Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11756
Title: การติดตามการดำเนินงานโครงการเคหะชุมชนของรัฐ : กรณีศึกษาโครงการฟื้นนครฉลองกรุง
Other Titles: An assessment of the Chalong Khung Housing Relocation Project
Authors: วิทยา อริยะสุนทร
Advisors: บัณฑิต จุลาสัย
ปรีดิ์ บุรณศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โครงการฟื้นนครเฉลิมกรุง
การย้ายที่อยู่อาศัย
ชุมชนแออัด
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการฟื้นนครฉลองกรุงเป็นหนึ่งในโครงการฟื้นนครมีเนื้อที่โครงการ 416-3-69 ไร่ จำนวนที่ดินแปลงโล่ง 3.597 หน่วยใช้เงินลงทุนทั้งโครงการ 737,630,925 บาท โดยเริ่มให้ผู้ที่ได้รับสิทธิ์เข้าอยู่อาศัยในโครงการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของโครงการฟื้นนครฉลองกรุง โดยพิจารณาปัจจัยด้านกายภาพเศรษฐกิจ สังคมและศึกษา ผลการดำเนินงานด้านการเงินของโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยเก็บข้อมูลรายละเอียดโครงการ ข้อมูลทางการเงินของโครงการ จากเอกสารของการเคหะแห่งชาติ และได้ดำเนินการสำรวจภาคสนาม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 244 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าความถี่ ผลการดำเนินงานด้านกายภาพ พบว่า ครัวเรือนมีจำนวนสมาชิกเฉลี่ยลดลง จากเดิม 6.45 คน/ครัวเรือน เหลือ 4.55 คน/ครัวเรือน ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นบ้าน 2 ชั้น ที่ดินในโครงการส่วนใหญ่ ร้อยละ 92 มีขนาดที่ดิน 20.25 ตารางวา วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านส่วนใหญ่ เป็นไม้และอิฐ/ปูน ลักษระการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นการปลูกสร้างแบบถาวร ลักษณะการใช้งานส่วนใหญ่ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว ขนาดพื้นที่ใช้สอยของบ้าน พบว่าเพียงพอต่อการใช้สอยในชีวิตประจำวัน ตามมาตรฐานขั้นต่ำของการเคหะแห่งชาติ ความหนาแน่นต่อการอยู่อาศัยทั้งโครงการ เฉลี่ย 1.74 ไร่ต่อ 15 หลังคาเรือน ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ พบว่า การดำเนินโครงการส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของผู้เข้าอยู่อาศัยลดลงเกือบ ทุกอาชีพ ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพลูกจ้างเอกชน การเดินทางไปทำงานของผู้อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ต้องใช้ระยะทางไกลขึ้น เวลาและค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเดินทางเพิ่มขึ้น รายได้ของผู้ให้สัมภาษณ์และรายได้รวมครัวเรือนลดลง รายจ่ายของครัวเรือน ลดลงเล็กน้อย ค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้าน เฉลี่ยเท่ากับ 196,387 บาท แหล่งเงินที่ใช้ในการปลูกสร้างบ้าน ส่วนใหญ่มาจากเงินสะสม แรงงานที่ใช้ปลูกสร้างบ้านส่วนใหญ่ จ้างแรงงานจากภายนอกชุมชน ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีรายได้ไม่พอเพียงกับรายจ่าย และมีจำนวนถึงร้อยละ 72.54 ที่มีหนี้สิน โดยหนี้สินส่วนใหญ่นำมาใช้สร้างบ้าน เนื่องจากมีสะสม (เงินออม) ไม่เพียงพอ แหล่งที่มาของเงินกู้ส่วนใหญ่มาจากคนรู้จัก เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบการเงินปกติได้ ผลการดำเนินงานด้านสังคม ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่ซื้อสินค้าบริโภคจากรถที่นำมาขาย ส่วนสินค้าอุปโภคส่วนใหญ่ซื้อจากตลาดในชุมชน การรักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วยส่วนใหญ่ไปรักษาที่โรงพยาบาล ส่วนการเป็นสมาชิกกิจกรรมของชุมชน ซึ่งสะท้อนถึงการมีส่วนร่วมในชุมชน พบว่าส่วนใหญ่ไม่เป็นสมาชิก ผลการดำเนินงานทางการเงิน พบว่าโครงการไม่สามารถให้ผลตอบแทนทางการเงินได้ การประเมินผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ พบว่าประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น โดยทางด้านกายภาพและความมั่นคงในการอยู่อาศัย โครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาจากผู้ที่เข้าอยู่อาศัยในโครงการ แต่เมื่อพิจารณาถึงจำนวนผู้ที่ได้รับสิทธิ์ส่วนใหญ่ที่ไม่เข้าอยู่อาศัยในโครงการ พบว่าโครงการฟื้นนครฉลองกรุงไม่สามารถแก้ปัญหาคนส่วนใหญ่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยได้ ในด้านเศรษฐกิจโครงการยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ เนื่องจากในปัจจุบันสภาพของผู้อยู่อาศัยในโครงการกำลังประสบปัญหาการดำรงชีวิต การประเมินผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ โดยพิจารณาสัดส่วนการเข้าอยู่อาศัยจริง พบว่าปัจจุบันมีผู้เข้าอยู่อาศัยในโครงการจำนวน 691 ครัวเรือน คอเป็นร้อยละ 19.21 จากจำนวนแปลงที่ดินทั้งหมด การประเมินผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์พบว่าส่วนใหญ่ไม่คิดขายกรรมสิทธิ์ในที่ดินและม่คิดที่จะย้ายถิ่นอีกต่อไป แสดงว่าโครงการฟื้นนครฉลองกรุงให้ความรู้สึกมั่นคงในการอยู่อาศัยเป็นอย่างดี การประเมินผลสำเร็จโดยใช้ความพอใจในด้านต่างๆ ของผู้อยู่อาศัยพบว่าส่วนใหญ่ไม่พอใจในเรื่องระยะทาง เวลา ที่ใช้เดินทางไปทำงานมากที่สุด ในด้านความพอใจต่อการจัดหาที่อยู่อาศัยและการโยกย้ายพบว่าผู้อยู่อาศัยในโครงการส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมดีแล้ว ด้านความพอใจต่อระบบสาธารณูปโคและสาธารณูปการในชมชนพบว่าส่วนใหญ่ผู้อยู่อาศัยต้องการให้มีการปรับปรุงสาธารณูปโภคและสาธารณูปการโดยเห็นว่าระบบไฟฟ้าแสงสว่าง น้ำประปา และรถเมล์ ในชุมชนควรมีการปรับปรุงมากที่สุด
