Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/113
Title: | ผลจากการแปรงด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ต่อการปล่อยฟลูออไรด์ของวัสดุประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์ |
Other Titles: | Effect of brushing with fluoridated dentifrice on fluoride release of fluoride-containing resin materials |
Authors: | อรุณี อดุลยพิเชฏฐ์, 2514- |
Advisors: | ทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | เรซินทางทันตกรรม ฟลูออไรด์ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการแปรงด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ (ยาสีฟันมีฟลูออไรด์ 1,000 ส่วนในล้านส่วน) ต่อการปล่อยฟลูออไรด์ของวัสดุประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์ชนิดต่างๆ ได้แก่ เรซินเคลือบหลุมและร่องฟันผสมฟลูออไรด์ (Helioseal F และ UltraSeal XT plus) คอมโพเมอร์ความหนืดต่ำ (Dyract flow) และคอมโพสิตความหนืดต่ำ (Tetric flow) และใช้เรซินเคลือบหลุมและร่องฟันที่ไม่ผสมฟลูออไรด์ (Helioseal) เป็นวัสดุควบคุม ทดลองโดยเตรียมชิ้นตัวอย่างของวัสดุทั้ง 5 ชนิดๆ ละ 10 ชิ้น นำชิ้นตัวอย่างแต่ละชิ้นมาแช่ในขวดพลาสติกบรรจุสารละลายน้ำลายเทียมปริมาณ 1 มิลลิลิตร ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 23 ชั่วโมง นำชิ้นตัวอย่างออกจากขวดและนำชิ้นตัวอย่างในกลุ่มทดลอง 5 ชิ้นแปรงด้วยสารละลายยาสีฟันและในกลุ่มควบคุม 5 ชิ้นแปรงด้วยสารละลายน้ำลายเทียม แล้วนำชิ้น ตัวอย่างมาแช่ในขวดพลาสติกบรรจุสารละลายน้ำลายเทียมปริมาณ 1 มิลลิลิตร ขวดใหม่ แปรงชิ้นตัวอย่างและเก็บสารละลายน้ำลายเทียมเพื่อวัดปริมาณฟลูออไรด์ซ้ำทุกวัน จนครบ 7 วัน เมื่อวิเคราะห์ผลการทดลองโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U test พบว่าปริมาณรวมของฟลูออไรด์จากวัสดุทุกชนิดในกลุ่มที่แปรงด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ไม่แตกต่างจากปริมาณรวมของฟลูออไรด์จากวัสดุชนิดเดียวกันในกลุ่มที่แปรงโดยไม่ใช้ยาสีฟันอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) และเมื่อเปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ที่ปล่อยจากวัสดุแต่ละชนิดโดยใช้สถิติ Kruskal-Wallis one-way ANOVA ร่วมกับสถิติ Mann-Whitney U test พบว่า Dyract flow ปล่อยฟลูออไรด์รวมได้มากกว่า Helioseal F (P<0.05), UltraSeal XT plus และ Tetric flow (P<0.01) Helioseal F ปล่อยฟลูออไรด์รวมได้มากกว่า UltraSeal XT plus และ Tetric flow (P<0.01) ส่วน UltraSeal XT plus ปล่อยฟลูออไรด์รวมได้ไม่แตกต่างจาก Tetric flow (P>0.05) สรุปได้ว่าการแปรงด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ไม่มีผลต่อการปล่อยฟลูออไรด์ของวัสดุประเภทเรซินผสมฟลูออไรด์คือ Helioseal F, UltraSeal XT plus, Dyract flow และ Tetric flow |
Other Abstract: | The purpose of this laboratory experimental research was to study about effect of brushing with fluoridated dentifrice (1,000 ppm fluoride) on fluoride release of various fluoride-containing resin materials. Ten specimens each of two fluoride-containing resin sealants (Helioseal F and UltraSeal XT plus), a flowable compomer (Dyract flow), a flowable composite (Tetric flow) and a conventional resin sealant (Helioseal, as a control) were prepared. Each specimen was kept in 1 ml. of artificial saliva at 37 ํC for 23 hours. The specimen was taken up. Five specimens in test group were brushed with dentifrice slurry and 5 specimens in control group with artificial saliva. Then each specimen was transferred to fresh artificial saliva. The procedure of brushing and measuring the solution was repeated everyday for 7 days. Using a Mann-Whitney U test was found that there was no significant differences between the cumulative amount of fluoride release from every materials in test group and the same material in control group (P>0.05). The difference of cumulative amount of fluoride release among materials was analyzed by Kruskal-Wallis one-way ANOVA with Mann-Whitney U test. The results showed that the cumulative amount of fluoride release from Dyract flow was significantly more than that of Helioseal F (P<0.05), UltraSeal XT plus and Tetric flow (P<0.01). The cumulative amount of fluoride release from Helioseal F was significantly more than that of UltraSeal XT plus and Tetric flow (P<0.01). No significant difference between amount of fluoride release from UltraSeal XT plus and Tetric flow (P>0.05). In conclusion, brushing with fluoridated dentifrice do not affect fluoride release of fluoride-containing resin materials in case of Helioseal F, UltraSeal XT plus, Dyract flow and Tetric flow. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ทันตกรรมสำหรับเด็ก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/113 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.593 |
ISBN: | 9741717075 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.593 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arunee.pdf | 955.34 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.