Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12774
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ | - |
dc.contributor.author | ธิติมา กลางกำจัด | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | นนทบุรี | - |
dc.date.accessioned | 2010-06-02T06:57:06Z | - |
dc.date.available | 2010-06-02T06:57:06Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12774 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | ชุมชนท่าทราย มีพื้นที่ว่างสาธารณะที่มีรูปทรงและการจัดวางตัวในลักษณะเดียวกับชุมชนชานเมืองทั่วไป กล่าวคือ เป็นลักษณะเปิดโล่ง กระจายตัวเลื่อนไหลอย่างต่อเนื่องโดยรอบสิ่งปลูกสร้างและทางสัญจร รวมทั้งมีพื้นที่ที่ถูกปิดล้อมโดยอาคารในบางส่วน ซึ่งมีผลทำให้พื้นที่ทัศนียภาพในการมองเห็นของแต่ละบริเวณ หรือพื้นที่ “สนามทัศน์” แตกต่างกันไปด้วย Benedikt (1976) มีแนวคิดเกี่ยวกับสนามทัศน์ว่า พฤติกรรมการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะของคนเดินเท้าจะสัมพันธ์กับระดับของสนามทัศน์ของพื้นที่นั้นๆ กล่าวคือ พื้นที่ที่มีสนามทัศน์กว้างมากมีแนวโน้มที่จะดึงดูดกิจกรรมหลากหลายประเภทของคนเดินเท้าหลากหลายกลุ่ม ในหลากหลายช่วงเวลา หรือเป็นพื้นที่ที่มีระดับ “ความเป็นอเนกประโยชน์” สูง และในทางกลับกัน พื้นที่ที่มีสนามทัศน์แคบหรือจำกัด ก็จะสามารถดึงดูดกิจกรรมของคนเดินเท้าได้ลดน้อยลง หรือเป็นพื้นที่ที่มีระดับ “ความเป็นอเนกประโยชน์” ต่ำด้วย เพื่อทดสอบแนวคิดดังกล่าวของ Benedikt ชุมชนท่าทราย ซึ่งเป็นชุมชนชานเมืองในเขตจังหวัดนนทบุรี ได้ถูกเลือกเป็นกรณีศึกษา โดยสร้างแผนที่การบันทึกรูปแบบการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะอย่างเป็นระบบ ในวัน และช่วงเวลาต่างๆ เปรียบเทียบกับแผนที่การวิเคราะห์ศักยภาพในการมองเห็นและเข้าถึง (สนามทัศน์) ของพื้นที่ว่างสาธารณะ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ที่มีสนามทัศน์ในระดับต่างๆ กับระดับความเป็นอเนกประโยชน์ในพื้นที่นั้นๆ ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่า ระดับสนามทัศน์มีความสัมพันธ์กับระดับความเป็นอเนกประโยชน์ในพื้นที่ว่างสาธารณะของชุมชนชานเมืองอย่างชุมชนท่าทรายเป็นอย่างมาก กล่าวคือ คนเดินเท้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่เอง มักใช้พื้นที่ที่มีสนามทัศน์กว้างในการสัญจรและการจับจองทำกิจกรรมต่างๆ แต่ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากพื้นที่ว่างสาธารณะหลักในชุมชนที่มีสนามทัศน์กว้างที่สุดนั้น ก็คือเส้นทางสัญจรหลัก ซึ่งมีอยู่เพียง 2 เส้น ได้แก่ ถนนเรวดี และซอยนนทบุรี 7 เท่านั้น รวมทั้งพื้นที่ว่างสาธารณะขนาดเล็กในชุมชนตลาดขวัญตั้งอยู่ริมน้ำซึ่งมีระดับสนามทัศน์ที่ดี ก็มีกิจกรรมการใช้พื้นที่ของคนเดินเท้าอย่างอเนกประโยชน์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การศึกษาในรายละเอียด พบว่า บางพื้นที่นั้นระดับสนามทัศน์ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับระดับความเป็นอเนกประโยชน์เสมอไป ตัวอย่างเช่น 1) พื้นที่ที่มีระดับสนามทัศน์ดีแต่มีประโยชน์การใช้อาคารเพียงประเภทเดียว เช่น ลานในวัดท้ายเมือง โรงเรียนศรีบุญยานนท์ มหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ นั้นมีการเข้าใช้พื้นที่โดยคนเดินเท้ามากเฉพาะบางช่วงเวลาเท่านั้น เช่นเวลาเข้า-พัก-เลิกเรียน จึงไม่ถือว่ามีระดับความเป็นอเนกประโยชน์สูง 2) พื้นที่ที่มีสนามทัศน์แคบและจำกัดอย่างถนนในหมู่บ้านณรงค์สุขนิเวศน์ซึ่งพบการเข้าใช้พื้นที่โดยคนเดินเท้ามากเฉพาะบางช่วงเวลาเช่นกัน เช่นตอนบ่าย-เย็นเมื่อคนในหมู่บ้านกลับจากโรงเรียนหรือที่ทำงาน เมื่อประมวลกับข้อมูลด้านประโยชน์การใช้ที่ดิน อาคาร และประเภทของพื้นที่ว่างที่แบ่งตามลักษณะเชิงสัณฐาน สรุปได้ว่า พื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนชานเมืองอย่างชุมชนท่าทราย นนทบุรีนั้นจะประสบความสำเร็จได้ ต้องเป็นพื้นที่ที่มีทั้งศักยภาพในการมองเห็นและเข้าถึง (สนามทัศน์) ที่ดี และประโยชน์การใช้อาคารอย่างผสมผสานหลากหลายด้วย | en |
