Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14480
Title: | การนำมาตรการส่งมอบภายใต้การควบคุมมาใช้กับคดียาเสพติดของประเทศไทย |
Other Titles: | Applying controlled delivery measure to drug cases in Thailand |
Authors: | บุษยพรรณ ปักการะโน |
Advisors: | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | กฎหมายยาเสพติด ยาเสพติด การสอบสวนคดีอาญา พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิเคราะห์กฎหมายของประเทศไทยที่กำหนดให้มีการนำมาตรการส่งมอบภายใต้การควบคุมซึ่งเป็นเทคนิคการสืบสวนพิเศษมาใช้กับคดียาเสพติดซึ่งผู้กระทำความผิดได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของการกระทำไปสู่องค์กรอาชญากรรมที่มีความซับซ้อน ยากที่จะสืบทราบได้ว่ามีผู้ใดร่วมอยู่ในกระบวนการบ้าง มีกลุ่มผู้มีอิทธิพล กลุ่มมาเฟีย หรือองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และมีการวางเครือข่ายไว้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยหลังจากที่กระทำความผิดมักจะหาทางแปรสภาพทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดให้เป็นทรัพย์สินที่ถูกกฎหมาย ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อเจ้าพนักงานในการที่จะสืบเสาะหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดมาลงโทษผู้ร่วมกระทำความผิดได้ทั้งกระบวนการ โดยได้ศึกษาหลักการส่งมอบภายใต้การควบคุมของต่างประเทศ อนุสัญญาระหว่างประเทศ รวมทั้งหลักกฎหมายภายในประเทศอื่นที่เกี่ยวข้องกับมาตรการดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ถึงความเหมาะสม ความครบถ้วนสมบูรณ์ และความชัดเจนของกฎหมายไทยที่กำหนดให้มีการนำมาตรการส่งมอบยาเสพติดภายใต้การควบคุมมาใช้ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการดังกล่าว 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนในประเด็นของรูปแบบที่เหมาะสม ขั้นตอนในการดำเนินการ และการควบคุมตรวจสอบการใช้มาตรการพิเศษนี้ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจนข้างต้น ดังนี้ 1. กฎหมายไทยควรบัญญัติให้มีการนำมาตรการส่งมอบยาเสพติดภายใต้การควบคุมโดยใช้สารอื่นทดแทนมาใช้ควบคู่กันไปกับการใช้มาตรการส่งมอบยาเสพติดภายใต้การควบคุมโดยใช้สารที่แท้จริง 2. ควรแก้ไขกฎกระทรวงที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการส่งมอบยาเสพติดภายใต้การควบคุม ซึ่งออกตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ให้ครอบคลุมถึงการส่งมอบยาเสพติดภายใต้การควบคุมเพื่อการสืบสวนคดียาเสพติดภายในประเทศด้วย 3. ในการออกกฎกระทรวงตามความในมาตรา 8 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติดฯ ควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนในการดำเนินมาตรการส่งมอบยาเสพติดภายใต้การควบคุมไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่การคัดเลือกเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติงาน การขออนุญาต ขอบเขตในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน การเก็บรักษาของกลาง รวมถึงวิธีการควบคุมการใช้มาตรการดังกล่าว 4. ในการส่งมอบยาเสพติดภายใต้การควบคุมระหว่างประเทศ ควรกำหนดให้ชัดเจนว่า กรณีใดที่เจ้าพนักงานจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ และกรณีใดที่ให้เจ้าพนักงานดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติดฯ 5. ในการควบคุมมาตรการส่งมอบยาเสพติดภายใต้การควบคุมจะต้องคำนึงถึงความสมดุลระหว่างการควบคุมการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและความสะดวกคล่องตัวในการทำงานของเจ้าพนักงานเป็นสำคัญ โดยควรให้อำนาจตัดสินใจแก่เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการ ลดขั้นตอนในการขออนุญาตที่ยุ่งยากจนเกินความจำเป็น มีการดำเนินการในทางที่เป็นความลับ และให้ความสำคัญแก่กระบวนการในการคัดกรองเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติ นอกจากนี้ เมื่อการดำเนินการเสร็จสิ้นควรกำหนดให้เจ้าพนักงานรายงานขั้นตอนการทำงานและผลการดำเนินงานโดยละเอียดต่อผู้บังคับบัญชาและหน่วยตรวจสอบการทำงานภายในที่เป็นอิสระ เพื่อให้ตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว |
Other Abstract: | The thesis purpose is to analyze Thailand laws regulating controlled delivery measure to drug cases in which criminals have transformed to complicated international organized crime. As a result, it is very difficult to detect who are involved with the case such as mafia, Transnational Criminal Organization or else. The worse case is they will disguise their illegally obtained funds so that they seem legal which is a significant obstacle for investigators to do their job. The writer has also studied controlled delivery measure under the international level, related provisions of international treaties, and related internal laws to see if laws are potentially competent with controlled delivery in Thailand Upon the study, the writer has learned that there are 2 laws mainly related to controlled delivery measure which are Narcotics act B.C. 2522 as amended by the Narcotics act (no 5) B.C. 2545 and Act on procedure of narcotic case B.C. 2550. These two laws, in the writer's view, have some flaws about their proceedings, their steps of action, and controlling & monitoring on the measure. Therefore, the writer would like to offer some solutions as follows: 1. Thai laws should have controlled delivery measure for both the replacement of substance and the pure substance. 2. There should be an amendment of rule under article 15 of Narcotics act B.C. 2522 as amended by the Narcotics act (no 5) B.C. 2545 to cover controlled delivery for domestic drug case investigation as well. 3. To regulate the rule under article 8 the last paragraph of Act on procedure of narcotic case B.C. 2550, the rule should be well-defined of such guidelines, methods, and procedures of controlled delivery as an officer election, asking for permission, officer scope of action, retention of property in dispute, and authorizing the measure etc. 4. As to international drug controlled delivery regime, there should be proper principles regarding government officers having to take actions under either Narcotics act B.C. 2522 as amended by the Narcotics act (no 5) B.C. 2545 or Act on procedure of narcotic case B.C. 2550. 5. In order to authorize controlled delivery measure, the balance of controlling procedures and the convenience of officers to carry their work should be taken into consideration. The officers should have given the power of making such decisions. Unnecessary procedures should be deducted. Confidentiality of proceedings is essential in some cases. Electing officers should be run carefully. Furthermore, after getting all procedures done, the officer should report to their boss every detail in order for to scrutinize the measure. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14480 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.473 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.473 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Busayaphun_pa.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.