Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14786
Title: | กลยุทธ์การใช้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด |
Other Titles: | The strategies of corporate social responsibility used in image building of Singha Corporation Co., Ltd. |
Authors: | นิสากร โลกสุทธิ |
Advisors: | อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | บริษัทสิงห์ คอร์ปเปอเรชั่น ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ ภาพลักษณ์บริษัท |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลยุทธ์การทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัท สิงห์ คอร์เปอชั่น จำกัด และศึกษาต่อไปว่า ผลจากการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นได้ส่งผลอย่างไรต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัทและตัวสินค้า ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร บทความ และการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่สองเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ใช้การปรับภาพลักษณ์ขององค์กรด้วยการเชื่อมโยงคุณสมบัติต่างๆ ขององค์กรในระบบความจำของผู้บริโภค ใน 4 มิติ ได้แก่ คุณสมบัติ คุณประโยชน์ หรือทัศนคติที่มีต่อสินค้าและบริการ (Product Attributes, Benefits, or Attitudes) พนักงานและการสร้างความสัมพันธ์ (People and Relationship) คุณค่าและโปรแกรมขององค์กร (Values and Programs) และความน่าเชื่อถือขององค์กร (Corporate Credibility) ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า การรับรู้ภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด มีความสัมพันธ์กับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด นอกจากนี้ยังพบว่า ประชาชนที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ตัวแปรด้านศาสนา ส่วนการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นตัวแปร อายุ และรายได้ ที่มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | The objectives of this research were to study the strategies of corporate social responsibility used in image building of Singha Corporation Co., Ltd. and further study on how the use of corporate social responsibility effect to the perception of product and corporate image which are divided into two parts; 1) qualitative research and 2) quantitative research. For the qualitative research, in-depth interviews and content analysis of the related documents, articles, and past researches are used. The quantitative research applies a survey research method by collecting data from 400 questionnaires. The qualitative research revealed that Singha Corporation Co., Ltd. adjust their image by associating different attributions of organization to consumers’ remembrance, divided into 4 dimensions which are Product Attributes, Benefits or Attitudes, People and Relationship, Values and Programs, and Corporate Credibility. The quantitative research shows that corporate image perception is related to the use of corporate image responsibility. Furthermore, it is found that members of the population with different characteristics are having the same perception of Corporate Image, besides religion variable which perceive Corporate Image in different way. For the media acknowledgement of social responsibility activities are also the same, except members of different age and income cause differences in information acknowledgement. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14786 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.53 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.53 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nisakorn_lo.pdf | 13.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.