Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11638
Title: | การพัฒนาแบบประเมินตนเองด้านการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานระดับคุณภาพ สำหรับครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ |
Other Titles: | A development of the self-evaluation form on teacher performance based on National Teacher Qualification and Beerens' standard for teachers under the Office of the National Primary Education Commission |
Authors: | รัชนีวรรณ สงชู |
Advisors: | พวงแก้ว ปุณยกนก |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ครูประถมศึกษา การประเมินตนเอง การประเมินผลงาน |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบประเมินตนเองด้านการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานระดับคุณภาพ สำหรับครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ โดยนำแนวคิดในการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานระดับคุณภาพครู ของคุรุสภาผนวกกับกรอบแนวคิดตามทฤษฎีของเบียร์เรนส์ มาสร้างเป็นแบบประเมินตนเอง โดยทดลองใช้กับครูประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ใน 12 เขตการศึกษา จำนวน 934 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมินตนเอง ในด้านความตรงและด้านความเที่ยง พร้อมทั้งหาเกณฑ์และสร้างคู่มือแปลผลการใช้แบบประเมินตนเอง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินตนเองด้านการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานระดับคุณภาพ สำหรับครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 22 องค์ประกอบย่อย และ 66 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 การวางแผนและเตรียมการสอนมี 6 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักที่ 2 การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนมี 5 องค์ประกอบย่อย 15 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักที่ 3 การจัดการเรียนการสอนมี 5 องค์ประกอบย่อย 15 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบหลักที่ 4 ความรับผิดชอบในวิชาชีพมี 6 องค์ประกอบย่อย 16 ตัวบ่งชี้ 2. คุณภาพของแบบประเมินตนเองด้านการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานระดับคุณภาพ 2.1 แบบประเมินตนเองมีความตรงเชิงเนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับองค์ประกอบ/ประเด็นชี้วัดของแบบประเมินตนเอง (IOC) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีความตรงเชิงโครงสร้าง ที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (second-order confirmatory factor analysis) และมีความตรงเชิงจำแนก (discriminant validity) จากการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ของกลุ่มครูที่มีคุณภาพการปฏิบัติงานสูง และกลุ่มครูที่มีคุณภาพการปฏิบัติงานโดยทั่วไป พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 แบบประเมินตนเองมีความเที่ยง แบบความสอดคล้องภายในเมื่อคำนวณตามวิธีของครอนบาค (Cronbach' s Alpha) โดยรวมทั้ง 4 ฉบับ เท่ากับ 0.9830 และเมื่อจำแนกเป็นรายฉบับ พบว่าฉบับที่ 1-4 มีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน เท่ากับ 0.9723, 0.9139, 0.9757 และ 0.9469 ตามลำดับ 3. เมื่อใช้เกณฑ์การจัดระดับคุณภาพของคะแนนการประเมินโดยภาพรวม ด้วยวิธีการกำหนดมาตรฐานโดยใช้ทฤษฎีการตัดสินใจ และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญพบว่า ครูมีคุณภาพระดับ 4 ซึ่งเป็นคุณภาพระดับสูงสุด จำนวน 33 คน คิดเป็น 3.53% คุณภาพระดับ 3 จำนวน 276 คน 29.55% คุณภาพระดับ 2 จำนวน 446 คน 47.75% และคุณภาพระดับ 1 จำนวน 162 คน 17.35% ตามลำดับ สำหรับครูที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินมีจำนวน 17 คน คิดเป็น 1.82% |
Other Abstract: | The proposal of this research was to construct and develop a self-evaluation form to assess teacher performance. The conceptual framework of the teacher performance was derived from The National Teacher Qualification and Beerens, D.R. (2000)'s standards. A prototype of the self-evaluation form was constructed and then tested for improvement. The subjects were 934 teachers chosen by multi-stage sampling from teachers under The Office of The National Primary Education Commission in 12 educational regions. The qualities of each item and the validity and reliability of the self-evaluation form were analyzed. Norm for score interpretation and manual were prepared. The results were as fallows : 1. The self-evaluation form was composed of 4 factors, 22 sub-factors with 66 indicators. The first factor was the lesson plan and teaching preparation with 6 sub-factors and 20 indicators. The second factor was the classroom environment with 5 sub-factors and 15 indicators. The third factor was teaching performance with 5 sub-factors and 15 indicators. The fourth factor was the professional responsibilities with 6 sub-factors and 16 indicators. 2. Validity and reliability of the self-evaluation form were as follows 2.1 The content validity was confirmed by the index of consistency. The IOC ranged from 0.67 to 1.00. The construct validity was proved by the second-order confirmatory factor analysis : CFA. The discriminant validity using t-test to test the difference between means of the high and normal performance teachers was significantly different at .05 level. The Cronbach's reliability coefficient of the self-evaluation form was 0.9830. Each part reliability was 0.9723, 0.9139, 0.9757 and 0.9469 respectively. 3. The quality of teacher performance of the sample of 934 teachers using standard from Decision-Theoretic Approaches and experts' opinion were as follows; there were 33 (3.53%) in level 4 which is the top level, 276 (29.55%) in level 3, 446 (47.75%) in level 2 and 162 (17.35%) in level 1 respectively. There were 17 (1.82%) teachers were below standard. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11638 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.574 |
ISBN: | 9740302017 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.574 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ratchaneewan.pdf | 4.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.