งดังกล่าว นอกจากนี้พบว่าเมื่อมีความขัดแย้งของผู้ถือหุ้นทุนและผู้ถือหุ้นกู้ บริษัทที่มีระดับของความระมัดระวังทางการบัญชีสูงจะมีต้นทุนของหนี้สินต่ำ หรือก็คือ ความระมัดระวัง ทางการบัญชีจะส่งผลให้ลดต้นทุนหนี้สินของบริษัทได้
Other Abstract: The objectives of this research are to study the relationship between bondholder-shareholder conflicts and the level of accounting conservatism and to study the relationship between the level of accounting conservatism and the cost of debt when bondholder-shareholder conflicts exist. The study uses available data of listed companies in the Stock Exchange of Thailand that continuously have both shareholders' and bondholders' financing structures during the years of 2003 to 2005. This study examines whether Thai firms' financial statements have the quality of accounting conservatism that could reduce bondholder-shareholder conflicts and reduce firms' cost of debt. This study uses two conservatism measures: the measure based on Beaver and Ryan' (2000) model and the measure based on Givoly and Hayn' (2000) model. The results indicate that the higher the bondholder-shareholder conflicts, the higher the level of accounting conservatism. The reason is accounting conservatism can reduce these conflicts. In addition, when there are bondholder-shareholder conflicts, firms that have more accounting conservatism are found to have a lower cost of debt. This is, the accounting conservatism can reduce firms' cost of debt.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11244
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.433
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.433
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Praparat_Ta.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.