Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14421
Title: อัตราความชุกของการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเส้นทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร)
Other Titles: Prevalence rate and associated factors of fatigue while driving among bus drivers in Northern routes, Central routes and Northeastern routes at Bangkok Bus Terminal (Chatuchak)
Authors: นารา กุลวรรณวิจิตร
Advisors: สุนทร ศุภพงษ์
สสิธร เทพตระการพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: สถานีขนส่ง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ความล้า
คนขับรถ
ความเพลีย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัดในสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) โดยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถรับส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดจำนวน 377 คน แบ่งตามเส้นทางการเดินรถเป็นสายเหนือ และกลาง 209 คน และสายตะวันออกเฉียงเหนือ 168 คน โดยใช้แบบสอบถาม มีอัตราเข้าร่วมการศึกษาร้อยละ 100 ผลการศึกษาพบว่าอัตราความชุกของการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถในพนักงานขับรถโดยสารเท่ากับ 59.1 คน ต่อประชากร 100 คน และเมื่อแยกตามเส้นทางการเดินรถ พบว่า ภาคกลางมีอัตราความชุกของการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถเท่ากับ 73.9 คนต่อประชากร 100 คน ภาคเหนือเท่ากับ 38.2 คนต่อประชากร 100 คน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่ากับ 72.4 คนต่อประชากร 100 คน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ประเภทรถ ระยะเวลาการเป็นพนักงานขับรถ จำนวนเที่ยวที่ขับรถในแต่ละวัน สภาพถนนในการขับรถ การง่วงนอนขณะขับรถในช่วงตอนกลางดึก ระยะเวลาที่ขับรถก่อนเกิดความง่วงนอน จำนวนชั่วโมงการนอนหลับก่อนการขับรถ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถในเชิงป้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ เส้นทางการเดินรถ การสับเปลี่ยนคนขับระหว่างทาง การเคยเกือบประสบอุบัติเหตุขณะขับรถ การศึกษานี้พบว่าการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถเกิดได้จากหลายปัจจัยและการง่วงนอน อาจเป็นปัจจัยหนึ่งในการเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถได้
Other Abstract: This cross-sectional survey aimed to evaluate the prevalence rates and the related factors of fatigue while driving among bus drivers at Bangkok bus terminal (Chatuchak). The data were collected from 377 bus drivers during May 2006 by using self-administrated questionnaire. Totally 377 bus drivers were participated in the study, with the participation rate of 100 percents. The drivers were catergorized in 3 groups depending on the routes. Results showed that the prevalence rate of fatigue while driving among bus drivers was 59.1%. The prevalence rate in Central routes was 73.9% , the prevalence rate in Northeastern routes was 72.4% and the prevalence rate in Northern routes was 38.2%. Factors which were statistically significant related to fatigue (p<0.05) included : type of bus ; work seniority ; amount of trips ; condition of road ; sleepiness when driving on midnight ; timing before sleepy ; number of sleep hour. The preventive factors which were statistically significant were age ; route ; driver rotation ; occurrence of nearmiss form accident. The prevalence of fatigue while driving in bus driver was reported to be affected by several factors and sleepy while driving may be the major caused of traffic accident.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14421
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1360
ISBN: 9741427344
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1360
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nara.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.