Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12596
Title: ทัศนคติของผู้บริโภคต่องานโฆษณาทางโทรทัศน์ ที่ใช้เด็กทารกเป็นผู้แสดงนำ
Other Titles: Consumers' attitudes towards television commercials featuring infant presenters
Authors: น้ำฝน ปัตระประกรณ์
Advisors: วิฏราธร จิรประวัติ, ม.ล.
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: นักแสดงในงานโฆษณา
โฆษณาทางโทรทัศน์กับเด็ก
ทัศนคติ
ทารก
การวิเคราะห์เนื้อหา
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประเภทของสินค้า ลักษณะรูปแบบของโฆษณา และกลุ่มเป้าหมายของโฆษณาที่ใช้เด็กทารกเป็นผู้แสดงนำ โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งแบ่งออกเป็นการวิเคราะห์เนื้อหางานโฆษณาและการสนทนากลุ่ม แนวคิดที่ใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติและแนวคิดเกี่ยวกับจุดจับใจทางจิตวิทยาในงานโฆษณา ซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้ กลุ่มเป้าหมายของสินค้าที่โฆษณาโดยใช้เด็กทารกเป็นผู้แสดงนำนั้นจะมีอายุประมาณ 15-40 ปี โดยแบ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่นทั้งชายและหญิง และกลุ่มวัยทำงาน ทั้งชายและหญิง ทั้งที่มีบุตรและไม่มีบุตร โดยกลุ่มที่มีบุตรซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโฆษณาสินค้าสำหรับทารกโดยตรงนั้นจะมีบุตรในวัยทารกหรือวัยเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี การโฆษณาสินค้าสำหรับทารกโดยตรงมักเน้นข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้าอย่างชัดเจน ในขณะที่โฆษณาสินค้าประเภทอื่นที่ใช้เด็กทารกแสดงนำนั้นมักบอกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเพียงเล็กน้อย แต่สิ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ การเน้นอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับความรักของพ่อแม่ต่อลูก จุดจับใจและเทคนิคการนำเสนอที่มักพบในงานโฆษณาที่ใช้เด็กทารกเป็นผู้แสดงนำ คือ จุดจับใจด้านข้อมูลข่าวสารหรือเหตุผล โดยใช้การสาธิต การใช้ผู้นำเสนอสินค้าหรือโฆษก การสื่อความหมายผ่านสัญญะ เป็นต้น และยังมีการใช้จุดจับใจด้านอารมณ์ เช่น จุดจับใจด้านอารมณ์ขัน และจุดจับใจอื่นๆ เช่น จุดจับใจเรื่องความรักที่พ่อแม่มีต่อลูกและจุดจับใจเรื่องความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งที่ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มชอบในงานโฆษณาที่ใช้เด็กทารกเป็นผู้แสดงนำ ได้แก่ ความน่ารักของเด็กทารกทั้งด้านหน้าตาและพฤติกรรม การนำเด็กทารกมาใช้ในทางที่แตกต่างจากโฆษณาโดยทั่วไปที่ใช้เด็กทารก ความรู้สึกอบอุ่นซาบซึ้งใจที่ได้จากโฆษณาและอารมณ์ขันหรือความผ่อนคลายที่ได้จากโฆษณา ส่วนสิ่งที่ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มไม่ชอบ ได้แก่ การที่เด็กทารกไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่โฆษณาหรือโฆษณาไม่ตรงจุด การทรมานเด็กหรือการบังคับเด็ก และความไม่ปลอดภัยของเด็ก และความตึงเครียดในโฆษณา ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมในการนำเด็กทารกมาใช้ในงานโฆษณาเมื่อโฆษณานั้นๆ เป็นโฆษณาสินค้าสำหรับทารกโดยตรง เมื่อโฆษณานั้นสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเด็กทารกกับผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน และการนำเด็กทารกมาใช้นั้นเข้ากับการดำเนินเรื่องโดยไม่ขัดกับความรู้สึกหรือเรียกความสนใจได้ดี แต่ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มส่วนใหญ่เห็นว่าการนำเด็กทารกมาใช้ในโฆษณาไม่เหมาะสมเมื่อโฆษณานั้นๆ ไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเด็กทารกกับผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจนเมื่อโฆษณานั้นๆ สะท้อนให้เห็นว่าเบื้องหลังการถ่ายทำมีการทรมานเด็ก หรือสภาพแวดล้อมในโฆษณาก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กทารกได้ เมื่อผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มเห็นว่าสถานการณ์นั้นๆ ไม่ตรงกับความเป็นจริง ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มเสนอแนะเกี่ยวกับงานโฆษณาต้องไม่เป็นการทรมานหรือส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็กทารกที่แสดงในโฆษณา และโฆษณาต้องเรียกความสนใจของคนดู
Other Abstract: The objectives of this research are to identify the products advertised, to analyse the characteristics of the commercials featuring infant presenters, to define the target consumers and to determine consumer's attitudes towards the commercials. Concepts on 'attitude' and 'psychological appeals in advertising' are applied in this qualitative research. The results of the research are as follows : The target consumers are aged between 15-40 years and can be divided into both male and female teenagers, adolescents, and adults. The latter are both single and married. The parent groups who have baby or young child aged under 6 are the target consumers of infant products. Most television commercials for infant products obviously emphasize on information about the product attributes, while other commercials featuring infant presenters give a little information. However, what seems to be in common is emotional emphasis on parental love. Psychological appeals and visual techniques usually found in the commercials are informational or rational appeal such as demonstration, spokesperson, and semiology ; emotional appeal such as humor appeal, and other appeals like parental appeal and safety appeal. Focus group participants like the physical attractiveness and the personalities of infant presenters, the extraordinary approaches of using infants, the warm feelings experienced, and the humor or detente. They dislike the irrelevance between the commercial content and the infant (s), the visuals that imply the act of forcing or endangering the infants, and the tension experienced. The focus groups considered the use of infants appropriate when it is an infant product commercial, when a commercial shows relevance between the infant presenters and the product, and when the use of infant harmonize with the plot or can well capture attention. However, the use of infant is considered inappropriate when the commercials cannot show relevance between the infant presenters and the product, when a commercial reflects the act of forcing or endangering the infants, and when the participants considered a commercial as untruthful.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12596
ISBN: 9746396676
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Namfon_Pa_front.pdf989.48 kBAdobe PDFView/Open
Namfon_Pa_ch1.pdf801.28 kBAdobe PDFView/Open
Namfon_Pa_ch2.pdf902.33 kBAdobe PDFView/Open
Namfon_Pa_ch3.pdf777.6 kBAdobe PDFView/Open
Namfon_Pa_ch4.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Namfon_Pa_ch5.pdf838.83 kBAdobe PDFView/Open
Namfon_Pa_back.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.