Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13935
Title: | ผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการบริหารกาย - จิต แนวชี่กงต่อความวิตกกังวลและความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยระเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด |
Other Titles: | Effects of symptom management program conbind with Qigong on anxiety and fatigue in breast cancer patients receiving chemotherapy |
Authors: | ชบา เรียนรมย์ |
Advisors: | สุรีพร ธนศิลป์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ซี่กง เต้านม -- มะเร็ง มะเร็ง -- เคมีบำบัด มะเร็ง -- ผู้ป่วย ความวิตกกังวล ความล้า |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิต แนวชี่กง ต่อความวิตกกังวลและความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดที่ได้รับเคมีบำบัด ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 รายและกลุ่มทดลอง 20 ราย โดยจับคู่ให้มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของอายุ และยาเคมีบำบัดสูตรเดียวกัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองนอกจากได้รับการพยาบาลตามปกติแล้ว ยังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิต แนวชี่กง ซึ่งพัฒนาขึ้นจากแบบจำลองการจัดการกับอาการ ของ Dodd และคณะ (2001) และแนวคิดการบริหารกาย-จิต แนวชี่กง ของเทอดศักดิ์ เดชคง 2545 และแนวคิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบประเมินความเหนื่อยล้า วิเคราะห์หาความเที่ยงของเครื่องมือโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลของกลุ่มทดลอง หลังได้รับโปรแกรมการ จัดการอาการร่วมกับการบริหารกาย-จิต แนวชี่กง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -11.12, p < .05) 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเหนื่อยล้าของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรม การจัดการอาการร่วม กับการบริหารกาย-จิต แนวชี่กง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -6.48, p < .05) |
Other Abstract: | This quasi-experimental research aimed to examine effects of The Symptom Management Program combined with Qigong on anxiety and fatigue in breast cancer patients receiving chemotherapy. The samples were 40 patients with breast cancer receiving chemotherapy at Suratthani Hospital. The participants were random assigned into the control group and the experimental group. The groups were matched pairs between age and chemotherapy regimen. The control group received conventional nursing care while the experimental group received The Symptom Management program combined with Qigong together in addition to conventional nursing care. This program, based on the Symptom Management Model (Dodd, et al., 2001 and complementary concepts and family support. The instruments for collecting data were State Trait Anxiety Inventory and The Piper’s Fatigue Scale. The instruments were tested for reliability with Cronbach’s alpha coefficient of .92 and .94, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, and t-test statistic (Paired t-test and Independent t-test). The major findings were as follows 1. The post test mean scores of anxiety of the experimental group was significantly lower than that of the control group (t = -11.12, p < .05). 2. The post test mean scores of fatigue of the experimental group was significantly lower than that of the control group (t = -6.48 , < .05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13935 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1033 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1033 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chaba_re.pdf | 2.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.