Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13577
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุกฤษฏ์ แพทย์น้อย-
dc.contributor.authorพจมาน บุญไกรศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-10-04T02:39:41Z-
dc.date.available2010-10-04T02:39:41Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.isbn9741433042-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13577-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractภาพรวมของข้อถกเถียงเกี่ยวกับทรรศนะเรื่องเสรีภาพของคาร์ล มาร์กซ์ เป็นการเน้นไปที่เสรีภาพของชนชั้นกรรมาชีพ เพราะคำอธิบายเกี่ยวกับสภาวะไร้เสรีภาพของชนชั้นกรรมาชีพปรากฏอยู่ในงานเขียนของมาร์กซ์ ทั้งในงานเขียนยุคแรกและยุคหลังอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามมาร์กซ์ได้กล่าวไว้ในงานเขียนบางแห่งว่า ชนชั้นนายทุนก็ประสบกับสภาวะไร้เสรีภาพเช่นกันโดยที่ไม่ได้ให้คำอธิบายเพิ่มเติม ดังนั้นสภาวะไร้เสรีภาพจึงไม่ได้เป็นเพียงปัญหาของชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของชนชั้นนายทุนด้วยเช่นกัน จอร์จ จี. เบรนเคอร์ทเป็นนักวิชาการเพียงท่านเดียวที่กล่าวถึงสภาวะไร้เสรีภาพของชนชั้นนายทุน แต่เบรนเคอร์ทก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับสภาวะไร้เสรีภาพของชนชั้นนายทุนมาก เท่ากับสภาวะไร้เสรีภาพของชนชั้นกรรมาชีพ เบรนเคอร์ทอธิบายทรรศนะเรื่องเสรีภาพของมาร์กซ์ในลักษณะที่ทำให้แนวคิดเรื่องเสรีภาพ กับแนวคิดเรื่องความแปลกแยกไม่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากวิทยานิพนธ์เล่มนี้มีแนวคิดพื้นฐานว่า แนวคิดเรื่องความแปลกแยกไม่มีบทบาทในงานเขียนยุคหลังของมาร์กซ์ การวิเคราะห์ของเบรนเคอร์ทจึงทำให้แนวคิดเรื่องเสรีภาพไม่มีบทบาทในงานเขียนยุคหลังของมาร์กซ์ วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงเป็นการอธิบายสภาวะไร้เสรีภาพของชนชั้นนายทุน เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมของบทบาทของทรรศนะเรื่องเสรีภาพของมาร์กซ์ได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น โดยจะศึกษาจากงานเขียนยุคแรกและงานเขียนยุคหลังของมาร์กซ์ และใช้มโนทัศน์เรื่องชนชั้นเป็นพื้นฐานในการอธิบาย และจะแสดงให้เห็นว่าแนวคิดเรื่องเสรีภาพแตกต่างจากแนวคิดเรื่องความแปลกแยก แม้ว่าแนวคิดทั้งสองจะสามารถเชื่อมโยงกันได้ในบางลักษณะก็ตาม ข้อสรุปที่ได้ก็คือแนวคิดเรื่องเสรีภาพเป็นแนวคิดสำคัญ ที่มาร์กซ์ใช้เป็นพื้นฐานในการวิพากษ์สังคมทุนนิยมen
dc.description.abstractalternativeControversies concerning Marx’s conception of freedom place much emphasis on proletarian freedom because explanations about proletarian unfreedom clearly appear in both Marx’s early and later writings. However, Marx mentioned in some of his writings that the capitalist class also confronts the situation of unfreedom even though no explanations were given. Consequently, unfreedom seems to be not merely the proletariat’s problem, but also the capitalist class’s. George G. Brenkert is the only scholar who mentions capitalist unfreedom, but he did not focus on capitalist unfreedom as much as proletarian unfreedom. Brenkert explained Marx’s conception of freedom in the way which makes the concepts of freedom and alienation undistinguishable. Since the underlying idea of this thesis is that the concept of alienation plays no role in Marx’s later writings, Brenkert’s analysis obliterates the role of freedom in Marx’s later writings. This thesis aims to elucidate the capitalist class’s situation of unfreedom in order to present a more complete picture of the role of freedom in Marx’s thought by examining Marx’s early and later writings and using the concept of class as a basis of explanation. It will show that the concept of freedom is different from that of alienation even though they are related in a certain manner. As a result, freedom is a crucial conception which Marx used as a basis in criticizing capitalism.en
dc.format.extent937394 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1253-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectมาร์กซ์, คาร์ล, ค.ศ. 1818-1883en
dc.subjectเสรีภาพen
dc.titleทรรศนะเรื่องเสรีภาพของคาร์ล มาร์กซ์en
dc.title.alternativeKarl Marx's conception of freedomen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineปรัชญาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1253-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Potjamarn - Ka.pdf915.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.