Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13014
Title: อิทธิพลของการขัดเกลาทางสังคมต่อการเป็นฆาตกร
Other Titles: The influences of socialization process on being pre-meditated murders
Authors: ทัชวัฒน์ สายโยธา
Advisors: งามพิศ สัตย์สงวน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สังคมประกิต
ฆาตกร
อาชญากร
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษา กระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการเป็นฆาตกร โดยมีสมมติฐาน 6 ข้อจากกลุ่มตัวแทนการขัดเกลาทางสัคม 6 กลุ่ม คือ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ โรงเรียน ศาสนา และสื่อมวลชน งานวิจัยนี้ศึกษาว่า การขัดเกลาทางสังคมของกลุ่มตัวแทน การขัดเกลาทางสังคมทั้ง 6 กลุ่มดังกล่าว มีอิทธิพลต่อการเป็นฆาตกรหรือไม่ และได้มีการเก็บข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานจากนักโทษในเรือนจำกลางบางขวาง ที่กระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาไตร่ตรองไว้ก่อน จำนวน 12 คน โดยใช้การวิจัยสนามทางมานุษยวิทยา ที่เน้นวิธีการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการศึกษาพบว่าเฉพาะสมมติฐานของกลุ่มเพื่อนเท่านั้น ที่มีอิทธิพลต่อการเป็นฆาตกร นอกจากนี้งานวิจัยยังได้ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ เกี่ยวกับลักษณะภูมิหลังและพฤติการณ์ของฆาตกร รวมทั้งได้ให้ข้อเสนอแนะที่มีคุณค่าทั้งในแง่ทฤษฎีและการปฏิบัติ
Other Abstract: The main objective of this study, the influences of socialization process on being pre-meditated murderers, is to see how the socializing processes effect the becoming of murderers with six hypotheses of six socializing agents namely, family, peer group, vocational group, school, religion, and mass media. The empirical data for testing the stated hypotheses were elicited by anthropological field work especially participant observation and in-depth interview of 12 Bangkwang pre-meditated prisoners. The results of which only the peer group hypothesis is strongly substantiated while the rest show light influences. The thesis contains, beside the proving of hypotheses, useful informations concerning the killers and their deeds as well as conclusion with valuable recommendations, theoretically and practivally.
Description: วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: มานุษยวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13014
ISBN: 9743339272
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Touchwat_Sa 1_front.pdf433.95 kBAdobe PDFView/Open
Touchwat_Sa 1_ch1.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Touchwat_Sa 1_ch2.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open
Touchwat_Sa 1_ch3.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open
Touchwat_Sa 1_ch4.pdf705.43 kBAdobe PDFView/Open
Touchwat_Sa 1_back.pdf560.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.