Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13930
Title: | ความเครียดของผุ้แทนยาในเขตกรุงเทพมหานครของบริษัทยาข้ามชาติ |
Other Titles: | Stress of pharmaceutical sale representatives in Bangkok area of international pharmaceutical company |
Authors: | จุฑาวรรณ สว่างแจ้ง |
Advisors: | โสฬสินี เหมรุ่งโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ความเครียด (จิตวิทยา) พนักงานขาย |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดของผู้แทนยาในเขตกรุงเทพมหานครของบริษัทยาข้ามชาติ โดยดำเนินการวิจัยเชิงพรรณนา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2551 จนถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคมของแบรนท์และไวเนิร์ท และ แบบวัดความเครียดคนไทย (Thai stress test) จากนั้นนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณาโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาณวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆกับความเครียดโดย Chi-Square Test ผลการวิจัย จากกลุ่มตัวอย่างผู้แทนยาทั้งหมด 241 คน พบว่าผู้แทนยาส่วนใหญ่มีความเครียดเล็กน้อย 139 คน (ร้อยละ 57.7) รองลงมา คือ ปกติ 89 คน(ร้อยละ 36.9) และสุขภาพจิตดีมาก 13 คน (ร้อยละ 5.4) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson ซึ่ง แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1.ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การมีโรคประจำตัว ซึ่งผู้ที่มีโรคประจำตัวจะมีความเครียดมากกว่าผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว 2.ปัจจัยด้านครอบครัว/สังคม ได้แก่ การมีผู้ป่วยอยู่ในครอบครัว และแรงสนับสนุนทางสังคม พบว่า ส่วนใหญ่ของคนที่มีผู้ป่วยอยู่ในครอบครัว และ คนที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมต่ำจะเป็นผู้ที่มีความเครียดเล็กน้อย 3. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ความรู้สึกเพียงพอต่อรายได้ การมีเงินออม การมีหนี้สิน โดยส่วนใหญ่ของคนที่รู้สึกว่ารายได้ไม่เพียงพอ ไม่มีเงินออม มีหนี้สิน จะเป็นผู้ที่มีความเครียดเล็กน้อย 4. ปัจจัยด้านการทำงาน ได้แก่ ประสบการณ์การประกอบอาชีพผู้แทนยา ปัญหาในการติดต่อเข้าพบลูกค้า และความรู้สึกเครียดต่อการทำงานผู้แทนยา ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้แทนยาที่พบปัญหาในการติดต่อเข้าพบลูกค้า หรือ มีความรู้สึกเครียดต่อการทำงานผู้แทนยา จะเป็นผู้ที่มีความเครียดเล็กน้อย |
Other Abstract: | The purpose of this cross-sectional descriptive design is to study stress and related factors of stress in pharmaceutical sale representatives in Bangkok area. The subjects of this study consisted of 241 pharmaceutical sale representatives. The instruments were demographic data questionnaire, The personal resource questionnaire (PRQ part II) and Thai stress test. Data was analyzed by SPSS for windows included Percentage, Mean, Standard deviation and Chi-square test. Results: Majority of pharmaceutical sale representatives are mild stress (57.7%). Related factors significantly related to stress which were divided in 4 parts 1. Personal factors: Health problems. Most of health problems peoples have mild stress 2. Family/Social factors: sick peoples in family and social support that most of peoples have sick peoples in family and low social support are mild stress. 3. Economic factors: enough-to-spend economic status, saving money status, obligations, which most of no enough-to-spend economic status, no saving money and in debt are mild stress. 4. Occupational factors: Working experience years, Contact problems with customers and stress feeling with work. Most of peoples which had contact problems with customers and high stress feeling with work are mild stress. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13930 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.567 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.567 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jutawan_sw.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.