Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1193
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วาทิต เบญจพลกุล | - |
dc.contributor.author | กิตติพงศ์ เสริมเตชะถาวร, 2520- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-07-29T03:47:48Z | - |
dc.date.available | 2006-07-29T03:47:48Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740304427 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1193 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของตัวตรวจทราฟฟิกในโครงข่ายเอทีเอ็มคือ ต้องสามารถรองรับคุณภาพของบริการต่างๆ สำหรับทราฟฟิกต่างชนิดกันได้ ตัวตรวจทราฟฟิกแบบเดิมคือกลไกถังรั่วแบบโทเค็นซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับตรวจทราฟฟิกเพียงชนิดเดียว ไม่สามารถตรวจและรองรับทราฟฟิกหลายชนิดที่ต้องการคุณภาพของบริการต่างกันออกไปได้ จึงมีการนำเสนอกลไกถังรั่วอีกแบบหนึ่งคือกลไกถังรั่วแบบลำดับความสำคัญ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยการให้ลำดับความสำคัญแก่ทราฟฟิกตามความต้องการของทราฟฟิกนั้นๆ แต่กลไกประเภทนี้มีข้อเสียที่สำคัญคือ ต้องมีการลดคุณภาพของบริการของทราฟฟิกที่มีลำดับความสำคัญต่ำเพื่อให้ทราฟฟิกที่มีลำดับความสำคัญสูงมีคุณภาพดีขึ้น วิทยานิพนธ์นี้จึงนำเสนอกลไกถังรั่วแบบลำดับความสำคัญแบบใหม่ 2 แบบ เพื่อให้คุณภาพของบริการของทราฟฟิกทั้ง 2 ชั้นมีคุณภาพดีขึ้น โดยที่กลไกที่นำเสนอแบบแรกทำการเพิ่มบ่อโทเค็นพิเศษเข้ากับกลไกลำดับความสำคัญแบบเดิม บ่อโทเค็นพิเศษนี้นอกจากจะช่วยปรับปรุงค่าคุณภาพของบริการของทราฟฟิกแล้ว ยังเป็นการนำทรัพยากรโครงข่ายมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ส่วนกลไกที่สองที่นำเสนอนั้น ประยุกต์ระบบฟัซซีลอจิกเข้ากับกลไกแรกโดยฟัซซีลอจิกจะคำนวณและปรับค่าอัตราการสร้างโทเค็นเพื่อให้เหมาะสมกับคุณลักษณะของแหล่งกำเนิดทราฟฟิกในขณะนั้นๆ ในวิทยานิพนธ์นี้ผู้วิจัยยังได้ศึกษาสภาพเลือกเฟ้นและการตอบสนองต่อทราฟฟิกเกินของกลไกถังรั่ว เมื่อแหล่งกำเนิดส่งทราฟฟิกเกินปริมาณที่ตกลงไว้กับโครงข่ายด้วย คุณสมบัติทั้งสองนี้เป็นคุณสมบัติสำคัญของกลไกถังรั่วในการทำหน้าที่เป็นตัวตรวจทราฟฟิก ยังไม่เคยมีการศึกษาคุณสมบัติเหล่านี้ในกลไกถังรั่วแบบลำดับความสำคัญมาก่อน ผลการจำลองแบบแสดงให้เห็นว่าเมื่อแหล่งกำเนิดทราฟฟิกปฏิบัติตามข้อตกลงโครงข่ายแล้ว กลไกที่นำเสนอวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 จะให้คุณภาพของบริการที่ดีกว่ากลไกดั้งเดิมถึง 30% และ 90% ตามลำดับ และเมื่อแหล่งกำเนิดทราฟฟิกละเมิดข้อตกลงกับโครงข่ายนั้น วิธีที่นำเสนอซึ่งใช้ฟัซซีลอจิกสามารถควบคุมทราฟฟิกชั้นที่ส่งเกินไม่ให้รบกวนกับคุณภาพของบริการของทราฟฟิกอีกชั้นหนึ่ง และสามารถที่จะตอบสนองต่อทราฟฟิกเกินได้อย่างรวดเร็วกว่าวิธีอื่นๆ โดยเริ่มตรวจพบการละเมิดเร็วกว่าวิธีอื่นๆ 26%. | en |
dc.description.abstractalternative | One of the most important tasks for a policer in ATM networks is to meet Quality of Service (QoS) requirements for different classes of service. The conventional token leaky bucket, which is designed for policing single traffic, cannot perform well in dealing with different traffic types and guaranteeing their QoS. As a result, the priority leaky bucket has been proposed to cope with this problem by providing priority level for each service class according to its requirement. However, the scheme still has a great disadvantage that the QoS of low priority class is degraded as a tradeoff for better QoS of high priority class. So, this thesis proposes two new priority leaky bucket mechanisms in order to improve the QoS of both traffic classes. The first new mechanism adds an extra token pool with the conventional one that can improve QoS of both priority classes and resource utilization. The second one applies a fuzzy logic system with the first mechanism to adjust the token generation rate dynamically, according to traffic source characteristics. Moreover, this thesis also studies the selectivity and responsiveness of the priority mechanism when traffic is overloaded. These important properties of the mechanism as a policer have never been investigated in the past priority scheme literature. The simulation results show that when the traffic source respects the service contract, the first and the second proposed mechanisms provide 30% and 90% better QoS than the conventional one, respectively. When one traffic class violates the contract, the proposed fuzzy logic mechanism shows that it can control the effect of the excessive cells and still maintain the QoS of the other traffic class in the finest level when compared to the other mechanisms. The proposed fuzzy logic mechanism also has a fast responsiveness, that is, it firstly detects cell violations 26% faster than the other mechanisms. | en |
dc.format.extent | 1697749 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เอทีเอ็ม (การสื่อสารข้อมูล) | en |
dc.subject | โทรคมนาคม | en |
dc.title | การควบคุมถังรั่วแบบลำดับความสำคัญด้วยฟัซซีลอจิกสำหรับการตรวจทราฟฟิกในโครงข่ายเอทีเอ็ม | en |
dc.title.alternative | Control of a priority leaky bucket with fuzzy logic for policing traffic in an ATM network | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมไฟฟ้า | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kittiphong.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.