Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13497
Title: การศึกษารูปแบบการให้บริการคอมพิวเตอร์สำหรับนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานวิจัย
Other Titles: A Study of a model of computer services for students of Faculty of Education, Chulalongkorn University
Authors: ณรุทธ์ สุทธจิตต์
ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์
Email: [email protected]
[email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- นิสิต
คอมพิวเตอร์
การศึกษา -- การประมวลผลข้อมูล
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
Issue Date: 2551
Publisher: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สำรวจสภาพ ความต้องการ และปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ และนำเสนอรูปแบบแบบการให้บริการคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับนิสิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิต และผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางการศึกษา ในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 2,440 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของนิสิต และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามด้วยสถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นิสิตส่วนใหญ่พอใจกับสถานที่ตั้งห้องคอมพิวเตอร์และอุณหภูมิ/แสงสว่างของห้องคอมพิวเตอร์ในอาคาร 3 นอกจากนี้นิสิตยังมีความคิดเห็นว่า เวลาเปิด-ปิดให้บริการห้องคอมพิวเตอร์มีความเหมาะสม ในส่วนปัญหาที่พบจากการใช้บริการห้องคอมพิวเตอร์พบว่า สภาพเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมไม่ทันสมัย และมีเครื่องคอมพิวเตอร์เสียเป็นจำนวนมาก และจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไม่เพียงพอต่อจำนวนนิสิตในการใช้งาน เพราะติดการเรียนการสอน และในช่วงเวลาพักเที่ยงหรือในช่วงใกล้เวลาสอบมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ ในด้านสถานที่ตั้งของห้องคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมคือห้องอินเทอร์เน็ท ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางเดินซึ่งไม่สะดวกต่อการใช้งานของนิสิต นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการของบุคลากรซึ่งไม่เพียงพอต่อการดูแลห้องคอมพิวเตอร์ และการให้บริการนิสิต และควรปรับปรุงในด้านมนุษยสัมพันธ์ในการให้บริการ อีกทั้งควรเพิ่มเติมการดูแลเกี่ยวกับไวรัสที่ยังคงเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ และควรปรับปรุงราคาการให้บริการพริ้นเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้บริการของนิสิต ในด้านรูปแบบของห้องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมในอนาคตพบว่าควรมีห้องคอมพิวเตอร์ขนาดกลางจำนวน 4 ห้อง ในแต่ละห้องมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ห้องละ 40 เครื่อง เพื่อใช้ในการเรียนการสอน การปฏิบัติงานของนิสิต รวมไปถึงการประชุม/สัมมนาทางวิชาการ โดยนิสิตสามารถเข้าใช้บริการได้ในช่วงเวลา 7.00-20.00 น โดยจะมีเจ้าหน้าดูแลและให้บริการในแต่ละห้อง ซึ่งห้องคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะมีโปรแกรมการใช้งานพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสอนครบทุกเครื่อง และมีบริการจำหน่ายอุปกรณ์ที่จำเป็นเกี่ยวกับการใช้บริการคอมพิวเตอร์ในราคาที่เหมาะสม ในส่วนของห้องสมุดควรจัดห้องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง 1 ห้องๆ ละ 40 เครื่องเพื่อใช้ในการสืบค้นฐานข้อมูลหนังสือ วารสาร และงานวิจัย นอกจากนี้ควรจัดตั้งห้องคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับสาขาวิชาเฉพาะ ได้แก่ สาขาวิชาดนตรีศึกษา สาขาวิชาศิลปศึกษา สาขาวิชาวิจัยการศึกษา สาขาวิชาสถิติศึกษา และสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ซึ่งเป็นสาขาที่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเฉพาะทาง นอกจากนี้ทางคณะยังมีนโยบายในการให้บริการเช่า-ยืมโน้ตบุ๊ก เพื่อให้บริการแก่นิสิตอีกด้วย
Other Abstract: To survey the state and problems of computer services and students’ needs for computer use. Also the study aimed to propose a model of computer services students of Faculty of Education, Chulalongkorn University. The subjects were 2,440 students and 6 computer and educational technology experts from Faculty of Education, Chulalongkorn University. The data were collected from the students using questionnaires and from the experts using an interview protocol. The questionnaire data were analyzed by descriptive statistics and the interview data by content analysis. The results showed that most students were satisfied with the location, temperature and lighting of the computer rooms in Building 3. Also, they thought the operating hours of the computer rooms were appropriate. The problems reported were as follows. First, the computer machines and software programs were not up-to-date. Second, the number of computers was not enough due to several reasons such as a lot of computer machines were out of order, the computer rooms were used for classes, and there were too many users during lunch hours and during exam weeks. Third, the location of the Internet room was not suitable since it was located in the hallway area. Last, there was not enough staff to help in the computer rooms. Moreover, the data showed that the subjects wanted to see the following improvements. First of all, the staff should improve their service mind. Next, computer viruses should be better managed. Lastly, the printing fees should be reduced for students. The results of the study suggest the following model of computer services for Faculty of Education, Chulalongkorn University. There should be four middle-sized computer rooms containing 40 computer machines in each room for classes, student user, and meetings/seminars. The operating hours should be from 7.00 a.m. to 8.00 p.m. with full service staff. There should be basic software programs in every computer machine for class instruction. There should be computer accessories for sale with reasonable prices in the library, a middle-sized computer room with 40 computer machines should be set up for database search of books, journals, and research studies. There should also be separate computer rooms with specific software programs for these study programs: Music Education, Art Education, Educational Research, Educational Statistics, and Educational Measurement and Evaluation. Finally, there should be notebook computer rental service for students.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13497
ISBN: 9789740450047
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narutt_Com.pdf9.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.