Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12190
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนวลน้อย ตรีรัตน์-
dc.contributor.authorนภัสวรรณ บุญอยู่-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2010-03-15T03:12:14Z-
dc.date.available2010-03-15T03:12:14Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741732937-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12190-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractวิเคราะห์ถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายด้านโครงสร้างสาธารณูปโภค ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประเภทดังกล่าว โดยการศึกษาครอบคลุมช่วงปีงบประมาณ 2540-2543 มีการเก็บข้อมูล 2 ระดับคือ การสัมภาษณ์เจาะลึก และเก็บข้อมูลการใช้จ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 1 จำนวน 30 แห่ง เพื่อนำมาใช้ในแบบจำลองสำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดสรรงบ ประมาณ ด้วยวิธีการกำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนพบว่า ประชาชนยังขาดการมีส่วนร่วมในการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในระดับต่างๆ แม้จะมีกลไกทางกฎหมายรองรับ โดยมีสาเหตุมาจากทัศนคติเชิงลบของผู้บริหาร การแทรกแซงจากนักการเมืองและกลุ่มอิทธิพล ความไม่จริงใจในการเปิดเผยข้อมูล และประชาชนขาดความสนใจต่อการมีส่วนร่วม สำหรับผลการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายแต่ละประเภทพบว่า รายจ่ายด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคเป็นประเภทรายจ่ายที่มีความสำคัญอย่างมาก โดยในแต่ละปีมีสัดส่วนรายจ่ายด้านนี้มากกว่า 70% ของรายจ่ายเพื่อการพัฒนาทั้งหมดแต่มีแนวโน้มลดจำนวนลงอย่างชัดเจน รายจ่ายด้านเศรษฐกิจยังคงมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย โดยในแต่ละปีงบประมาณองค์การบริหารส่วนตำบลมีรายจ่ายด้านนี้น้อยกว่า 10% แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนรายจ่ายด้านสังคมมีสัดส่วนการใช้จ่ายไม่แน่นอนอยู่ระหว่าง 10-25% และมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน เนื่องจากระยะเวลาที่ศึกษาเป็นช่วงเริ่มต้นการวางพื้นฐานการให้บริการด้าน นี้ ผลการทดสอบสมการประมาณค่ารายจ่ายงบประมาณพบว่า ในปีงบประมาณ 2540 ตัวแปรภาษี จำนวนประชากร รายได้ประชากร และเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทุกตัวแปรไม่มีความสัมพันธ์กับรายจ่ายด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคอย่างมีนัย สำคัญ แตกต่างจากปีงบประมาณ 2543 ที่ตัวแปรภาษีและตัวแปรรายได้ประชากรมีความสัมพันธ์กับรายจ่ายด้านนี้ อย่างมีนัยสำคัญและมีทิศทางเดียวกัน สำหรับรายจ่ายด้านเศรษฐกิจพบว่า ทั้งปีงบประมาณ 2540 และ 2543 ตัวแปรทุกตัวที่นำมาศึกษาได้แก่ตัวแปรภาษี จำนวนประชากร รายได้ประชากร และเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ไม่มีความสัมพันธ์กับงบประมาณรายจ่ายด้านเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนรายจ่ายด้านสังคมพบว่า ในปีงบประมาณ 2540 ตัวแปรภาษีและตัวแปรรายได้ประชากร มีความสัมพันธ์กับรายจ่ายด้านสังคมอย่างมีนัยสำคัญและมีทิศทางเดียวกัน แต่ในปีงบประมาณ 2543 มีเพียงตัวแปรภาษี ที่มีความสัมพันธ์กับรายจ่ายด้านสังคมอย่างมีนัยสำคัญและมีทิศทางเดียวกันen
dc.description.abstractalternativeTo analyze the role of public participation in the operation of the Tambon Administrative Organization according to the Constitutional Law of the Kingdom of Thailand (B.E. 2540), to discuss the structure of expenditure allocation of the Tambon Administrative Organization including infrastructure budget, economic budget and social welfare budget, and to analyze factors influencing expenditure allocation. The data include the expenditure during B.E. 2540-2543. The cross section data of 30 the 1st level Tambon Administrative Organization were used. The results indicated a low level of participation from citizen in the operation of the Tambon Administrative Organization even with supporting legislation mechanics. The causes of such issue due to management pessimism, intervention from influence groups, information disclosure, as well as the citizen's own ignorance to participate. For the expenditure structure during B.E. 2540-2543, the study showed that the budget of infrastructure tended to be dramatically lessen, but economic budget tended to increase continuously while social welfare budget was unclear. The results from the econometric model showed that all variables (tax, population, income, grant) have not influenced on B.E. 2540ʼs infrastructure budgeting policies significantly. But in B.E. 2543, taxes and income variable influence the budget on infrastructure significantly. While none of the variables seemed to have any influence on the economic budget both in B.E. 2540 and B.E. 2543. For the budget on social welfare function, taxes and income have determined on the B.E. 2540 social welfare budget, however, only tax variables appeared to have influences on B.E. 2543 policies.en
dc.format.extent1184005 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.609-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบล -- งบประมาณen
dc.subjectการคลังท้องถิ่น -- ไทยen
dc.subjectงบประมาณen
dc.titleการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนen
dc.title.alternativeAllocation of public expenditure of Tambon Administrative Organization and public participationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.author[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.609-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Napatwan.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.