Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14268
Title: | การรับรู้ความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์สุขภาพ |
Other Titles: | Perception of importance of factors influencing the credibility of health-related websites |
Authors: | กรุณา จีนถนอม |
Advisors: | ณรงค์ ขำวิจิตร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การเปิดรับข่าวสาร สุขภาพ การสื่อสารทางการแพทย์ เว็บไซต์ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการรับรู้ความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์สุขภาพ และศึกษาแนวทางการสืบค้นข้อมูลสุขภาพของผู้ใช้เว็บไซต์สุขภาพ ในการทำวิจัยได้ใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยการคำนวณคะแนนเฉลี่ย เพื่อพิจารณาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์สุขภาพ การหาค่าไค-สแควร์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยอื่นๆ กับปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความน่าเชื่อถือ การคำนวณค่า T (T-test) เพื่อหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสุขภาพ และผู้ที่ทำงานไม่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้เว็บไซต์ให้ความสำคัญปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความน่าเชื่อถือเรียงตามลำดับคะแนน 10 ปัจจัยแรกคือ (1) ข้อมูลที่เผยแพร่มีแหล่งที่มาชัดเจน ตรวจสอบได้ (2) ข้อมูลที่เผยแพร่บนเว็บไซต์เป็นข้อมูลที่ทันสมัย (3) ผู้สร้างเว็บไซต์เป็นองค์กรหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ (4) มีการระบุวันที่ที่มีการปรับปรุงล่าสุด (5) มีการแบ่งประเภทข้อมูลได้ชัดเจน (6) ภาษาที่ใช้ในเว็บไซต์อ่านเข้าใจง่าย (7) มีการออกแบบเส้นทางที่ง่ายต่อการค้นหาข้อมูล (8) มีภาพประกอบเนื้อหาชัดเจน (9) มีการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นที่เชื่อถือได้ และ (10) มีการเชื่อมโยงที่ถูกต้อง ส่วนการคำนวณไค-สแคว์พบว่าอายุมีความสัมพันธ์กับการให้คะแนนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความน่าเชื่อถือ เพศ ระดับการศึกษาและอาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความสำคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์สุขภาพ สำหรับการสืบค้นข้อมูลสุขภาพพบว่า ผู้ใช้เว็บไซต์สุขภาพ 97% ไม่จดจำชื่อเว็บไซต์สุขภาพ แต่ใช้วิธีการสืบค้นผ่านกูเกิลแทน และพบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรบางปัจจัยกับประเภทของข้อมูลสุขภาพที่สืบค้น |
Other Abstract: | To study user perception on credibility factors of health-related websites and how the users search health information. The survey method is used for quantitative. Chi-square calculation is used for finding out the relation between demographic factors and credibility factors of health-related websites. T-test calculation was used for find out differences of average of health-related occupations and non-health-related occupations. The result shows that the first 10 factors enfluencing credibility of health-related websited are, (1) the source of the information can be found, (2) the information is up-to-date, (3) the website owners are reliable, (4) the sites are often updated, (5) the language used in the sites is easy to understand, (6) the writer names are specified, (7) the language spells correctly, (8) the sites have links to other reliable sites, (9) the information is categorized clearly and (10) there is contact person of the site. Chi-square calculation shows that age relates with importance of factors influencing the creditability of health-related websites. The sample uses google for searching health information instead of use the url of health-related websites. Finally, we have found that there are some demographic factors relate with type of health-information. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14268 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.484 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.484 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Karuna_ch.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.