Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14621
Title: การนำเสนอเรื่องภาวะโลกร้อนในเว็บไซต์ภาษาไทยและการรับรู้ความเสี่ยงของผู้รับสาร
Other Titles: The presentation of global warming on thai websites and the audience's risk perception
Authors: เจนติมา เกษมวิชญ์
Advisors: ดวงกมล ชาติประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เว็บไซต์
อินเตอร์เน็ต
ภาวะโลกร้อน
การบริหารความเสี่ยง
การสื่อสารความเสี่ยง
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาการนำเสนอเรื่องภาวะโลกร้อนในเว็บไซต์ภาษาไทยด้านรูปแบบ ประเด็นที่นำเสนอ และการสื่อสารความเสี่ยง ของเว็บไซต์ 15 เว็บไซต์ที่ได้จากการ search engine ใน www.google.co.th และวิเคราะห์ความแตกต่างของการรับรู้ความเสี่ยงด้านความรุนแรง โอกาสที่จะเกิดขึ้น และความเกี่ยวข้องกับตนเอง ของกลุ่มที่อ่านเว็บไซต์และกลุ่มที่ไม่ได้อ่านเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังศึกษาด้านการตัดสินใจและแนวโน้มในการปฏิบัติตนเพื่อลดภาวะโลกร้อนของทั้งสองกลุ่ม ซึ่งวิเคราะห์จากการวิจัยเชิงทดลองโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่อ่านเว็บไซต์ที่กำหนดให้ (whyworldhot, panyathai, bangchak) จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้อ่านเว็บไซต์จำนวน 30 คน จากนั้นเลือกจากทั้งหมดมา 12 คน เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่าเว็บไซต์นั้นมีการนำเสนอเนื้อหาเรื่องภาวะโลกร้อนด้วยข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ในลักษณะของบทความเป็นส่วนใหญ่ และเน้นประเด็นผลกระทบโดยเฉพาะผลกระทบในต่างประเทศ มีการประเมินความเสี่ยงโดยส่วนใหญ่ระบุถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น และมีการเสนอแนวทางในการปฏิบัติตนอย่างง่ายเพื่อลดภาวะโลกร้อนในระดับบุคคล และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพอใจในรูปแบบและประเด็นในการนำเสนอเรื่องภาวะโลกร้อนของเว็บไซต์ในระดับสูง นอกจากนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างรับรู้ความเสี่ยงด้านความรุนแรงได้ดีที่สุดโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ และการรับรู้ความเสี่ยงของกลุ่มที่อ่านและไม่อ่านเว็บไซต์นั้นแตกต่างกันด้านโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงโดยเฉพาะประเด็นที่แตกต่างจากประเด็นที่สื่อกระแสหลักให้ความสนใจ ส่วนด้านความรุนแรงของเหตุการณ์และความเกี่ยวข้องกับตนเองนั้นกลุ่มตัวอย่างรับรู้ไม่แตกต่างกัน และยังพบว่ากระบวนการตัดสินใจของทั้งสองกลุ่มโดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามกลุ่มที่อานเว็บไซต์มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตนเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้อ่านเว็บไซต์เนื่องจากทราบข้อดีข้อเสียของการปฏิบัติ
Other Abstract: The objective of this research was to study the presentation of Thai websites including the style, the issue, and the risk communication element. The chosen websites were the first fifteen listed by the search engine with the key word "global warning" in www.google.co.th. In addition, a questionnaire-based survey and in-depth interviews were conducted to investigate the audience's risk perception, their decision making, and protective action of two groups of thirty students who read and did not read the websites. The results reveal that the websites present the global warming issues by using the fact sheet and emphasizing the impacts of global warming especially the hazard which occurs in other countries. The websites also identify risk assessment and suggest the protective action to decrease the global warming risks. These suggestions help the audience make decision to choose the appropriate ways to reduce the risks. Moreover, the findings of the audience perceptions of risk probability report the difference between website readers and non-readers, whereas the perceptions of the magnitude and personal impact of the two groups were similar. The overall perceptions of two groups were not significant different. Nevertheless, website reader group tends to follow the practice to reduce risk resulting in global warming more than the non-reader group.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14621
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.635
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.635
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Janetima_ka.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.