Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13816
Title: กระบวนการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในประเทศไทย
Other Titles: Enforcement process of law concerning transnational organized crime in Thailand
Authors: เอกวัจน์ กมลเทพา
Advisors: ปารีณา ศรีวนิชย์
อุทัย อาทิเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาชญากรรมข้ามชาติ
การบังคับใช้กฎหมาย
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารอันทันสมัย องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติมีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นองค์กร ปฏิบัติงานกันอย่างมีเครือข่ายซับซ้อน รวมทั้งอาจมีผู้มีอิทธิพลในสังคมเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง เหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการนำองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติเหล่านี้มาลงโทษ และการดำเนินกิจกรรมขององค์กรอาชญากรรมในลักษณะที่ข้ามชาตินี้เอง ความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นเป็นวงกว้างสร้างความเดือดร้อนอย่างมากแก่ประชาคมโลก ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยผ่านสหประชาชาติซึ่งเป็นเวทีกลางของประชาคมโลก จึงได้มีการร่วมกันร่างอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ที่มีการจัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 เพื่อเป็นการกำหนดมาตรการและแนวทางให้ประเทศภาคีสมาชิก ได้นำไปเป็นแนวทางในการอนุวัติกฎหมายภายในของตนเพื่อส่งเสริมให้การป้องกัน และปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติพัฒนา และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เกี่ยวกับการที่ประเทศไทยในฐานะประเทศภาคคีสมาชิคของอนุสัญญาดังกล่าว จะนำเอาหลักเกณฑ์รวมทั้งมาตรการต่างๆในอนุสัญญาฉบับดังกล่าวมาอนุวัติเพื่อบังคับใช้ภายในประเทศนั้น ปัจจุบันรัฐบาลได้มอบหมายให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการยกร่างกฎหมายขึ้นฉบับหนึ่ง คือ ร่างพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. ... ซึ่งหากการร่างกฎหมายดังกล่าวได้มีการบัญญัติถึงนิยามความหมายของ “องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ” เอาไว้อย่างชัดเจน และได้มีการกำหนดถึงผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสืบสวนสอบสวนคดีความผิดทางอาญาที่กระทำลงโดยองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติเอาไว้ ตลอดจนวางมาตรการในการประสานความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานผู้มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้อย่างดีแล้ว ย่อมทำให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการป้องกัน และปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในประเทศไทย สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน
Other Abstract: Problems of transnational organized crime result from social, economic and telecommunication technology prosperity. Organized and operated in complicated network, and in some cases, influenced by high-status persons in the society, these make difficulties to penalize such crime. By its own nature, transnational organized crime can largely cause damages to many communities of the world. Therefore, United Nations, as an international forum, has adopted the United Nations Convention against Transnational Organized Crime in 2000 A.D., in order to provide to state parties measures and guidelines to promote prevention and suppression against transnational organized crime. Thailand, as a state party of the Convention, by Thai Government, in order to implement and apply the principles and measures of the Convention in Thailand, has delegated to the Office of Attorney-General to prepare a Bill of Transnational Organized Crime Act B.E. ... If the bill provides a clear definition of “transnational organized crime”, the investigation authority in charges of transnational organized crime and measures regarding cooperation between authorities, it will ensure effective prevention and suppression of transnational organized crime in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13816
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.20
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.20
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekkawatt_Ka.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.