Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13858
Title: | การเชื่อมโยงปรากฏการณ์เอลนินโญกับการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งบริเวณจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
Other Titles: | Linkage of El Nino and and coastline change at Phetchaburi and Prachuap Khiri Khan provinces |
Authors: | สุรัตตา บุญสมบูรณ์สกุล |
Advisors: | อัปสรสุดา ศิริพงศ์ ศุภิชัย ตั้งใจตรง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected], [email protected] |
Subjects: | การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง -- ไทย -- เพชรบุรี การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์ เอลนีโญ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างปรากฏการณ์เอลนินโญกับการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง โดยเลือกชายฝั่งบริเวณจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นพื้นที่ศึกษา และมุ่งเน้นไปที่ชายหาดที่มีกิจกรรมของมนุษย์น้อยเป็นตัวแทนเพื่อดูผลกระทบที่เกิดจากธรรมชาติโดยตรง โดยปัจจัยธรรมชาติที่เลือกในการศึกษาผลกระทบต่อชายฝั่ง คือ ลม (ทิศทางและความเร็ว) ปริมาณฝนและคลื่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อแนวชายฝั่งโดยตรงเมื่อเกิดเอลนินโญ ทั้งนี้ได้ทำการแบ่งการศึกษาผลกระทบออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเอลนินโญ และช่วงปกติหลังเอลนินโญ โดยจะรวบรวมข้อมูลแบบค่าเฉลี่ยรายเดือนตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2524-2548 (25 ปี) จากสถานีตรวจอากาศเพชรบุรีและหัวหิน เพื่อคำนวณหาค่าผิดสภาพและนำค่าผิดสภาพมาหาความสัมพันธ์เชิงเส้นกับค่า SOI ผลจากการหาค่าสหสัมพันธ์ (R [superscript 2] ) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) พบว่ามีเพียงค่าผิดสภาพลมที่สถานีเพชรบุรีเท่านั้นที่สัมพันธ์กับเอลนินโญ ส่วนค่าผิดสภาพฝนและคลื่นพบว่าทั้ง 2 สถานีไม่สัมพันธ์กันกับเอลนินโญ และจากการวิเคราะห์เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่แนวชายฝั่ง โดยแบ่งพื้นที่ทำการศึกษาเป็น 3 บริเวณ คือ แหลมผักเบี้ย (ป่าชายเลน) หาดปึกเตียนและค่ายพระรามหก (หาดทราย) เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ในช่วงเอลนินโญและช่วงปกติหลังเอลนินโญ พบว่าบริเวณแหลมผักเบี้ยมีเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งคงที่ จึงสรุปได้ว่า ไม่สามารถเชื่อมโยงเอลนินโญกับบริเวณนี้ได้ แต่บริเวณหาดปึกเตียนและค่ายพระรามหก เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งมีค่าเป็นลบ คือ มีการกัดเซาะมากขึ้น แสดงว่าสอดคล้องกับสมมุติฐานของงานวิจัย จึงสามารถสรุปการเชื่อมโยงปรากฏการณ์เอลนินโญกับการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งได้ใน 2 บริเวณนี้ได้ แต่ทั้งนี้ค่าที่ได้ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจากเอลนินโญ แต่อาจเกิดจากการรวมกันจากปรากฏการณ์ธรรมชาติและกิจกรรมมนุษย์แนวชายฝั่ง ซึ่งจากการแปลภาพดาวเทียมเพื่อจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินชายฝั่ง พบว่ามีสิ่งปลูกสร้างจากกิจกรรมมนุษย์เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งอีกด้วย |
Other Abstract: | To study the linkage between El Nino and coastline change. The coastlines of Phetchaburi and Prachuap Khiri Khan provinces were selected to be the study areas. The study focused on the areas which were directly changed by natural environment. El Nino has some effects on oceanic and atmospheric systems therefore the monthly wind, wave and rainfall data at Hua-Hin and Phetchaburi meteorological stations were analyzed to investigate the linkage of El Niño on coastline change. The study times were divided into two periods; during and after El Niño periods. The data were collected during years 1981 to 2005 (25 years) to calculate the anomaly data and to find correlation with Southern Oscillation Index (SOI). The result only showed high values of correlation (R[superscript 2]) and coefficient correlation (r) between wind anomaly and SOI at Phetchaburi meteorological station. For the anomalies of rainfall and wave, the result showed no significant relation to El Niño. This study divided coastline into three areas; Lampakbia (spit and mangrove), Puktein and RAMA 6 military area (sandy beach) to determine the percentage of changed coastlines by comparing between the two periods. The result showed that the coastlines of Lampakbia were constant in both periods and lead to a conclusion that there was no link to the El Nino effect. The percentage of changed coastlines of Puktein and RAMA 6 areas was negative anomaly which indicating an erosion state and conformed to the study hypothesis. Since the percentage of coastline change may not be directly affected by El Niño, therefore, the Land Cover Classification was used to find the impact of human activities on coastal area. Then the cumulative impacts of El Nino as well as natural and human activities were considered. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์ทางทะเล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13858 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.932 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.932 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suratta_Bu.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.