Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12588
Title: การประเมินการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางในผู้ป่วยผู้ใหญ่ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Evaluation of total parenteral nutrition administered via a central venous catheter in adul patients at Chulalongkorn Hospital
Authors: กุลธิดา ไชยจินดา
Advisors: อภิฤดี เหมะจุฑา
มนต์ชัย ชาลาประวรรตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การให้อาหารทางหลอดเลือด
โภชนาการ
โภชนบำบัด
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ เลือกให้ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นเท่านั้น การให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดผลแทรกซ้อนได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อประเมินการให้สารอาหารทั้งหมด ทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยผู้ใหญ่เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ในแง่การสั่งใช้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำอย่างเหมาะสม ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ศึกษาในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับสารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน สัมภาษณ์ และติดตามลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยจำนวน 108 ราย เป็นชายร้อยละ 63.9 (69 ราย) และหญิงร้อยละ 36.1 (39 ราย) อายุเฉลี่ยของผู้ป่วย 57.6 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 67.6 (73 ราย) เป็นโรคมะเร็ง เหตุผลส่วนใหญ่ของการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ คือ เกิดภาวะอุดตันของลำไส้ร้อยละ 33.3 (36 ราย) และได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกร้อยละ 13.0 (14 ราย) ผู้ป่วยได้รับสารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำเป็นระยะเวลาเฉลี่ย 17.2 วัน ร้อยละ 66.7 ของผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ (72 ราย) เป็นผู้ป่วยแผนกศัลยกรรม มีการบันทึกข้อมูลที่อาจใช้ในการประเมินภาวะโภชนาการ โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยร้อยละ 67.6 (73 ราย) โดย การตรวจร่างกายร้อยละ 56.5 (61 ราย) โดยการชั่งน้ำหนักของผู้ป่วยร้อยละ 79.6 (86 ราย) และโดยวัดระดับอัลบูมินในเลือดร้อยละ 85.2 (92 ราย) ผู้ป่วยร้อยละ 66.7 (72 ราย) มีสภาวะทางคลินิกที่มักได้รับประโยชน์จากการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วย 83 ราย (ร้อยละ 76.8) ประมาณปริมาณพลังงานที่ผู้ป่วยควรได้รับจากน้ำหนักของผู้ป่วย ร้อยละ 39.8 (43 ราย) ได้รับพลังงาน จากคาร์โบไฮเดรตตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ร้อยละ 30.5 (33 ราย) ได้รับพลังงานจากไขมันตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น และร้อยละ 33.3 (36 ราย) ได้รับโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่เจาะจงเพื่อติดตามการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 36.1 (39 ราย) มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยร้อยละ 28.7 (31 ราย) มีระดับอัลบูมินเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยร้อยละ 70.4 (76 ราย) สามารถกลับมาให้อาหารทางระบบเดินอาหารได้ การใช้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำยังไม่เหมาะสม เมื่อพิจารณาในเรื่องของข้อบ่งชี้ ข้อห้ามใช้สัมพันธ์และการกำหนดความต้องการสารอาหารที่ผู้ป่วยควรได้รับ รวมทั้งการประเมินสภาวะทางโภชนาการที่อาจยังไม่เพียงพอ การติดตามผู้ป่วยด้วยผลทางห้องปฏิบัติการต้องการติดตามสภาะของโรคมากกว่าเจาะจงติดตามผลของการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ
Other Abstract: Total parenteral nutrition is indicated in certain circumstances. The used of total parenteral nutrition is expensive and may carry complications. The purpose of this study was to evaluate how appropriately was the use of total parenteral nutrition in adults according to the standard. Safety and effectiveness were also included. The study was performed prospectively in all patients who received total parenteral nutrition at Chulalongkorn hospital during December 1997 to May 1998. Informations were collected from patient's medical record, by interviewing and monitoring of clinical signs. 108 patients were included, 63.9%(69 cases) were men and 36.1% (39 case) were women. The mean age of the patients was 57.6 years. 67.7% (73 cases) had cancer. The major indications for total parenteral nutrition were gut obstruction (33.3 % (36 cases)) and peripheral blood stem cell transplant (13.0% (14 cases)). The mean length of total parenteral nutrition therapy was 17.2 days. 66.7% (72 cases) were admitted to surgical wards. Information, that might be use for nutritional assessment, was gathered by mean of interview 67.6% (73 cases), 56.5% (61 cases) by physical examination, 79.6% (86 cases) assessment of weight loss and 85.2% (92 cases) by level of serum albumin. 66.7% (72 cases) were categorized as parenteral nutrition helpful. 83 cases (76.8%) used weight to estimate energy requirement, 39.8% of these patients (43 cases) received appropriate carbohydrate content whereas, 30.5% (33 cases) had for fat calories and 33.3% (36 cases) for protein. Laboratory monitoring in most patients was not specific for total parenteral nutrition therapy. Positive outcome parameters for total parenteral nutrition patients included : weight gain 36.1% (39 cases), increase of serum albumin 28.7% (31 cases), and 70.4% (76 cases) were able to return to enteral nutrition. The use of total parenteral nutrition therapy in this study, in general, was not appropriate as judged by indication, relative contraindication and nutrition requirement. In addition, nutritional assessment was not adequate. Monitoring by laboratory parameter in these patients was aimed for progress of the disease rather than for the adequacy of total parenteral nutrition itself.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12588
ISBN: 9746395572
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kultida_Ch_front.pdf651.95 kBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ch_ch1.pdf543.38 kBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ch_ch2.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ch_ch3.pdf331.4 kBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ch_ch4.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ch_ch5.pdf853.69 kBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ch_back.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.