Other Abstract: The Chalong Krung Housing Relocation Project is a part of the Nakhon Relocation Project with the area of 416-3-69 rai. The empty plot of land accounts for 3,597 units. The investment for the whole projects is 737,630,925 baht. Those entitled to live here have moved in since March 1996. The purposes of this study are to evaluate the operational results of the Chalong Krung Housing Relocation Project by taking physical, economic and social factors into consideration; and to study the financial aspect of the project. The data includes details of the project, its finance based on the information provided by the National Housing Authority and information obtained from field survey. A questionnaire is used as a research tool. There are 244 subjects. The data is analyzed by using percentage, average, the highest and the lowest points, and frequency. As for physical operational results, there are fewer members in a family, from 6.45 members to 4.55 members. They live in two-storey houses. Ninety-two per cent of the land of this project covers 20.25 square wah. Most of the materials used in house construction are wood, bricks and cement. Most houses are securely built for residential purposes. The functional area in each house meets the residents' needs according to the lowest standards required by the National Housing Authority. The average concentration is 1.74 rai per 15 houses. With regard to economic results, it was found that the project affects the residents' careers since most of them are company employees. It takes them more time and more money to commute. The interviewees' income and the total income of each family decrease while the expense of each family also decreases a little. The average expense on house construction is 196,387 baht and the source of money mostly comes from savings. Most houses are built by workers outside the community. Most residents' income is less than their expenses, 72.54% of whom are in debt. Most of the debts occur when they have their houses built since their savings are not enough. Most of them borrow some money from acquaintances because they have no access to a regular financial source. In terms of social aspects, most residents buy consumable goods from hawkers while utility goods are bought from community markets. Most residents go to the hospital when they are sick. Regarding participation in community activities, it was found that most of them are not members of such activities. In terms of finance, the project does not yield financial return. To determine the success of the project, the proportion of actual residence is considered. At present, there are 691 families living ther, 19.21% of the whole plots of land. Taking the change of right to and relocation into consideration, most residents do not want to sell their rights to the land to anybody or to move to other places. This indicates the success of the project. As for the residents' satisfaction in various aspects, most of them think that their existing community is better than their previous one. They are pleased with its physical aspect and its reliability. However, most of them are not pleased with distance and time spent on commuting. Most agree that housing provision and relocation is appropriate while they would most like to have the lighting system, water system and buses improved.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11756
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.137
ISBN: 9741302614
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.137
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wittaya.pdf13.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.