Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13641
Title: การปรับปรุงการบริหารการดำเนินงานของโรงพิมพ์โดยการใช้การบริหารเชิงดุลยภาพ และแนวทางการบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ : กรณีศึกษา โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Operations management improvement of printing house by using balanced scorecard and economic value management guidelines : case study of Chulalongkorn University Printing House
Authors: ปิยวรรณ อยู่พรม
Advisors: ประเสริฐ อัครประถมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- การจัดการ
การวางแผนเชิงกลยุทธ์
ประสิทธิผลองค์การ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อจัดทำแผนการบริหารเชิงดุลยภาพระดับองค์กร ระดับฝ่าย และระดับแผนก ที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ การดำเนินงานของโรงพิมพ์ (2) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยการใช้แนวทางการบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเชื่อมโยงกับแผนการบริหารเชิงดุลยภาพเพื่อเพิ่มมิติในการบริหารจัดการได้อย่างครบถ้วน แนวทางในการดำเนินการทำวิทยานิพนธ์เริ่มจาก การเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษาวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ การดำเนินงานของโรงพิมพ์ การจัดทำแผนที่ทางกลยุทธ์ การกำหนดตัวชี้วัดระดับองค์กร โดยการวิเคราะห์และการเทียบวัดจากรายงานการวิจัย โครงการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อประเมินศักยภาพของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ การกระจายตัวชี้วัดระดับองค์กรไปยังระดับฝ่ายและระดับแผนก จากผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการบริหารเชิงดุลยภาพ โดยผู้จัดการและรองผู้จัดการของโรงพิมพ์นั้นได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.6 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5 คะแนน แสดงว่าแผนการบริหารเชิงดุลยภาพมีความเหมาะสมกับโรงพิมพ์มาก ส่วนของการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานที่มีความเชื่อมโยงกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโรงพิมพ์ เริ่มจากการวิเคราะห์ปัจจัยผลักดันกำไรเชิงเศรษฐศาสตร์ของโรงพิมพ์ ดำเนินโครงการลดระยะเวลาขั้นตอนก่อนพิมพ์ ผลการดำเนินโครงการพบว่า สามารถลดระยะเวลาในขั้นตอนก่อนพิมพ์ของชนิดงาน หนังสือจัดหน้าจากแผ่น แบบไม่มีปก ลดระยะเวลาขั้นตอนก่อนพิมพ์ได้ 9.79% หนังสือจัดหน้าจากแผ่น ปกทำอาร์ตใหม่ ลดระยะเวลาได้ขั้นตอนก่อนพิมพ์ได้ 7.55% งานสิ่งพิมพ์อื่นๆนอกเหนือจากหนังสือเล่มผู้รับบริการทำมาเอง ลดระยะเวลาได้ขั้นตอนก่อนพิมพ์ได้ 21.24% เป็นการแสดงถึงความสามารถในการลดความสูญเปล่าจากการดำเนินการผลิตไม่เหมาะสม ความสูญเปล่าจากงานเสีย และความสูญเปล่าจากการขนส่งได้ นอกจากนี้คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินความคิดเห็นต่อโครงการได้คะแนนเท่ากับ 3.97 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5 แสดงว่า โครงการมีคุณลักษณะตามหัวข้อประเมินมาก สามารถสร้างบรรยากาศในการติดต่อประสานงานระหว่างแผนกที่ชัดเจนขึ้น สุดท้ายผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการบริหารสินทรัพย์แก่โรงพิมพ์ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป
Other Abstract: The thesis focus on two objectives (1) to make the organizational level, the division level and the department level balanced scorecard related to the strategic plan and the operation of Chulalongkorn University printing house and (2) to improve the operation efficiency of the printing house by using economic value management guidelines linked to the balanced scorecard for management dimension completely. The procedure in this thesis approach started from collecting data, reviewing the vision, the strategy and the operation of the printing house, identifying the organizational KPI by benchmarking from the research report and analyzing that appropriate with the printing house environments and cascading the organizational KPI to the division level and the department level. The evaluation of the balanced scorecard by manager and manager assistant shows that the average score is 3.6 points by 5 points. That means that the balanced scorecard is much appropriate for the printing house. After that, the improvement of operation efficiency linked to the printing house value added started from analyzing the economic value driver tree and then doing the decreasing pre-press process time project. The evaluated result shows that the book which typesets from compact disc, the book which typesets from compact disc and new artwork and the other printed pre-press process time decreased 9.79%, 7.55% and 21.24%, respectively. According to the improvement of operation efficiency, the inappropriate process waste, defect waste and transportation waste are eliminated. Furthermore, the evaluation of the improvement by project team shows that the average score is 3.97 points by 5 points. This means that this project provides many characteristics of the evaluated topics and bring more clear communication atmosphere between departments. Finally, we provide asset management guidelines to the printing house for value added creation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13641
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1737
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1737
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawan_Yo.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.