Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14206
Title: ผลกระทบจากมาตรการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติที่มีต่อบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
Other Titles: The Impact of telephone numbering allocation measures of National Telecommunications Commission of TOT Public company
Authors: พักตร์พิมล ทองสมอาง
Advisors: นวลน้อย ตรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
บริษัททีโอที
โทรคมนาคม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
โทรคมนาคม -- ไทย
ค่าเช่า
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในอดีตการให้บริการโทรคมนาคมในประเทศไทย เป็นการให้บริการโดยหน่วยงานของรัฐ คือ ทศท. และ กสท. และมีการให้เอกชนเข้าร่วมการให้บริการโดยอยู่ภายใต้การกำกับของหน่วยงาน เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมาย 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และ พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจในการกำกับดูแลด้านกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งอำนาจในการจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคมจากรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งมาเป็นอำนาจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์มาตรการจัดสรรเลขหมายของ กทช. ที่ส่งผลกระทบต่อ บมจ.ทีโอที และเพื่อศึกษาการจัดสรรเลขหมายของกทช.เปรียบเทียบกับแนวทางในต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่ามาตรการจัดสรรเลขหมายของ กทช. ได้ส่งผลกระทบต่อ ทศท. ซึ่งเคยอยู่ในฐานะผู้กำกับดูแลและผู้ให้บริการ โดยในฐานะของผู้กำกับดูแลซึ่งเคยได้ประโยชน์จากการบริหารจัดการเลขหมายหมดไป เช่น สิทธิในการกำหนดแผนงานเลขหมาย รวมทั้งผลกระทบทางด้านต้นทุนการให้บริการที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบต่อพื้นที่การจัดสรรเลขหมาย เป็นต้น ส่วนในฐานะผู้ให้บริการ ทศท.ซึ่งเคยได้ประโยชน์ทางอ้อมจากการเป็นผู้กำกับดูแล ต้องเผชิญกับสภาวะการแข่งขันกับภาคเอกชนอย่างสูง และจะต้องมีการปรับตัวเองอย่างมากจึงจะสามารถอยู่รอดได้ ส่วนแนวทางการจัดสรรและบริหารเลขหมายของ กทช. เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางในต่างประเทศ พบว่ามีแนวทางในทิศทางเดียวกัน คือมุ่งที่จะสร้างการแข่งขันในตลาด และบริหารจัดการให้การใช้เลขหมายซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในทางปฏิบัติ แนวทางของ กทช. ได้เพิ่มการแข่งขันในตลาดมากขึ้น แต่ผลทางด้านประสิทธิภาพ พบว่าสัดส่วนของเลขหมายที่มีการใช้งานต่อเลขหมายที่จัดสรรยังมีอัตราที่ต่ำกว่า 80% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าธุรกิจเอกชนได้นำหมายเลขไปถือครองไว้โดยมิได้มีการใช้งาน
Other Abstract: Previously, telecommunication service in Thailand was made by state organizations; Telephone Organization of Thailand and Communications Authority of Thailand serviced by private companies under supervision of state organization. When two bills had been passed; Frequency Allocation Organization and Radio Television and Telecommunication Act, B.E. 2543 and Telecommunication Act, B.E. 2544 that made supervision transferred on Telecommunication including authority on telecommunication numbering allocation from both state enterprises to be under National Telecommunication Commission authority. Objective of this study is to analyze measurement of numbering allocation of NTC impact on TOT Public Company and to study numbering allocation of NTC comparing with method of foreign countries and the study found that numbering allocation of NTC impact to the Telephone Organization of Thailand that had been the supervisor and service provider and having interest from numbering allocation disappeared; for example, right of planning numbers including impact of service cost increase, impact to area of numbering allocation; etc. As the service provider, TOT with its indirect interest from being supervisor must encounter highly to the private sector must adapt itself more to survive in this situation. Trend of numbering allocation of National Telecommunication Authority, when compare with the foreign countries’ found that the trend has been in the same way; that is, to create competition in the market and manage the numbers allocation as the important resource effectively. Practically, the trend of NTC has increased more competition in market; however, on its effectiveness found that, proportion of the used number to the number allocated is still lower than 80% that showed the occupation of private sector is without consumption.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14206
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1944
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1944
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakpimol_th.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.