Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1137
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจนา แก้วเทพ | - |
dc.contributor.author | ญาณิศภาค กาญจนวิศิษฐ์, 2523- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-07-26T12:19:28Z | - |
dc.date.available | 2006-07-26T12:19:28Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741761961 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1137 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อค้นหาความหมายของวาทกรรมที่ปรากฏอยู่ในรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชน 2. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างวาทกรรม และ 3. เพื่อวิเคราะห์บทบาทของปฏิบัติการทางวาทกรรมในรายการดังกล่าว โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาของวาทกรรมรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชน รวมทั้งใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ผลิตรายการโดยนำแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์วาทกรรม, สัญญะวิทยา, การสร้างความชอบธรรมทางการเมือง, การโน้มน้าวใจ, แนวคิดเรื่องภาพลักษณ์ และแนวคิดเรื่องอุดมการณ์มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความหมายจากรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนมี 5 ประเภท คือการให้ข้อมูลอธิบายการสร้างความพัฒนาต่อประเทศ การชี้แจงแก้ต่าง การเล่าปัญหา การอบรมแนะนำ และการวิวาทะฝ่ายตรงข้าม อยู่ภายใต้การกำกับมาตรฐานความหมายของวาทกรรม 3 ชุด ได้แก่ วาทกรรมชุดธุรกิจการเมือง, วาทกรรมชุดพ่อขุน และวาทกรรมชุดนักข้อมูลข่าวสาร โดยพบว่าการให้ความหมายที่เกิดขึ้นได้ส่งผลต่อการสร้างอัตลักษณ์เชิงบวกของนายกทักษิณฯรวมทั้งส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สร้างวาทกรรมต่อประชาชนและฝ่ายตรงข้ามผู้ถูกอ้างอิงเพื่อนำไปสู่การสร้างความชอบธรรมต่ออำนาจการปกครอง 2) กระบวนการสร้างวาทกรรมรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนแสดงถึง การมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างปฏิบัติการทางวาทกรรม และปฏิบัติการสังคมวัฒนธรรม โดยปฏิบัติการทางวาทกรรมประกอบด้วย กระบวนการผลิต ได้แก่ 1. ผู้นำเสนอตัวบท ที่ใช้ตัวนายกฯพูดด้วยตนเอง 2. การคัดเลือกประเด็นโดยมีที่มาจาก เกณฑ์ด้านเนื้อหา เกณฑ์จากตัวบุคคล และเกณฑ์ด้านบริบท 3. รูปแบบการสื่อสาร ที่เลือกใช้วิธีการนำเสนอแบบสดเล่าคนเดียว 4. กลุ่มเป้าหมาย ที่มุ่งเน้นการเข้าถึงประชาชนจำนวนมากคือเป็นกลุ่มประชาชน ประชาชนระดับกลางไปจนถึงระดับรากหญ้า ประชาชนในภูมิภาค กระบวนการบริโภค ได้แก่ 1. การแพร่กระจายของวาทกรรม โดยเลือกใช้ช่องทางวิทยุในช่วงเวลาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และลักษณะการนำเสนอที่ไม่ทางการ, มีการอ้างหลักฐาน และแบ่งนำเสนอเป็นประเด็นสั้นๆ 2. ระบบความคิดของผู้รับสารในสังคมไทยที่สนใจผู้มีอำนาจพูดและชอบการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่าในกระบวนการสร้างวาทกรรมมีลักษณะสอดคล้องกับวาทกรรมในกระแส ได้แก่ วาทกรรมในระบบสังคม Globalization วาทกรรมในระบบเศรษฐกิจการเมืองยุค IMF และกระบวนการสร้างวาทกรรมมีลักษณะสอดคล้องกับวาทกรรมของระบบสังคมไทย ได้แก่ วาทกรรมผู้นำในระบบวัฒนธรรมไทย และวาทกรรมผู้นำในระบบกฎหมาย 3. จากการศึกษานี้พบว่าปฏิบัติการทางวาทกรรมในรายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชนได้แสดงบทบาทหน้าที่เชิงวาทกรรม 3 ประการ คือ 1. บทบาทในการสร้างอัตลักษณ์ ภาพลักษณ์ อันนำมาซึ่งการยอมรับไว้วางใจเชื่อถือจากประชาชนผู้ฟัง 2. บทบาทในการโน้มน้าวใจสร้างแบบความสัมพันธ์เพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมือง 3. บทบาทในการสร้างอุดมการณ์ซึ่งที่ปรากฏได้แก่ อุดมการณ์ทุนนิยม อุดมการณ์ปฏิรูปการบริหารจัดการ อุดมการณ์ประชานิยม และอุดมการณ์บริหารประเทศแบบนักธุรกิจรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้นและเป็นที่ยอมรับเห็นด้วย คล้อยตาม กับแนวความคิดการกระทำของรัฐบาล | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were as follow; 1.) to find the discourses meaning of Premier Thaksin talks with the people program 2.) to study processes of discourse construction and 3.) to analyze the roles of that discourses in Thai social. This research used qualitative research methodology to analyze content of this program, including in - depth interview of program's producers. The Analytical framework was base on discourse meaning and discourse role analysis concept. Results of the research consist of 1.) Meaning of this program was constructed by 5 types of discourses (Speech Act) that are the problem narration, the duty exoneration, the nation development explaining, the citizen instruction and the opposite dispution, there are three types of meaning toward the politic righteousness power in the program: Political business discourse, guardian discourse and information man discourse. Furthermore, the construction of meaning effect to the construction of identities and also effect on relationship ofdiscourse constructor, audience and refered person. 2.) Process of the construction of discourse of this program showed up relationship between discourse practices which consist of Text Production; 1) Text presenter was the Prime minister Thaksin himself 2) The selection of issues depend on media content, desirable of authorities and social current situation 3) The program form presented by lived one person narrator 4) target group that emphasize to access amount of the people referred as country people in the provincial part. And Text Consumption; 1) Discourse Distribution on radio channel 2) Thai audience's cognitive system that tend to interest in the authorities speech and prefer informal way of presentation.Furthermore, research also found that under process of constructing discourse' there has been the characteristic that concided with mainstream discourses that are the discourse in social, eco-politic, Thai cultural and law system which support thinking and Ideology of the program construction. 3) The roles of discourse toward Thai social of this program are three functions: 1) An Identity function which bring to the public trust 2) A Relational function which construct politic righteousness power and 3) An Ideational function, which are the Capitalism Ideology, popularlism Ideology, administrative reformation Ideology and new business generation Ideology which that distribute to the audience for the consensus. | en |
dc.format.extent | 31562966 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.18 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | วจนะวิเคราะห์ | en |
dc.subject | การสื่อสารทางการเมือง | en |
dc.title | กระบวนการสร้างความหมาย และบทบาทวาทกรรม "รายการนายกฯทักษิณคุยกับประชาชน" | en |
dc.title.alternative | The Process of meaning construction and the roles of discourse in "Premier Thaksin talks with the people program" | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | การสื่อสารมวลชน | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.18 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yanisphak.pdf | 8.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.