Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12243
Title: ผลของน้ำมันระเหยจากใบของต้นหัสคุณใหญ่ต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ
Other Titles: Effects of volatile oil from the leaves of clausena anisata hook on smooth muscle contraction
Authors: ประภัค ศรีกิติกุลชัย
Advisors: จันทนี อิทธิพานิชพงศ์
นิจศิริ เรืองรังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: น้ำมันหอมระเหย
กล้ามเนื้อเรียบ -- การหดตัว
หัศคุณ (พืช)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาฤทธิ์เบื้องต้นทางเภสัชวิทยาของน้ำมันระเหยจากใบของต้นหัสคุณใหญ่ ต่อสำไส้เล็กส่วน jejunum ของกระต่าย สำไส้เล็กส่วน ileum ของหนูตะเภา กระเพาะอาหารส่วน fundus ของหนูขาว หลอดลมของหนูตะเภา และหลอดเลือดแดงใหญ่ของหนูขาวที่แยกออกจากกาย พบว่าสารละลายของน้ำมันระเหยความเข้มข้นแบบสะสม (5x10[superscript -5]-3.2x10[superscript -3]%v/v) กระตุ้นให้กล้ามเนื้อเรียบของทุกอวัยวะที่ทดสอบเกิดการหดตัวเพิ่มขึ้น การหดตัวสูงสุดพบในหลอดเลือดแดงใหญ่หนูขาว (47.03%: EC[subscript 50] = 1.28x10[superscript -2]%v/v) รองลงมาคือ สำไส้เล็กส่วน lieum ของหนูตะเภา (39.40%: EC[subscript 50] = 9.60x10[superscript -3]%v/v) กระเพาะอาหารส่วน fundus ของหนูขาว (26.19%: EC[subscript 50] = 8.19x10[superscript -1]%v/v) หลอดลมของหนูตะเภา (15.78%) และลำไส้เล็กส่วน jejunum ของกระต่าย (4.99%) ตามลำดับ การทดสอบกลไกการออกฤทธิ์ของน้ำมันระเหยจากใบของต้นหัสคุณใหญ่ ที่สัมพันธ์กับกลไกของตัวรับในระบบประสาทพาราซิมพาเธติค โดยใช้สารละลาย atropine พบว่าในลำไส้เล็กส่วน ileum ของหนูตะเภา และลำไส้เล็กส่วน jejunum ของกระต่าย atropine ไม่มีผลต่อการหดตัวที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นด้วยน้ำมันระเหยจากใบของต้นหัส คุณใหญ่ ในขณะที่หลอดลมของหนูตะเภาการให้ atropine (1x10[superscript -7] และ 1x10[superscript -6]M) แสดงให้เห็นถึงการคลายตัวแม้ว่าการคลายตัวนั้นมีความแตกต่างอย่างไม่มีนัย สำคัญทางสถิติ ส่วนในกระเพาะอาหารส่วน fundus ของหนูขาวการให้ atropine (1x10[superscript -7] และ 1x10[superscript -6]M) มีผลยับยั้งการหดตัวที่เกิดจากน้ำมันระเหยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการทดสอบกลไกการออกฤทธิ์ของน้ำมันระเหยจากใบของต้นหัสคุณใหญ่ ที่สัมพันธ์กับกลไกของตัวรับในระบบประสาทซิมพาเธติคโดยใช้สารละลาย prazosin (1x10[superscript -7]M) พบว่าการหดตัวของหลอดเลือดแดงใหญ่หนูขาวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทดสอบแหล่งของแคลเซียมที่เกี่ยวข้องกับการหดตัวที่เกิดจากน้ำมันระเหย พบว่าการหดตัวของหลอดเลือดแดงใหญ่ของหนูขาวอาศัยแคลเซียมจากภายนอกเซลล์ผ่าน ทาง calcium channel เนื่องจาก verapamil และสารละลาย calcium free Krebs-Henseleit medium สามารถยับยั้งการหดตัวที่เกิดจากน้ำมันระเหยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการทดลองสรุปได้ว่าน้ำมันระเหยที่สกัดได้จากใบของต้นหัสคุณใหญ่ กระตุ้นให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว โดยมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานผ่านกลไกของตัวรับในระบบประสาทพาราซิมพาเธติ ค และระบบประสาทซิมพาเธติคและแคลเซียมจากภายนอกเซลล์ มีบทบาทในการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยน้ำมันระเหย
Other Abstract: Preliminary study of the pharmacological action of volatile oil from the leaves of clausena anisata Hook. was carried out in various smooth muscle preparations. Cumulative doses of the essential oil (5x10[superscript -5]-3.2x10[superscript -3]%v/v) stimulated the contractile response of all smooth muscle preparation. The highest stimulation was found in isolated rat aorta (47.03%, EC[subscript 50] = 1.28x10[superscript -2]%). The others were guinea-pig ileum (39.40%: EC[subscript 50] = 9.60x10[superscript -3]%) rat fundus (26.19%: EC[subscript 50] = 8.19x10[superscript -1]%) guinea-pig trachea (15.78%) and rabbit jejunum (4.99%). These spasmodic effects were investigated through autonomic receptors. The result demonstrated that atropine was not able to attenuate the stimulation effect of the essential oil on the isolated rabbit jejunum and guinea-pig ileum while the inhibitory effects of atropine (1x10[superscript -7] and 1x10[superscript -6]M) were prominently found in the contraction induced by the essential oil on rat fundus. Relaxation effect was insignificantly shown in guinea-pig trachea after exposure to atropine. Sympathetic mechanism of the essential oil was confirmed in rat aorta since prazosin (1x10[superscript -7]M) reduced the contractile response produced by the essential oil significantly. The source of calcium ion responsible for the essential oil-induced aortic contraction was elucidated. It was shown that verapamil and calcium free Krebs-Henseleit medium could suppress the aortic contraction evoked by the essential oil. All these results could be concluded that the essential oil from the leaves of clausena anisata possessed smooth muscle stimulation effect partly through sympathetic and parasympathetic receptors.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12243
ISBN: 9741730322
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Papat.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.