Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11923
Title: ผลของเมวินฟอสและเมทิลพาราไธออนต่อการหลั่งเทสโทสเตอโรน ในหนูแรทเพศผู้
Other Titles: Effect of mevinphos and methyl parathion on testosterone secretion in male rats
Authors: มงคล สมัญญา
Advisors: ประคอง ตังประพฤทธิ์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เทสโตสเตอโรน
ศัตรูพืช -- การควบคุม
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของสารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส 2 ชนิด คือเมวินฟอส และเมทิลพาราไธออนต่อการหลั่งเทสโทสเตอโรนในหนูเพศผู้ พบว่าเมวินฟอสขนาด 25 และ 100 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้กับหนูอายุ 24 วัน ติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน ทำให้ปริมาณเทสโทส เตอโรนในซีรัมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อเลียงเซลล์ลัยดิกของหนูอายุ 24 วัน เป็นเวลา 2 ชั่วดมง ที่ 34 degrees Celsius พบว่าเมวินฟอสขนาด 0.001, 0.01, 0.1, 1 และ 10 ppm ยับยั้งการหลั่งเทสโทส เตอโรนลงประมาณ 10-50% ตามขนาดความเข้มข้น และยังพบว่าเมวินฟอสยับยั้งการกระตุ้มการหลั่งเทสโทส เตอโรนจากเซลล์ลัยดิกโดย hCG และ cAMP ประมาณ 20-50% ตามขนาดความเข้มข้นเช่นเดียวกัน ส่วนในหนูอายุ 50 วัน พบว่าเมวินฟอส ขนาด 25 และ 100 ไมโครกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ลดระดับเทสโทส เตอโรนในซีรัมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) เมื่อฉีดครบ 30 วัน เมื่อเลี้ยงเซลล์ลัยดิกกับเมวินฟอสขนาด 0.001-10 ppm พบว่าลดการหลังเทสโทสเตอโรนจากเซลล์ลัยดิกของหนูอายุ 70-75 วัน โดยสิ้นเชิง และยังพบว่าเมวินฟอสยับยั้งการกระตุ้นการหลั่งเทสโทสเตอโรนโดย hCG และ cAMP ตามขนาดความเข้มข้น เมื่อฉีดเมทิลพาราไธออนขนาด 500 ไมโครกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมให้กับหนูอายุ 24 วัน ติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน พบว่าลดระดับเทสโทสเตอโรนในซีรัมอย่างมีนัยสำคัญ (p 0.05) และเมทิลพาราไธออนที่ความเข้มข้น 1 และ 10 ppm ก็สามารถยับยั้งการหลังเทสโทสเตอโรนจากเซลล์ลัยดิกของหนูอายุ 24 วัน ได้ประมาณ 25 และ 70% ตามลำดับ และยังพบว่าเมทิลพาราไธออนขนาด 1 และ 10 ppm ยับยั้งการกระตุ้นการหลั่งเทสโทสเตอโรนจากเซลล์ลัยดิกโดย hCG และ cAMP ประมาณ 30,100% และ 30,85% ตามขนาดความเข้มข้น และเมื่อฉีดเมทิลพาราไธออนขนาด 100 และ 500 ไมโครกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมเมื่อให้กับหนูอายุ 50 วัน เป็นเวลา 30 วัน สามารถลดระดบเทสโทสเตอโรนในซีรัมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และ (p<0.01) ตามลำดับ และเมทิลพาราไธออนที่ความเข้มข้น 0.001, 0.01, 0.1, 1 และ 10 PPM ยับยั้งการหลั่งเทสโทสเตอโรนจากเซลล์ลัยดิกของหนูอายุ 70-75 วัน ได้ทั้งหมด และยังพบว่าเมทิลพาราไธออนที่ความเข้มข้น 1 และ 10 PPM ยับยั้งการกระตุ้นการหลั่งเทสโทส เตอโรนจากเซลล์ลัยดิกโดย hCG และ cAMP ตามขนาดความเข้มข้น จากการศึกษาดูเนื้อเยื่อของอัณฑะ พบว่าเมวินฟอสและเมวินฟอสและเมทิลพาราไธออนมีผลทำลายเนื้อเยื่อระหว่างท่อเซมินิเฟอรัสและทำลายเซลล์ลัยดิกโดยตรง มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ เช่นเกิดการรวมกลุ่มของโครมาตินรอบ ๆ เยื่อหุ้มนิวเคลียส นิวเคลียสเกิดการสลายตัว มีการเปลี่ยนแปลงและขนาดของเซลล์ลัยดิก รวมทั้งมีการตายของเซลล์ลัยดิก จากผลการทดลองครั้งนี้พอสรุปได้ว่าทั้งเมวินฟอสและเมทิลพาราไธออน มีผลยับยั้งการหลั่งเทสโทสเตอโรนทั้งในหนูที่โตเต็มวัยและไม่โตเต็มวัย ที่ระดับเซลล์ลัยดิกโดยตรง ซึ่งอาจเกิดจากการยับยั้ง cAMP รวมทั้งมีการทำลายเซลล์โดยตรงด้วย และผลดังกล่าวเกิดชัดเจนมากกว่าในหนูโตเต็มวัย
Other Abstract: The effects of mevinphos (MVP) and methyl parathion (MP) on testosterone (T) secretion in vivo and and in vitro in male rats were elucidated. MVP at doses of 25 ug or 100 ug/kg when injected to 24 day old rats for 30 days reduced serum T levels. MVP at the concentration of 0.001, 0.01, 0.1, 1.0 and 10.0 ppm inhibited T secretion (10-15%) from Leydig cells isolated from 24 days old rats incubated for 2 hrs at 34 C. These concentration of MVP also inhibit T secretion stimulated by hCG or AMP. Similar results were obtained in adult male rats that MVP (25 ug or 100 ug/kg) when injected for 30 days to 50 days old rats, reduced serum T levels. MVP (0.001-10.0 ppm) inhibit T secretion from Leydig cells of 70-75 days old rats both in the absence and presence of hCG or cAMP in a dose dependent manner. Serum T levels were significantly reduced in rats injected daily with 500 ug/kg MP for 30 days at the age of 24 days. MP at the concentrations of 1 and 10 ppm inhibited T secretion (25 and 70% respectively) from Leydig cell of 24 days old rats. These concentration of MP also inhibited T secretion from Leydig cells stimulated by hCG or AMP. Similar results were obtained when adult male rats were treated with MP 100 ug or 500 ug/kg MP reduced serum T levels while 0.001, 0.01, 0.1, 1.0 and 10 ppm of MP inhibited T secretion from isolated Leydig cell in dose dependent manner both in the media with or without hCG or cAMp. Histological study of interstitial tissue revealed that MVP as well as MP when administered for a period of 30 days to 24 and 50 days old rats affected directly on Leydig cell by causing the changes in cell morphology such as the condensation, perinuclear chromatin clumping, karyolysis and cell necrosis. These data obtained suggested that the inhibition effect of MVP and MP on T secretion may exert directly at the Leydig cell level through the mechanism involving cAMP inhibition. These effect are more porminant in adult male rats.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11923
ISBN: 9746349619
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mongkol_Sa_front.pdf763.47 kBAdobe PDFView/Open
Mongkol_Sa_ch1.pdf765.33 kBAdobe PDFView/Open
Mongkol_Sa_ch2.pdf859.58 kBAdobe PDFView/Open
Mongkol_Sa_ch3.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_Sa_ch4.pdf748.95 kBAdobe PDFView/Open
Mongkol_Sa_back.pdf785.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.