Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12171
Title: ผลของโปรแกรมการลดความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่บ้าน
Other Titles: The effect of risk reduction program on fall prevention behaviors of elderly at home
Authors: ชุลี ภู่ทอง
Advisors: พิชญาภรณ์ มูลศิลป์
วราภรณ์ ชัยวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ผู้สูงอายุ
การหกล้มในผู้สูงอายุ
พฤติกรรมสุขภาพ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ระหว่างก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการลดความเสี่ยง หลังสิ้นสุดโปรแกรมการลดความเสี่ยงมาแล้ว 2 สัปดาห์ และหลังสิ้นสุดโปรแกรมการลดความเสี่ยงมาแล้ว 4 สัปดาห์ ใช้แบบแผนการวิจัยชนิด Pre-experimental design แบบกลุ่มเดียววัด 3 ครั้ง โดยวัดก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม และหลังสิ้นสุดการเข้าร่วมโปรแกรม 2 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน หมู่บ้านหนองรี จังหวัดราชบุรี ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก รวมทั้งสิ้น 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมการลดความเสี่ยง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Bonferoniʼs test ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการลดความ เสี่ยง หลังสิ้นสุดโปรแกรมการลดความเสี่ยงมาแล้ว 2 สัปดาห์ และหลังสิ้นสุดโปรแกรมการลดความเสี่ยงมาแล้ว 4 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มหลังสิ้นสุดการเข้าร่วมโปรแกรมมาแล้ว 2 สัปดาห์ สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าหลังสิ้นสุดการเข้าร่วมโปรแกรมมาแล้ว 4 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับเดียวกัน ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มหลังสิ้นสุดการเข้าร่วม โปรแกรมมาแล้ว 4 สัปดาห์ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการลดความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To compare fall prevention behaviors of elderly between before receiving risk reduction program, 2 and 4 weeks after receiving the intervention. One group repeated measures design was utilized. Data were collected at three points of time; pre-test, 2 and 4 weeks after the intervention. Using the Fall Prevention Behaviors of elderly questionnaire with Cronbach's alpha of .77. The conveneint sample of this study consisted of 30 elders residing in Nongree district, Ratchburi province. Data were analyzed using repeated measures ANOVA. Pairwise comparison were condutced using Bonferoni's. Major findings were as follows 1. Fall prevention behaviors of elderly before receiving the risk reduction program, 2 weeks and 4 weeks after receiving the program was significantly different. (p<.05). 2. Two weeks after receiving the program, fall prevention behaviors of the elderly was significantly higher than those of the elderly before receiving the intervention as well as 4 weeks after (p<.05). Fall prevention behaviors of elderly after participating in the program 4 weeks was also significantly higher than those of elderly before participating in the intervention (p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12171
ISBN: 9741727917
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chulee.pdf901.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.