Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13994
Title: การกระจายของฝุ่นและเชื้อราบริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Distribution of particulate matter and fungus at King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: ณัติฐพงศ์ เด่นจักรวาฬ
Advisors: สุรัตน์ บัวเลิศ
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
[email protected]
Subjects: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ฝุ่น
เชื้อรา
การระบายอากาศ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ได้เก็บตัวอย่างอัตราการระบายอากาศ ความเข้มข้นฝุ่นละอองภายในอาคารและชนิดและปริมาณเชื้อรา ของ 5 แผนก ได้แก่ แผนกฉุกเฉิน แผนกผู้ป่วยใน แผนกผู้ป่วยนอก แผนกห้องปฏิบัติการและแผนกบริหารทั่วไป เพื่อศึกษาการกระจายของฝุ่นและเชื้อบริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการศึกษาอัตราการระบายอากาศพบว่า แผนกผู้ป่วยใน มีอัตราการระบายอากาศเฉลี่ยสูงสุด (4.0 ต่อชั่วโมง) รองลงมาคือ แผนกฉุกเฉิน (2.14 ต่อชั่วโมง) ถัดมาคือ แผนกห้องปฏิบัติการ (1.82 ต่อชั่วโมง) แผนกผู้ป่วยนอก (1.66 ต่อชั่วโมง) และแผนกบริหารทั่วไป (0.87 ต่อชั่วโมง) การศึกษาความเข้มข้นฝุ่นเฉลี่ย พบว่า ฝุ่นขนาดไม่เกิน 15 ไมครอน (PM15) ฝุ่นขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) และ ฝุ่นขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ แผนกผู้ป่วยใน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.11 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 19.85 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ 6.68 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ แผนกที่ความเข้มข้นฝุ่นเฉลี่ยของฝุ่นขนาดไม่เกิน 15 ไมครอน มีค่าต่ำสุดคือแผนกห้องปฏิบัติการ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.60 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนฝุ่นขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน และฝุ่นขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนมีค่าต่ำสุดคือแผนกผู้ป่วยนอก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.16 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ 3.03 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ การศึกษาปริมาณเชื้อราพบว่า แผนกที่มีปริมาณเชื้อราเฉลี่ยมากที่สุดคือ แผนกผู้ป่วยใน (7.30 CFU/m3) รองลงมาคือแผนกฉุกเฉิน (6.91 CFU/m3) แผนกผู้ป่วยนอก (6.42 CFU/m3) และแผนกห้องปฏิบัติการ (5.56 CFU/m3) ส่วนแผนกบริหารทั่วไปมีปริมาณเชื้อราเฉลี่ยน้อยที่สุด (4.58 CFU/m3) เมื่อพิจารณาชนิดของเชื้อรา พบว่า เชื้อ Aspergillus sp. มากที่สุด (42.4%) รองลงมาคือ Penicillium sp. (41.2%) ราดำ (10%) A.fumigatus (5%) และ Fusarium sp. (2%)
Other Abstract: For this study, air change per hour (ACH), indoor particulate matter concentration and type and quantity of fungi were collected in 5 departments (ER, WARD, OPD, LAB and ADM) for studying the distribution of particulate matter and fungus at Chulalongkorn Memorial Hospital. For the PM15, PM10 and PM2.5 have the highest average at the WARD; the average rates are 30.11 microg.-m-3 , 19.85 μg-m-3and 6.68 microg.-m-3. The average PM15 is lowest at the LAB (22.60 microg.-m-3). PM10 and PM2.5 are lowest at the OPD: 11.16 microg.-m-3 and 3.03 microg.-m-3 sequentially. In the part of fungi type, found that the Aspergilus sp. is highest (42.4%) then the Penicillium sp. (41.2%), the Black Molds (10%), the A.fumigatus (5%) and Fusarium sp. (2%) sequentially. For the quantity of fungi, the highest rate is at the wards (7.30 CFU/m3), ER (6.91 CFU/m3), OPD (6.42 CFU/m3), LAB (5.56 CFU/m3) and ADM (4.58 CFU/m3) sequentially. In comparison air exchange rate of each department finds that the highest air exchange rate is in the wards (4.0 per hour) and in ER (2.14 per hour), in LAB (1.82 per hour), in OPD (1.66 per hour) and ADM (0.87 per hour) sequentially.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13994
ISBN: 9741429231
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattapong_De.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.