Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11692
Title: | การดึงข้อมูลล่วงหน้าบนเว็บโดยเปลี่ยนแปลงตามแบนวิดท์ |
Other Titles: | Bandwidth-based adaptive web prefetching |
Authors: | ภรศิษฐ์ ธนวุฒิวัฒน์ |
Advisors: | ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การดึงข้อมูลล่วงหน้าบนเว็บ เวิลด์ไวด์เว็บ หน่วยความจำแคช |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันเวิลด์ไวด์เว็บได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้ปริมาณข้อมูลที่เกิดขึ้นมีมากกว่าที่ระบบอินเตอร์เน็ตสามารถรองรับได้ ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้งานเว็บต้องใช้เวลานานในการรอคอยเอกสารจากอินเตอร์เน็ต จึงได้มีงานวิจัยจำนวนมาก ค้นคว้าหาวิธีลดเวลาการรอคอยเอกสารที่เกิดขึ้น การดึงข้อมูลล่วงหน้าเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ลดเวลาการรอคอยเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการที่ว่าในขณะที่ผู้ใช้งานกำลังดูเอกสารอยู่ ระบบจะทำนายเอกสารที่ผู้ใช้งานร้องขอในอนาคตอันใกล้ และดึงข้อมูลล่วงหน้ามาเก็บไว้ในแคช แต่การดึงข้อมูลล่วงหน้ามีจุดบกพร่องที่สำคัญอยู่ 2 ประการคือ การดึงข้อมูลล่วงหน้าจะมีการใช้แบนวิดท์จำนวนมากในการดึงเอกสารที่ได้ทำนายไว้ นอกจากนี้การควบคุมอัตราการดึงข้อมูลของระบบการดึงข้อมูลล่วงหน้า จะมีลักษณะตายตัวซึ่งไม่เหมาะสมกับระบบที่มีปริมาณการใช้งานเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จุดบกพร่องที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิดปัญหากับระบบเครือข่ายที่สามารถใช้งานแบนวิดท์ได้จำกัด ในงานวิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอวิธีการดึงข้อมูลล่วงหน้าแบบใหม่ ที่จะช่วยลดเวลาการรอคอยของเอกสารโดยสร้างผลกระทบต่อระบบเครือข่ายน้อย โดยระบบการดึงข้อมูลล่วงหน้าแบบใหม่จะวัดปริมาณการใช้งานแบนวิดท์ของระบบ เพื่อหาปริมาณแบนวิดท์ที่ว่างในระบบ และดึงข้อมูลล่วงหน้าโดยใช้แบนวิดท์ที่วัดได้เท่านั้น และวิทยานิพนธ์นี้ได้ทดสอบระบบที่ออกแบบขึ้น เปรียบเทียบกับระบบดึงข้อมูลล่วงหน้าแบบเดิม การทดสอบจะใช้วิธีจำลองการทำงานของระบบเครือข่าย โดยใช้ข้อมูลการใช้เว็บที่ได้จากพร็อกซี เซิร์ฟเวอร์ ของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลการทดลองพบว่า ในสภาพแวดล้อมที่มีปริมาณแบนวิดท์จำกัด การดึงข้อมูลล่วงหน้าที่ออกแบบขึ้นสามารถเพิ่มฮิตเรทของพร็อกซีได้ โดยที่ส่งผลกระทบต่อระบบน้อยมากในขณะที่การดึงข้อมูลล่วหน้าแบบเดิมเพิ่มฮิตเรทได้มากกว่า แต่จะส่งผลกระทบต่อระบบมากกว่ามาก ทำให้การดึงข้อมูลล่วงหน้าที่ออกแบบขึ้น สามารถลดเวลาเข้าถึงเอกสารของผู้ใช้งานได้ดีกว่าการดึงข้อมูลล่วงหน้าแบบเดิม |
Other Abstract: | The increasingly popularity of World Wide Web lead to the increasing of Internet bandwidth. As Internet has limited bandwidth, web users must wait for a long time to access web documents. To elevate this problem several researches have focused on the way to reduce user access time. Web prefetching is one of the methods that are considered to reduce access time efficiently. The main idea of prefetching is to predict the nest document that user will request it and fetch into cache while user is viewing a current document. But Prefetching has two major drawbacks, which are large bandwidth requirement and fixed prefetching control parameter that may not be suitable for Internet environments that are constantly changed. These disadvantages will impose serious limitations of using prefetching in the real world. In this thesis we have studied a new prefetching scheme that can reduce the user access time while generates minimal effect to network system. Our scheme will measure that bandwidth usage in the network and perform prefetching using only available bandwidth. We have conduct experiments in order to study the performance of our prefetching scheme. We have simulated network system by using access logs from proxy server of the Office of Information Technology of Chulalongkorn University. The result of simulation shows that in bandwidth-limited network, our scheme can increase the hit rate of proxy while experiencing almost degradation of the quality of service of network. While old scheme can increase more hit rate but greatly degrade the performance of the quality of service. Consequently, our scheme can reduce the access time better than old scheme. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11692 |
ISBN: | 9740304281 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pornsit.pdf | 764.27 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.