dc.description.abstractalternative | Tha Sai community's public open spaces have typical spatial configuration characteristics as any other suburban communities, which are open, fragmented, continuingly fluided spaces around built structures including some enclosed spaces. These configurational properties affect the pedestrians' visual potentials or 'isovist fields' which Benedikt (1976) argued, would subsequently influence different moving and static activity patterns. That is, the area with a vast isovist field has a potential to attract multi-types of pedestrian and activity in various periods of time while on the contrary, the area with a smaller isovist field attracts the less 'mix'. To test Benedikt's idea, the study uses public open spaces in Tha Sai community, a suburban community in Nonthaburi Province as a case study. This is carried out by creating systematic space use pattern maps, comparing with isovist field maps to analyse their interrelationship. The analytical result shows that in general isovist fields very much correlate to the levels of mix-use. Most pedestrians who are local dwellers go about the area on a daily basis through its only two major routes; Rewadee and Nonthaburi 7 Roads, which have great isovist fields. The same observation also occurs in a small but vibrant and mix-use public space network within a waterfront Talad Kwan community which has a good isovist field. However, there are some areas that yield out the contradiction to Benedikt's idea such as 1) the areas with good isovist fields but surrounded by a single building use, for examples, Plaza in Wat Tai Mueang, sports ground in Sriboonyanon School, Plaza in Rajamangala University of Technology Suwarnabhum. These areas have high levels of pedestrian use but only of students and for some certain periods of time such as before-after school times and during the breaks. 2) the areas with rather confined isovist fields within Narongsook Nives Housing Estate which attract high levels of pedestrian use but again, only of the dwellers in afternoon-evening times when they are back from schools and workplaces. Synthesizing with the data on the area’s land use and building use patterns as well as the spatial typology of its public open spaces, the findings can be summarized that successful and popular public open spaces in Tha Sai community should have high potential of sight and access as well as surrounded mix building and land uses to ensure their vibrancy and levels of mix-use. | en |
dc.format.extent | 9267368 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.197 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | พื้นที่โล่ง | en |
dc.subject | การใช้ที่ดิน | en |
dc.title | สนามทัศน์และรูปแบบการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะของชุมชนชานเมือง : กรณีศึกษา ชุมชนท่าทราย นนทบุรี | en |
dc.title.alternative | Isovist fields and public open space use patterns of suburban community : a case study of Tha Sai community, Nonthaburi | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวางผังชุมชน | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.197 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thitima_kl.pdf | 9.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.