Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14290
Title: | ลักษณะของชั้นบรรยากาศที่มีผลต่อการกระจายตัวของก๊าซโอโซน ออกไซด์ของไนโตรเจน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ตามแนวระดับความสูง และการเปลี่ยนแปลงของสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในเขตเมือง |
Other Titles: | The effects of characteristics of atmospheric profile on vertical distribution of ozone, Oxides of Nitrogen and Carbonmonoxide concentrations and its effects on Polycyclic Aromatic Hydrocarbons in urban area |
Authors: | ธีตา อินทเสน |
Advisors: | สุรัตน์ บัวเลิศ ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected], [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | บรรยากาศ โอโซน ออกไซด์ ไนโตรเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ พอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาลักษณะของชั้นบรรยากาศที่มีผลต่อการกระจายตัวของ O[subscript 3] NO[subscript x] และ CO ตามแนวระดับความสูง และการเปลี่ยนแปลงของ PAHs ในเขตเมือง โดยศึกษาการกระจายตัวใน 3 ระดับความสูง ได้แก่ ชั้นล่าง คือ ระดับความสูงที่อยู่เหนือชั้น Roughness layer ชั้นกลางคือ ระดับความสูงที่อยู่ในชั้น Surface layer และชั้นบนคือ ระดับความสูงที่อยู่เหนือชั้น Surface layer สำหรับการศึกษาการกระจายตัวของก๊าซในแต่ละพื้นที่พบว่า ความเข้มข้นของ NO[subscript 2] และ O[subscript 3] มีความสอดคล้องกันในปฏิกิริยาโฟโตเคมิคัล โดยปัจจัยสำคัญของการเกิดปฏิกิริยาคือ ความเข้มแสงอาทิตย์ โดยสังเกตจากอัตราส่วน NO[subscript 2] / NO[subscript x] ซึ่งสามารถบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของ NO[subscript x] ในบรรยากาศเมื่อมีปฏิกิริยาโฟโตเคมิคัลเกิดขึ้น ดังจะเห็นได้จากความสัมพันธ์ในปฏิกิริยานี้ในแต่ละชั้นของความสูงของทั้ง 3 พื้นที่ศึกษา เช่น พื้นที่ศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ การเกิดปฏิกิริยาโฟโตเคมิคัลถูกจำกัดด้วยความเข้มแสงอาทิตย์ ประกอบกับในบรรยากาศมี O[subscript 3] ค่อนข้างต่ำ ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลง NO ให้เปลี่ยนไปอยู่ในรูป NO[subscript 2] เป็นไปได้น้อย ค่าอัตราส่วน NO[subscript 2] / NO[subscript x] ในชั้นล่างและกลางจึงมีค่าต่ำ สำหรับCO เป็นดัชนีที่บ่งบอกกิจกรรมของมนุษย์ในเขตเมือง ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของ NO[subscript 2] ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการปลดปล่อย NO[subscript x] และปฏิกิริยาโฟโตเคมิคัลที่มีแสงอาทิตย์ในช่วงเช้าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ สำหรับการกระจายตัวของ PAHs พบว่า ความเข้มข้นของ PAHs ในแต่ละชั้นจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายตัวด้วยกัน อาทิเช่น O[subscript 3] และ NO[subscript 2] รวมไปถึงลักษณะทางอุตุนิยมวิทยาบางตัว คือ อุณหภูมิ ความเร็วลม และความเข้มแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ระดับความสูงผสมยังมีอิทธิพลต่อการกระจายตัวของมวลสารในบรรยากาศด้วย ดังจะเห็นได้จากในพื้นที่ศึกษาจังหวัดเชียงใหม่พบว่ามีระดับความสูงผสมในเวลากลางวันต่ำสุด จึงทำให้ความเข้มข้นของ PAHs ที่อยู่ในอนุภาค PM[subscript 10] มีความเข้มข้นมากที่สุดใน 3 พื้นที่ศึกษา |
Other Abstract: | The objective of the study is to investigate ozone (O[subscript 3]), oxide of nitrogen (representing NO[subscript 2] and NO[subscript x]), carbon monoxide (CO) concentrations and quantify the polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) in fine particle matter (PM[subscript 10]) at three heights in an urban site which are Amphur Hatyai-Songkla province, Bangkok, and Amphur Muang-Chiangmai province: at the above roughness length, the surface layer and the urban boundary layer. NO[subscript 2] and O[subscript 3] are related in photochemical reaction with radiation as an important factor. The ratio of NO[subscript 2] / NO[subscript x] directly represents the transformation of oxides of nitrogen when presence the photochemical reaction or ozone concentration has adulterated in the atmosphere. CO is primary gaseous pollutants which its concentration is varied from the traffic situation. Vertical distribution of PAHs varied upon the O[subscript 3] and NO[subscript 2] concentrations. Furthermore, there are also other factors that influence the concentration of the PAHs in 3-level, for example, temperature, wind speed, radiation, and mixing height. In Chiangmai province, mixing height has been found as the lowest so PAHs have the highest concentration following by Bangkok and Amphur Hatyai-Songkla province respectively |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14290 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.594 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.594 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Teeta_In.pdf | 2.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.