Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1211
Title: | ผลของความขรุขระของผิวตอม่อสะพานต่อหลุมกัดเซาะ |
Other Titles: | Effects of bridge pier surface roughness on pier scour holes |
Authors: | เอกนันท์ ตั้งธีระสุนันท์, 2520- |
Advisors: | เสรี จันทรโยธา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การกัดเซาะ (วิศวกรรมชลศาสตร์) การกัดเซาะสะพาน |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาผลของค่าความขรุขระของตอม่อสะพาน ที่เปลี่ยนไปกับความลึกหลุมกัดเซาะของตอม่อทรงกระบอก และศึกษาถึงอิทธิพลของค่าเรย์โนลด์นัมเบอร์ ฟรูดนัมเบอร์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของตอม่อ, ความลึกการไหล และวัสดุท้องน้ำ ที่มีผลต่อความลึกหลุมกัดเซาะดังกล่าว การศึกษาใช้ตอม่อรูปทรงกระบอก 3 ขนาด ได้แก่ 3.40 ซม. 4.80 ซม. และ 6.00 ซม. และวัสดุท้องน้ำเป็นทรายขนาดสม่ำเสมอ 3 ขนาด ได้แก่ 0.36 มม. 120 มม. และ 2.20 มม. โดยจำลองลักษณะความขรุขระของผิวตอม่อด้วยกระดาษทราย ที่มีในท้องตลาด 3 ขนาด และทรายสม่ำเสมอขนาด 1.20 มม. หนึ่งขนาด ซึ่งได้ทดลองหาค่าความขรุขระของกระดาษทรายเป็น 0.0883 มม. 0.1178 มม และ 0.4416 มม. ตามลำดับ ทดลองในสภาพการไหลสม่ำเสมอที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย เป็นไหลใต้วิกฤติ และภายใต้สภาวะไม่มีการเคลื่อนที่ของตะกอนท้องน้ำ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ความลึกหลุมกัดเซาะมีความสัมพันธ์กับความลึกการไหล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของตอม่อ เรย์โนลด์นัมเบอร์ของตอม่อ ฟรูดนัมเบอร์ และค่าความขรุขระของผิวตอม่อ และจากการศึกษาพบว่า ขนาดหลุมกัดเซาะของตอม่อที่ผิวมีค่าความขรุขระมาก จะมากกว่าขนาดหลุมกัดเซาะของตอม่อที่ผิวมีค่าความขรุขระน้อย โดยความลึกหลุมกัดเซาะของผิวตอม่อที่เป็นกระดาษทราย มีความแตกต่างจากตอม่อผิวเรียบประมาณ 10, 13 และ 15 เปอร์เซ็นต์ สำหรับค่าความขรุขระ 0.0883 มม., 0.1178 มม. และ 0.4416 มม. ตามลำดับ |
Other Abstract: | Local scour at circular piers with different pier surfacs was studied experimentally in order to investigate the effects of pier surface roughnesses on the depth of scour. The effects of the Reynolds number, Froude number, pier diameters, approach and bed material size on pier scour depth were also investigated: Three different sizes of circular pier with diameters of 3.40 cm., 4.80 cm., and 6.00 cm. were used in this study. Bed materials used were three uniform-sized sands with grain diameters of 0.36 mm., 1.20 mm., and 2.20 mm., respectively. The pier surface roughnesses used in this study were three commercially available sand papers and one 1.20 mm. uniform-sized sand. The roughness heights of the used sand papers obtained experimentally in the laboratory were 0.0883 mm., 0.1178 mm., and 0.4416 mm. The experiments were conducted under steady, gradually varied flow, subcritical flow, and clear water scour conditions. The experiment results showed that the depth of scour holes correlate with approach flowdepth, pier diameter, pier Reynolds number, Froude number, and pier surface roughness. It was also found that pier scour holes of higher surface roughness height were deeper than lower surface roughness height. The percents difference between the unroughened pier surface and three roughened pier surfaces with sand papers were about 10, 13, and 15 for surface roughnesses of 0.0883 mm., 0.1178 mm., and 0.4416 mm., respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมแหล่งน้ำ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1211 |
ISBN: | 9740317405 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ekanan.pdf | 3.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.