Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13981
Title: การตอบโต้ข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชนของกองบัญชาการทหารสูงสุด
Other Titles: Information feedback of Supreme Command Headquarter via mass media
Authors: สุรณรงค์ รุธิรวัฒน์
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: กองบัญชาการทหารสูงสุด
สื่อมวลชน
การสื่อสารทางการทหาร
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาเพื่อทราบถึงขั้นตอนการตอบโต้ข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชนของกองบัญชาการทหารสูงสุด และเพื่อทราบถึงลักษณะรวมทั้งรูปแบบการตอบโต้ข่าวสาร ที่กองบัญชาการทหารสูงสุดตอบโต้ไปยังสื่อมวลชนแต่ละประเภท ตลอดจนเพื่อทราบถึงการดำเนินการกับข่าวสารที่ได้ตอบโต้กลับไปของสื่อมวลชน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกองบัญชาการทหารสูงสุด 12 คน และสื่อมวลชน 18 คน ผลการวิจัยที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญพบว่า กระบวนการตอบโต้ข่าวสารผ่านสื่อมวลชนของกองบัญชาการทหารสูงสุดอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บังคับบัญชาเป็นสำคัญ ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเฉพาะที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสื่อมวลชนแต่ละประเภท โดยมีเกณฑ์การพิจารณาและจัดระดับความสำคัญของเนื้อหาข่าวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ ซึ่งเรียงระดับความสำคัญจากมากที่สุดลงไปคือ เกี่ยวข้องกับผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองบัญชาการทหารสูงสุด กิจการของกองบัญชาการทหารสูงสุดและความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้กองบัญชาการทหารสูงสุดใช้รูปแบบการตอบโต้กับสื่อมวลชน 4 ลักษณะ คือการตอบโต้ตรงประเด็น การตอบโต้เบี่ยงเบนประเด็น การตอบโต้โดยการไม่ตอบ และการตอบโต้แบบขอร้องแกมบังคับ ซึ่งหลังจากที่ตอบโต้กลับไปยังสื่อมวลชน สื่อมวลชนโดยส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญในการชี้แจงข้อเท็จจริง ตามที่กองบัญชาการทหารสูงสุดต้องการ เป็นเพียงแต่รับทราบข้อเท็จจริงเท่านั้น อันเป็นผลมาจากความล่าช้าและขาดคุณค่าในการนำเสนอ ประกอบกับเป็นการตอบโต้ข่าวสารแทนหน่วยงานอื่น ทำให้สื่อมวลชนไม่ยอมรับและเชื่อถือ ถือได้ว่าการตอบโต้ข่าวสารผ่านสื่อมวลชนของกองบัญชาการทหารสูงสุดนั้น ขาดอำนาจทางการสื่อสารและเป็นความล้มเหลวทางการสื่อสารระดับหนึ่งกับสื่อมวลชน
Other Abstract: To study the steps of information feedback of Supreme Command Headquarters via mass media, the patterns of response to information feedback through each type of media and the ways the mass media deal with the that the feedback information. This qualitative research is conducted by by in-depth interviewing of the following principle informants: 12 Supreme Command officers and 18 mass media persons. it is found that the process of giving under the supervision of the commander. The steps and the procedures vary according to the type of media. The content of the news is prioritized according to its level of involvement, that is to say it is divided according to whether it involves a high-ranking officer, the headquarters’ affairs or thecountry’s security. The headquarter employ four of the following ways to give feedback to the news: right to the point, deviating from the point, giving no response and “twist-the-arm” requests. Most mass media do not give importance to the facts as given by the headquarters. The just acknowledge them because they are not current and not worth presenting to the public. Another reason is that the headquarters responds to the feedback onbehalf of other agencies. As a resilt, it can be assumed that the information feedback of the Supreme Command Headquarters via mass media is not effective.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13981
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1932
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1932
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suranarong_Ru.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.