Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12537
Title: การวิเคราะห์บทบาททางเพศในรายการทอล์คโชว์และวาไรตี้โชว์ ทางโทรทัศน์ไทย
Other Titles: Sex-Role analysis in talk show and variety show on television in Thailand
Authors: อาทิตา ชิวปรีชา
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สื่อมวลชนกับสตรี
บทบาทตามเพศ
ทอล์คโชวส์
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์บทบาททางเพศผ่านเนื้อหารายการโทรทัศน์ประเภททอล์คโชว์ และวาไรตี้โชว์ของประเทศไทยที่ออกอากาศช่วงเดือนมิถุนายน 2540-เดือนสิงหาคม 2540 เพื่อศึกษาถึงเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอรายการดังกล่าว เพื่อนำมาสู่ข้อสรุปว่าสื่อมวลชนได้มีบทบาทในการส่งเสริมความสัมพันธ์ ที่เท่าเทียมกัน ระหว่างหญิงชายได้มากน้อยเพียงใด ผลการศึกษาเนื้อหาเพื่อการพัฒนาสตรีพบว่า รายการทอล์คโชว์และวาไรตี้ ที่นำเสนอทางโทรทัศน์ไทย มีการนำเสนอเนื้อหาเพื่อการพัฒนาสตรีระดับโลกภายนอกมากที่สุด รองลงมาคือ การพัฒนาระดับครอบครัว และการพัฒนาระดับตนเอง อย่างไรก็ตามเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสตรีและหน้าที่การงาน เป็นหัวข้อที่ปรากฏแทรกอยู่ในเนื้อหา เพื่อการพัฒนาสตรีทั้งสามระดับ ส่วนการวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับบทบาททางเพศพบว่า เนื้อหาที่เกี่ยวข้องทั้งสองเพศมีจำนวนมากที่สุด และเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสตรีมีปรากฏน้อยที่สุด ผลการศึกษารูปแบบการนำเสนอพบว่า รายการประเภทดังกล่าวมีลักษณะสุนทรียะทางเพศ เป็นรายการแบบ "เพศหญิง" มากที่สุด รองลงมาตามลำดับคือ รายการที่มีสองเพศและรายการเพศชาย และเมื่อศึกษาปริมาณตัวละครในรายการก็พบว่า รายการส่วนใหญ่นำเสนอตัวละครเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างเพศของตัวละครและสุนทรียะทางเพศ ของรายการแต่อย่างใด ส่วนฉากที่ปรากฏในรายการ เป็นฉากที่แสดงพื้นที่ของเพศชายมากที่สุด แม้แต่ในรายการที่มีสุนทรียะแบบสตรีเพศ สำหรับปริมาณพิธีกรและผู้ช่วยพิธีกรในรายการนั้นพบว่า มีจำนวนเพศชายมากกว่าเพศหญิง สำหรับพิธีกรหญิงที่มีบทบาทโดดเด่นในรายการ ต้องแสดงบทบาททางเพศแบบผสมเท่านั้น ส่วนแขกรับเชิญและผู้ร่วมรายการก็เป็นผู้ชายมากกว่า อีกทั้งยังได้รับบทบาทตัวละครสำคัญมากกว่า อาชีพบริหารยังคงเป็นอาชีพของผู้ชาย และอาชีพบริการเป็นของผู้หญิง อย่างไรก็ดียังมีการนำเสนอสตรีที่มีอาชีพบริหาร มากกว่าบริการปรากฏให้เห็น นอกจากนี้ฐานะในรายการของแขกรับเชิญ และผู้ร่วมรายการเพศชายยังอยู่ในฐานะผู้กระทำมากกว่าเพศหญิง ในขณะที่เพศหญิงยังคงตกอยู่ในฐานะผู้ถูกกระทำ อย่างไรก็ดี แขกรับเชิญและผู้ร่วมรายการที่เป็นสตรี ได้แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากบทบาททางเพศตามแบบฉบับ ไปสู่บทบาททางเพศที่ไม่เป็นแบบฉบับ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าผู้ชาย สรุปได้ว่ารายการทอล์คโชว์และวาไรตี้โชว์ทางโทรทัศน์ไทย มีส่วนทั้งส่งเสริมและไม่ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชายคือ ในส่วนที่ส่งเสริมความเท่าเทียมกัน เป็นเรื่องของเนื้อหาในรายการ ที่นอกจากจะช่วยเปิดโลกทัศน์ให้ผู้หญิงแล้ว ยังทำให้ทั้งผู้หญิง และผู้ชายได้รับรู้ เข้าใจ เรื่องราว และบทบาทหน้าที่ของกันและกัน แต่ทว่าวิธีการนำเสนอของรายการประเภทนี้ยังมีลักษณะที่ให้ความสำคัญกับเพศชายมากกว่า
Other Abstract: To analyse sex-role through contents and forms of 8 talk shows and 6 variety shows on television in Thailand, which were on-aired during June-August 1997. The analysis on the content programs upon the development levels and progress of Thai woment revealed that the social-development issues were the most frequently broadcasted issues while the family-development ones were the second and the self-development issues were the last. Also, the contents was analyzed by the gender-related criteria. It was found that the most frequent issues were the two-gender-related while the women issues were the least. The programs' forms of presentation were mostly characterized to the female aesthetic then to the both-sex and male programs in order. Regarding the number of characters, males mainly outnumbered females, however, no relationship was found between sex of the characters and the programs' characteristics. Moreover, the scenes of the programs, predominantly represented male arena, even the female aesthetic program. The amounts of male hosts and co-hosts exceeded the female. In case of women hosts, they prefered to presented their mixed sex-roles in the program. The male guests exposed more than female as well as mostly served as the main characters in the programs. With regards to the career of guests, the executives were reserved for men while the women engaged in the services. Anyhow, among working women, female executives were on the programs more often than the services. Furthermore, men were presented as the experts of the programs while women played the role as victims. However, the proportion of the non-stereotyped sex-roles vis-a-vis the stereotyped ones, among women groups is higher than those of men. All results of this research brought to the conclusion that talk show and variety show in Thailand promoted and simultaneously obstructed the equality of men and women. It is because the contents of the programs helped widen women's vision and promote the mutual understanding between males and females. On the contrary, the forms of program presentation primarily focused on male importance.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12537
ISBN: 9746383736
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atita_Ch_front.pdf534.91 kBAdobe PDFView/Open
Atita_Ch_ch1.pdf796.12 kBAdobe PDFView/Open
Atita_Ch_ch2.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Atita_Ch_ch3.pdf675.06 kBAdobe PDFView/Open
Atita_Ch_ch4.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open
Atita_Ch_ch5.pdf705.86 kBAdobe PDFView/Open
Atita_Ch_back.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.