Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14037
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ : การวิเคราะห์อภิมาน
Other Titles: The effectiveness of cardiac rehabilitation program on health outcomes in cardiac patients : a meta analysis
Authors: ดนล๊ะ หะหรับ
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: หัวใจ -- โรค
หัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วย -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การอภิมานงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ระหว่างปี พ.ศ.2530-2551 จำนวน 23 เรื่อง เครื่องมือที่นำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีใช้ผู้ประเมินร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass, McGaw & Smith (1981) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 68 ค่า ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ ทั้งหมดเป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (95.65%) ตีพิมพ์เผยแพร่มากที่สุดในระหว่างปี 2546-2550 (43.48%) เครื่องมือวัดตัวแปรของงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ส่วนใหญ่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพทั้งความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง (57.89%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี (30.43%) ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่นำมาศึกษามากที่สุดคือ การปรับตัว (23.52%) 2. ค่าขนาดอิทธิพลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่ โดยผลลัพธ์สุขภาพด้านจิตใจให้ค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุด (d=-14.83) ผลลัพธ์สุขภาพด้านพฤติกรรมให้ค่าขนาดอิทธิพลต่ำที่สุด (d=0.03) 3. โปรแกรมที่ให้ค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุด คือผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและความเครียดในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโปรแกรมที่ให้ค่าขนาดอิทธิพลต่ำที่สุด คือผลของการให้ความรู้ด้านสุขภาพและการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อแบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
Other Abstract: The purposes of this meta analysis were to compare the effect sizes of cardiac-rehabilitation program on health outcome. Twenty-three quasi-experimental studies conducted in Thailand during 1987-2008 were recruited. Studies were analyzed for general, methodological, and substantive characteristics. Effect size for each study was calculated using method of Glass, McGaw & Smith (1981). This meta analysis yielded 68 effect sizes. Results were as followings: 1. The most of these studies were Master’s theses in the field of Nursing (95.65%). Almost half of the studies were published between 2003-2007 (43.48%). Most instruments used in the research studies were tested for both reliability and validity; more than half of them were good quality. Behavior domain was the most studied health outcome. Health outcome were studies adaptation (23.52%) 2. Cardiac-rehabilitation programs had large effect size on health outcome. Psychomotor had the largest effect size on affective domain (d=-14.83), and the lowest effect size was on behavior domain (d=0.03). 3. The highest effect revealed size effect of cardiac-rehabilitation programs on functional capacity and stress among myocardial infarction. The lowest effect-size revealed effect of health information and promoting self-efficacy on lifestyle of coronary heart disease patient.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14037
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1021
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1021
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
donlah_ha.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.